ข้ามไปเนื้อหา

แมริแอนา อิสแคนเดอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แมริแอนา อิสแคนเดอร์
(ماريانا إسكندر)
Photo of Maryana Iskander, smiling
อิสแคนเดอร์ใน ค.ศ. 2017
เกิด (1975-09-01) 1 กันยายน ค.ศ. 1975 (49 ปี)
ไคโร ประเทศอียิปต์
การศึกษามหาวิทยาลัยไรซ์ (ศศ.บ.)
วิทยาลัยทรินิตี (ออกซฟอร์ด) (วท.ม.)
มหาวิทยาลัยเยล (เจดี)
อาชีพ
รางวัลทุนการศึกษาโรดส์ (ค.ศ. 1996)
รางวัลสโกล (ค.ศ. 2019)
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิวิกิมีเดีย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
5 มกราคม ค.ศ. 2022
ก่อนหน้าแคทเธอรีน มาเฮอร์
เว็บไซต์หน้าวิกิมีเดีย

แมริแอนา อิสแคนเดอร์ (/ˌmæriˈænə ɪˈskændər/ MARR-ee-AN-ə-_;[1] อาหรับ: ماريانا إسكندر; 1 กันยายน ค.ศ. 1975 – )[2] เป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมและนักกฎหมายชาวอเมริกันที่เกิดในประเทศอียิปต์ ใน ค.ศ. 2022 เธอได้เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของมูลนิธิวิกิมีเดียต่อจากแคทเธอรีน มาเฮอร์ โดยก่อนเข้ารับตำแหน่งดังกล่าว อิสแคนเดอร์เคยเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารขององค์กรฮารัมบียูธเอมพลอยเมนต์เอกเซเลอเรเตอร์ ตลอดจนอดีตกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งอเมริกาในนิวยอร์ก

ชีวิตในวัยเด็กและการศึกษา

[แก้]

แมริแอนา อิสแคนเดอร์ เกิดที่ไคโร ประเทศอียิปต์ ซึ่งเธออาศัยอยู่ก่อนจะย้ายไปสหรัฐพร้อมครอบครัวเมื่ออายุสี่ขวบ โดยครอบครัวของเธอตั้งรกรากอยู่ในราวด์ร็อก รัฐเท็กซัส[3] อิสแคนเดอร์สำเร็จการศึกษาที่มหาวิทยาลัยไรซ์ด้วยทุนการศึกษาแฮร์รี เอส. ทรูแมน โดยสำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับสอง สาขาสังคมวิทยาใน ค.ศ. 1997[3][4]

จากนั้นใน ค.ศ. 1999 อิสแคนเดอร์สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตจากวิทยาลัยทรินิตี (ออกซฟอร์ด) ในฐานะผู้ได้รับทุนการศึกษาโรดส์[3] ซึ่งเธอได้ก่อตั้งสมาคมสตรีโรดส์ หลังจากนั้น เธอได้ลงทะเบียนเรียนที่โรงเรียนกฎหมายแห่งมหาวิทยาลัยเยล โดยสำเร็จการศึกษาจูริสดอกเตอร์ใน ค.ศ. 2003[3]

อาชีพ

[แก้]

หลังจากสำเร็จการศึกษาจากออกซฟอร์ด อิสแคนเดอร์เริ่มต้นอาชีพของเธอในฐานะผู้ร่วมงานที่บริษัทแมกคินซีย์แอนด์คัมพานี และหลังจากสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกฎหมายแห่งมหาวิทยาลัยเยล อิสแคนเดอร์เป็นเสมียนให้แก่ไดแอน พี. วูด ที่ศาลอุทธรณ์สหรัฐที่เจ็ดในชิคาโก รัฐอิลลินอย จากนั้น เธอก็ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเดวิด ลีบรอน อธิการบดีมหาวิทยาลัยไรซ์ และหลังจากนั้นสองปี อิสแคนเดอร์ก็ออกจากงานที่มหาวิทยาลัยไรซ์เพื่อรับหน้าที่กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งอเมริกาในนิวยอร์ก[3] นอกจากนี้ เธอยังทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ให้แก่บริษัทดับเบิลยู. แอล. กอร์แอนด์อะโซซีเอตส์ รวมถึงเป็นเสมียนกฎหมายที่สำนักงานกฎหมายคราเวธ, สเวน แอนด์มัวร์ ในนิวยอร์ก และสำนักงานกฎหมายวินสันแอนด์เอลคินส์ในฮิวสตัน[5]

หลังจากทำงานที่สมาคมวางแผนครอบครัว อิสแคนเดอร์ก็กลายเป็นกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการขององค์กรฮารัมบียูธเอมพลอยเมนต์เอกเซเลอเรเตอร์ที่ประเทศแอฟริกาใต้ใน ค.ศ. 2012 ก่อนที่จะมาเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ใน ค.ศ. 2013 ซึ่งองค์กรฮารัมบีมุ่งเน้นไปที่การเชื่อมโยงนายจ้างกับคนทำงานครั้งแรกเพื่อลดการว่างงานของคนหนุ่มคนสาวและเพิ่มการรักษาพนักงานไว้ ครั้นใน ค.ศ. 2015 อิสแคนเดอร์ให้คำมั่นสัญญาในนครนิวยอร์กต่อโครงการคลินตันโกลบอลอินิชิเอทีฟว่าองค์กรฮารัมบีจะจัดหางานและประสบการณ์การทำงาน 50,000 ตำแหน่งให้แก่เยาวชนแอฟริกาใต้ ซึ่งภายใน ค.ศ. 2018 เธอสามารถร่วมส่วนกับบิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ในการเยือนโจฮันเนสเบิร์ก ซึ่งองค์กรฮารัมบีได้ทำเกินความมุ่งมั่นของเธอ โดยมอบโอกาสดังกล่าวมากกว่า 85,000 ตำแหน่ง[6]

เมื่อพูดในคอนเชียสคัมพานีส์อะวอดส์ 2019 ที่โจฮันเนสเบิร์ก อิสแคนเดอร์อธิบายว่าเธอต้องการให้ "ธุรกิจเข้าใจว่าการจ้างคนหนุ่มสาวในงานแรกของพวกเขาไม่ใช่การออกกำลังกายเพื่อการกุศล แต่เป็นความสามารถ [...] เราปฏิบัติต่อคนหนุ่มสาวเหมือนลูกค้า และไม่เหมือนผู้รับผลประโยชน์"[7] ด้วยการสร้างกลุ่มคนงานขนาดใหญ่ที่สามารถนำร่องได้อย่างแท้จริงและพิสูจน์ว่าคนหนุ่มคนสาวสามารถทำงานได้อย่างประสบความสำเร็จโดยใช้วิธีนี้ องค์กรฮารัมบีจึงสามารถขยายความพยายามและประสิทธิผลของพวกเขา[8] โดยในช่วงเวลาที่เธอดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร องค์กรไม่แสวงผลกำไรแห่งนี้ได้เชื่อมโยงคนงานรุ่นใหม่จำนวน 100,000 คนพร้อมโอกาสในการทำงานร่วมกับธุรกิจ 500 แห่งเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2019[9]

กระทั่งเมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 2021 อิสแคนเดอร์ได้รับเลือกให้เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของมูลนิธิวิกิมีเดีย โดยเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 2022[10] เธอระบุในการให้สัมภาษณ์ว่าลำดับความสำคัญของเธอหลังจากรับบทบาทคือการทำให้นักเขียนอาสาสมัครและผู้แก้ไขของวิกิพีเดียมีความหลากหลาย กับส่งเสริมภารกิจของมูลนิธิวิกิมีเดียในการสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูล[11] ส่วนใน ค.ศ. 2023 อิสแคนเดอร์ได้รับเลือกให้เป็นคณะกรรมการจัดการของเยล[12]

แมริแอนา อิสแคนเดอร์ ในการประชุมวิกิเมเนีย 2023

การยอมรับ

[แก้]

อิสแคนเดอร์เป็นผู้รับรางวัลและทุนสนับสนุนหลายรางวัล รวมถึงรางวัลสโกลสำหรับการประกอบการเพื่อสังคม ตลอดจนรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นของโรงเรียนกฎหมายแห่งมหาวิทยาลัยเยล[13] ส่วนใน ค.ศ. 2002 เธอได้รับรางวัลพอลแอนด์เดซี โซรอส เฟลโลชิปส์ฟอร์นิวอเมริกันส์[14] ซึ่งมอบให้แก่ผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศหรือลูกหลานของผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศ "ที่พร้อมจะสร้างคุณูปการสำคัญให้แก่สังคม, วัฒนธรรม หรือสาขาวิชาการของสหรัฐ"[3] รวมถึงได้รับทุนการศึกษาโรดส์และทุนการศึกษาแฮร์รี เอส. ทรูแมน นอกจากนี้ เธอยังเป็นสมาชิกของเฮนรี เคราน์ เฟลโลส์ รุ่น ค.ศ. 2006 ที่สถาบันแอสเพน และของแอสเพนโกลบอลลีดเดอร์ชิปเน็ตเวิร์ก[15] ส่วนองค์กรฮารัมบียูธเอมพลอยเมนต์เอกเซเลอเรเตอร์และความเป็นผู้นำขององค์กรนี้ได้รับการยอมรับด้วยรางวัลและเงินทุนจากองค์กรต่าง ๆ เช่น มูลนิธิสโกล[16] และยูเอสเอด[17]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Maryana Iskander, Harambee Youth Employment Accelerator. Devex. 2019-06-18.
  2. Who's who Among Students in American Universities and Colleges. Vol. 62. Randall Publishing Company. 1996. p. 714.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "Maryana F. Iskander, 2001". Paul & Daisy Soros Fellowships for New Americans. P'unk Ave. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2020. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.
  4. "Scholar Listing". The Harry S. Truman Scholarship Foundation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-05-05.
  5. "About Our Team". Harambee. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-26. สืบค้นเมื่อ 2020-02-26.
  6. Linington, Darryl (November 5, 2018). "Harambee's exceeds youth employment commitment to Clinton global initiative - IT News Africa - Up to date technology news, IT news, Digital news, Telecom news, Mobile news, Gadgets news, Analysis and Reports" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-09-27.
  7. "Conscious Companies awards applauds 2019 finalists". IOL. Independent Media and affiliated companies. April 24, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 6, 2021. สืบค้นเมื่อ February 15, 2024.
  8. "Harambee, Youth Employment Accelerator, winner in NGO's category". Mail & Guardian. Mail & Guardian Online. May 24, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-26. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
  9. "Youth-owned township businesses complain of market access barriers". IOL. Independent Media and affiliated. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2020. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
  10. Lima, Cristiano (2021-09-14). "Wikimedia taps leader of South African nonprofit as its next CEO". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-14. สืบค้นเมื่อ 2021-09-14.
  11. "Wikipedia parent's new CEO wants to make it more global". The Seattle Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-09-27. สืบค้นเมื่อ 2021-10-08.
  12. Peed, Andrea Thompson (13 June 2023). "Yale announces new alumni fellow trustee and two new successor trustees". YaleNews (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 3 October 2023.
  13. Edwards, Caryn (February 9, 2018). "Yale honours CEO of South African youth employment accelerator". The South African. Blue Sky Publications Ltd. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2020. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
  14. "Maryana Iskander". University of Arkansas Clinton School of Public Service Speaker Series. Clinton School. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2020. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
  15. "Maryana Iskander". AGLN. The Aspen Institute. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2020. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.
  16. "Skoll Awardees". Skoll Foundation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2020. สืบค้นเมื่อ 18 March 2020.
  17. "USAID Announces $18.4 Million in Support of Cutting Edge Innovations". USAID. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2019. สืบค้นเมื่อ 18 March 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]