ข้ามไปเนื้อหา

รัฐมหาราษฏระ

พิกัด: 18°58′12″N 72°49′12″E / 18.97°N 72.820°E / 18.97; 72.820
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Maharashtra)
รัฐมหาราษฏระ
Emblem of Maharashtra
ตรา
คำขวัญ: 
ปรติปัจจันทรเลเขวะ วรธิษณุรวิศวะ วันทิตา มหาราษฏรัสยะ ราชยสยะ มุทรา ภทรายะ ราชเต[1]
(ความรุ่งโรจน์ของมหาราษฏระจักส่องสว่างดั่งจันทร์วันเพ็ญ ทั้งโลกจักบูชา แสงสว่างอันได้ส่องไป แม้นเพื่อสิ่งใดหาใช่ล้วนเพื่อความผาสุขของปวงประชา)[2][3]
ที่ตั้งของมหาราษฏระในประเทศอินเดีย
ที่ตั้งของมหาราษฏระในประเทศอินเดีย
พิกัด (มุมไบ): 18°58′12″N 72°49′12″E / 18.97°N 72.820°E / 18.97; 72.820
ประเทศธงของประเทศอินเดีย อินเดีย
ก่อตั้ง1 พฤษภาคม 1960^ (Maharashtra Day)
เมืองหลวงมุมไบ
นาคปุระ (ฤดูหนาว)[4]
อำเภอรวม 36
การปกครอง
 • องค์กรรัฐบาลรัฐมหาราษฏระ
 • ราชยปาลภคัต สิงห์ โกษยรี (Bhagat Singh Koshyari)
 • มุขยมนตรีอุททว ตักเกเรย์ (Uddhav Thackeray)
 • รองมุขยมนตรีอชิต ปวร (Ajit Pawar)
 • สมัชชานิติบัญญัติระบบสองสภา
สภานิติบัญญัติ 78
สมัชชานิติบัญญัติ 288
ราชยสภา 19
โลกสภา 48
พื้นที่
 • ทั้งหมด307,713 ตร.กม. (118,809 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 3
ประชากร
 (2011)[5]
 • ทั้งหมด112,374,333 คน
 • อันดับอันดับที่ 2
 • ความหนาแน่น370 คน/ตร.กม. (950 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมชาวมหาราษฏระ (Maharashtrian)
จีดีพี (2019–20)[6]
 • รวม₹28.78ข้อผิดพลาดนิพจน์: "lc" เป็นคำที่ไม่รู้จัก
 • ต่อประชากร₹207,727
เขตเวลาUTC+05:30 (IST)
รหัส ISO 3166IN-MH
ทะเบียนพาหนะMH
ภาษาทางการภาษามราฐี[7][8]
เอชดีไอ (2017)เพิ่มขึ้น 0.695[9] (medium) · ที่ 15
การรู้หนังสือ (2011)82.34%[10]
อัตราส่วนเพศ (2011)929 /1000 [10]
เว็บไซต์Maharashtra.gov.in
รัฐบอมเบย์แยกออกเป็นสองรัฐใหม่ คือมหาราษฏระ และคุชราต ตาม Bombay Reorganisation Act 1960[11]
†† Common high court
สัญลักษณ์ของรัฐมหาราษฏระ
ตรา
ตราประจำรัฐมหาราษฏระ
ภาษา
ภาษามราฐี
สัตว์
กระรอกยักษ์อินเดีย
สัตว์ปีก
นกเปล้าขาเหลือง
แมลง
Blue Mormon
ดอกไม้
อินทนิล
ต้นไม้
ต้นมะม่วง

มหาราษฏระ เป็นรัฐทางตะวันตกของประเทศอินเดีย มีพื้นที่อยู่บนบางส่วนของที่ราบสูงเดกกัน เป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศ และพื้นที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามของประเทศ คิดเป็นพื้นที่ 307,713 km2 (118,809 sq mi) มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกติดกับทะเลอาหรับ ทิศใต้ติดกับรัฐกัวและรัฐกรณาฏกะ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับรัฐเตลังคานา ทิศตะวันออกติดกับรัฐฉัตตีสครห์ ทิศเหนือติดกับรัฐคุชราตและรัฐมัธยประเทศ และทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับดินแดนสหภาพดาดราและนครหเวลี และดามันและดีอู[12] นอกจากนี้ รัฐมหาราษฏระจัดเป็นหน่วยการปกครองระดับที่หนึ่งที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก

รัฐมหาราษฏระก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1960 เกิดจากการรวมกันของพื้นที่บางส่วนของรัฐบอมเบย์ (Bombay State), มณฑลเบราร (Berar Division), วิทรภา (Vidarbha), บางส่วนของรัฐไฮเดอราบาด (Hyderabad State) และบางส่วนที่แยกออกมาจากรัฐเสาราษฏระ (Saurashtra State) ตามรัฐบัญญัติการจัดระเบียบรัฐ ค.ศ. 1956 (States Reorganisation Act, 1956) รัฐมหาราษฏระมีประชากรกว่า 112 ล้านคน ในจำนวนนี้ราว 18.4 ล้านคนอาศัยอยู่ในมุมไบ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐ ทำให้มุมไบเป็นเขตเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในอินเดีย เมืองที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ นาคปุระ ซึ่งเป็นเมืองที่จัดสมัยประชุมภาคฤดูหนาวของสภานิติบัญญัติแห่งรัฐมหาราษฏระ[13] ปุเณ เป็นเมืองที่ขึ้นชื่อว่าเป็น "ออกซฟอร์ดแห่งโลกตะวันออก" ด้วยสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงหลายแห่งในเมือง[14][15] และนาศิก เป็นเมืองที่มีฉายาว่า "เมืองหลวงไวน์แห่งอินเดีย" เนื่องจากมีไร่องุ่นและโรงกลั่นเหล้าองุ่นตั้งอยู่ที่เมืองนี้เป็นจำนวนมาก

แม่น้ำหลักสองสายของรัฐคือแม่น้ำโคทาวรีและแม่น้ำกฤษณา และมีแม่น้ำนรรมทากับแม่น้ำตาปตีไหลผ่านตรงรอยต่อกับรัฐมัธยประเทศและรัฐคุชราต รัฐมหาราษฏระถือเป็นรัฐที่เกิดการนคราภิวัฒน์ (Urbanisation) สูงเป็นอันดับสามในอินเดีย[16][17] ก่อนประเทศอินเดียจะถูกยึดครองโดยอังกฤษ บริเวณรัฐมหาราษฏระเคยปกครองโดยจักรวรรดิสาตวาหนะ จักรวรรดิราษฏรกุตะ จลุกยะตะวันตก รัฐสุลต่านเดกกัน จักรวรรดิโมกุล และจักรวรรดิมราฐา ก่อนจะถูกปกครองโดยบริติชราชในที่สุด โบราณสถาน อนุสาวรีย์ สุสาน ป้อมปราการ และศาสนสถานต่าง ๆ ที่สร้างโดยจักรววรดิและความเชื่อที่แตกต่างกันจึงสามารถพบได้จำนวนมากในบริเวณนี้ในปัจจุบัน ในจำนวนนั้นประกอบด้วยแหล่งมรดกโลก ถ้ำอชันตาและถ้ำเอลโลรา ป้อมปราการจำนวนมากที่สร้างขึ้นโดยยจักรพรรดิศิวาจี

รัฐมหาราษฏระเป็นรัฐที่มั่งคั่งที่สุดในอินเดียในทุกตัวแปรการประเมิน และยังเป็นรัฐที่เกิดการกลายเป็นอุตสาหกรรม (Industrialisation) มากที่สุดในอินเดีย[18][19] จีดีพีกว่า 15% ของประเทศอินเดียมาจากรัฐมหาราษฏระ ทำให้รัฐมหาราษฏระเป็นหนึ่งในรัฐที่มีส่วนสำคัญที่สุดรัฐหนึ่งที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอินเดีย[20] รัฐมหาราษฏระผลิตอุตสาหกรรม 17% ของผลผลิตทางอุตสาหกรรมทั้งประเทศ และผลิต 16% ของผลิตภัณฑ์ทางบริการทั้งประเทศอินเดีย[21]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

หลักฐานการตั้งถิ่นฐานจากยุคทองแดง ของวัฒนธรรมจอร์เว (Jorwe culture) (1300–700 ก่อนคริสตกาล) นั้นพบไปทั่วทั้งรัฐมหาราษฏระ[22][23]

มหาราษฏระตกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิเมารยะ ในคริสต์ศตวรรษสามถึงสี่ร้อยปีก่อนคริสตกาล ต่อมา 230 ปีก่อนคริสตกาล รัฐมหาราษฏระได้อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิสาตวาหนะ เป็นเวลากว่า 400 ปี[24] จักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรวรรดินี้คือ โคตมิปุตระ สาตกรณี (Gautamiputra Satakarni) ในปี ค.ศ. 90 [25] บุตรของพระเจ้าสาตกรณี (Satakarni) ผู้ทรงเป็น "จ้าวแห่งทักษิณาปถา (Lord of Dakshinapatha), ผู้ทรงจักรที่ไม่อาจหยุดยั้งได้แห่งเอกราช (wielder of the unchecked wheel of Sovereignty)" ตั้งเมืองจุนนาร์ (Junnar) ซึ่งตั้งอยู่ 30 ไมล์ทางตอนเหนือของปุเณในปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของอาณาจักร ต่อมารัฐมหาราษฏระยังเคยอยู่ภายใต้การปกครองของทั้ง Western Satraps, จักรวรรดิคุปตะ, Gurjara-Pratihara, วากาฏกะ (Vakataka), Kadambas, จักรวรรดิจาลุกยะ, Rashtrakuta Dynasty, และจาลุกยะตะวันตก ก่อท่ในที่สุดจะถูกปกครองภายใต้Yadava ถ้ำอชันตา ในอำเภอออรังคาบาดแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลจากศิลปะแบบสาตวาหนะและวากาฏกะ เป็นไปได้ว่าการเจาะถ้ำน่าจะเริ่มต้นในยุคนี้[26]

จักรวรรดิจาลุกยะได้ปกครองบริเวณนี้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่หกถึงแปด โดยมีกษัตริย์องค์สำคัญสองพระองค์คือ Pulakeshin II ผู้เอาชนะกษัตริย์จากอินเดียเหนือ Harsha และ Vikramaditya II ผู้ปราบผู้รุกรานชาวอาหรับในศควรรษที่แปด จักรวรรดิ Rashtrakuta ปกครองพื้นที่ต่อในศตวรรษที่แปดถึงสิบ[27] นักเดินทางชาวอาหรับนามว่า Sulaiman al Mahri เล่าถึงผู้ปกครองของจักรวรรดิ Rashtrakuta พระนามว่า Amoghavarsha เป็น "หนึ่งในสี่กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลก"[28]

ศัพทมูล

[แก้]

ภาษามราฐีในปัจจุบันนั้นพัฒนามาจากประกริตมหาราษฏระ (Maharashtri Prakrit)[29]และคำว่า มรหัตตะ (Marhatta) (ต่อมาคือมราฐา) นั้นก็พบในวรรณกรรมมหาราษฏระไชนะ คำว่า มหาราษฏระ (Maharashtra), มหาราษฏรี (Maharashtri), มราฐี (Marathi) และ มราฐา (Maratha) อาจมาจากรากเดียวกัน อย่างไรก็ตามรากศัพทมูลที่แน่ชัดยังเป็นที่ไม่ชัดเจน[30]

ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมากที่สุดในบรรดานักวิชาการด้านภาษา นั้นคือคำว่า มราฐา (Maratha) และ มหาราษฏระ (Maharashtra) ในท้ายที่สุดน่าจะเกิดจากการรวมกันของคำว่า มหา (Maha; มราฐี: महा) กับ ราษฏริกา (rashtrika; มราฐี: राष्ट्रिका)[30] ชื่อของชนเผ่าหรือจักรวรรดิในแถบที่ราบสูงเดกกัน[31] อีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่ามาจากการรวมกันของคำว่า มหา (Maha - "ยิ่งใหญ่") กับ รถ (ratha) / รถี (rathi) (ราชรถ / สารถี) อันสื่อถึงกองทัพที่เก่งกาจทางตอนเหนือ ที่ได้ย้ายถิ่นฐานลงมาทางใต้ในแถบบริเวณมหาราษฏระในปัจจุบัน[31][32]

อีกทฤษฎีที่มาแทนคือเกิดากการรวมของคำว่า มหา (Maha - "ยิ่งใหญ่") และ ราษฏระ (Rashtra - "ราษฎร/เชื้อชาติ")[33] อย่างไรก็ตามมมุงมองนี้เป็นที่ถกเถียงมากในหมู๋นักวิชาการสมัยใหม่ ซึ่งเชื่อว่าเป็นการตีความจากนักเขียนรุ่นหลัง ๆ ที่ใช้การทำคำเดิมเป็นสันสกฤต (Sanskritised)[30]

ภูมิศาสตร์และภูมิอากาศ

[แก้]
แม่น้ำโคทาวรีที่แห้งเหือดในปุนตัมบา (Puntamba), อำเภออะห์มัดนครหลังมรสุม

รัฐมหาราษฏระครอบคลุมพื้นที่อินเดียตะวันตกและตอนกลางของประเทศและมีชายฝั่งยาว 720 กิโลเมตร[34] ไปตามทะเลอาหรับ[35] หนึ่งในองค์ประกอบภูมิศาสตร์สำคัญของรัฐมหาราษฏระคือที่ราบสูงเดกกัน (Deccan plateau) ซึ่งแยกออกจากชายฝั่งมณฑลโกนกันด้วยหมู่เทือกเขาฆาฏ[36] หนึ่งในองค์ประกอบเทือกเขาที่มีชื่อเสียงของรัฐคือ เทือกเขาฆาฏตะวันตกหรือเทือกเขาสาหยาตรี (Sahyadri Mountain range) ทางตะวันตก และมีเทอกเขาสัตปุระ (Satpura Hills) ทางตอนเหนือ และเทือกเขาภัมรคัท-จิโรลี-ไคขุรี (Bhamragad-Chiroli-Gaikhuri) ทางตะวันออก[37]

ภูมิอากาศ

[แก้]

รัฐมหาราษฏระมีภูมิอากาศแบบเขตร้อน (tropical climate) ประกอบด้วยสามฤดู ฤดูร้อน (มีนาคม-พฤษภาคม) ฤดูมรสุม (เมษายน–กันยายน) และฤดูหนาว (ตุลาคม-กุมภาพันธ์) อย่างไรก็ตามอาจมีน้ำค้างและลูกเห็บบ้างในบางครา[38] ฤดูร้อนนั้นร้อนมากเป็นพิเศษ อุณหภูมิอาจสูงขึ้นจาก 22 °C ไปถึง 43 °C ในฤดูร้อน ในฤดูฝนมีเดือนกรกฎาคมที่เป็นเดือนที่รัฐมหาราษฏระชุ่มแฉะมากเป็นพิเศษ และฝนจะเริ่มลดลงในเดือนสิงหาคม ปริมาณน้ำฝนนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละเมือง ฐาเน, อำเภอไรคัท, อำเภอรัตนคีรี และ อำเภอสินธุทุรค์ มีฝนตกหนักถึง 200 ซม ต่อปี ในขณะที่อำเภอนาศิก, อำเภอปุเณ, อำเภออะห์เมดนะคร, อำเภอธุเล, อำเภอชลคะโอน, อำเภอสตร, อำเภอสังคลี, อำเภอโสลปุระ และบางส่วนของอำเภอโกลหาปูระ มีปริมาณน้ำฝนที่ต่ำกว่า 50 ซม[39] ในฤดูหนาวมหาราษฏระ อุณหภูมิอยู๋ที่ 12 °C ถึง 34 °C

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
refer caption
มณฑล (Divisions) ของมหาราษฏระ และอำเภอตัวแทน

มหาราษฏระประกอบด้วยมณฑลการปกครอง (administrative divisions) 6 มณฑล:[40]

  1. อมราวตี
  2. ออรังคาบาด
  3. โกนกัน
  4. นาคปุระ
  5. นาศิก
  6. ปุเณ

ซึ่งส่วนการปกครอง (administrative divisions) ทั้ง 6 มณฑลจะแบ่งออกเป็น 36 อำเภอ, 109 แขวง (sub-divisions) และ 357 ตลุกะ (taluka)[41]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Pratipaccandralēkhēva vardhiṣṇurviśva vanditā mahārāṣṭrasya rājyasya mudrā bhadrāya rājatē
  2. The glory of Maharashtra will grow like the first day moon. It will be worshipped by the world and will shine only for the well being of its people.)
  3. Chavan, Vijay (17 July 2018). "State govt's spin on Chhatrapati Shivaji's rajmudra draws public ire". Pune Mirror (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-11. สืบค้นเมื่อ 3 April 2020.
  4. "Monsoon session to start in Maha's winter Capital Nagpur from July 4". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 August 2018. สืบค้นเมื่อ 1 August 2018.
  5. "census of india". Census of India, 2011. Government of India. 31 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2011. สืบค้นเมื่อ 6 April 2011.
  6. "Economic Survey of Maharashtra 2019-20, Directorate of Economics and Statistics, Planning Department, Government of Maharashtra" (PDF). สืบค้นเมื่อ 7 April 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "The Maharashtra Official Languages Act, 1964; Amendment Act, 2015" (PDF). lawsofindia.org. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2017.
  8. "Report of the Commissioner for linguistic minorities: 52nd report (July 2014 to June 2015)" (PDF). Commissioner for Linguistic Minorities, Ministry of Minority Affairs, Government of India. pp. 34–35. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2016.
  9. "Sub-national HDI – Area Database – Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2018. สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
  10. 10.0 10.1 "Census 2011 (Final Data) – Demographic details, Literate Population (Total, Rural & Urban)" (PDF). planningcommission.gov.in. Planning Commission, Government of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 27 January 2018. สืบค้นเมื่อ 3 October 2018.
  11. Ministry of Law, Government of India (1960). The Bombay Reorganisation Act 1960. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2016. สืบค้นเมื่อ 23 May 2015.
  12. "Maharashtra Tourism". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2019. สืบค้นเมื่อ 3 February 2019.
  13. Bhushan Kale (10 December 2014). "उपराजधानी ते राजधानी 'शिवनेरी'ची सवारी" [Uparājdhānī tē Rājdhānī' śivanērī'cī Savārī]. Divya Marathi (ภาษามราฐี). Nagpur, Maharashtra, India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 June 2015. สืบค้นเมื่อ 23 May 2015.
  14. "The 'Oxford of the East' goes West". The Indian Express. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2017. สืบค้นเมื่อ 24 January 2017.
  15. "Truly the Oxford of the East". Hindustan Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2017. สืบค้นเมื่อ 24 January 2017.
  16. "Level of Urbanisation : Ministry of Urban Development, Government of India". moud.gov.in (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2017. สืบค้นเมื่อ 25 May 2017.
  17. "Census 2011: Tamil Nadu 3rd most urbanised state – Times of India". The Times of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 August 2014. สืบค้นเมื่อ 17 May 2017.
  18. Planning Commission of the Government of India (2007). Maharashtra, Development Report. Academic Foundation. p. 407. ISBN 978-8-171-88540-4.
  19. Bhandari Laveesh (2009). Indian States at a Glance 2008-09: Performance, Facts And Figures – Maharashtra. Pearson Education India. p. 176. ISBN 978-8-131-72343-2.
  20. "Maharashtra's 2025 agenda: Why state's $1 trillion GDP target could make it India's growth engine". Financial Express. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2018. สืบค้นเมื่อ 25 June 2018.
  21. "Rethinking, Reshaping: Agenda for Good Growth & Governance in Maharashtra" (PDF). CARE Ratings. 13 February 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-11-12. สืบค้นเมื่อ 2019-04-25.
  22. Upinder Singh (2008), A History of Ancient and Early Medieval India: From the Stone Age to the 12th Century เก็บถาวร 20 ธันวาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, p.232
  23. P. K. Basant (2012), The City and the Country in Early India: A Study of Malwa เก็บถาวร 28 มีนาคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, pp.92–96
  24. India Today: An Encyclopedia of Life in the Republic: p.440
  25. จารึกเวทิศรี (Vedishri) ที่นะเนฆัต (Naneghat) ระบุว่าพระเจ้าเวทิศรี (Vedishri) ทรงเป็นกษัตริย์ผู้กล้าหาญ และเป็นเจ้าแห่งทักษิณปถา (Dakshinapatha) หรือเดกกัน Mirashi, Studies in Indology, vol. I, p. 76 f.
  26. Ali Javid (January 2008). World Heritage Monuments and Related Edifices in India. Algora Publishing. p. 101. ISBN 978-0-87586-484-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2016. สืบค้นเมื่อ 15 November 2015.
  27. Indian History – page B-57
  28. A Comprehensive History of Ancient India (3 Vol. Set): p.203
  29. "The Linguist List". The Linguist List. 22 June 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2009. สืบค้นเมื่อ 30 April 2013.
  30. 30.0 30.1 30.2 Maharashtra State Gazetteers: General Series. Directorate of Government Print., Stationery and Publications. 1967. p. 208. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2013.
  31. 31.0 31.1 K. Balasubramanyam (1965). the mysore. Mittal Publications. p. 174. GGKEY:HRFC6GWCY6D. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2013.
  32. "Maharashtra (state, India) :: The arts – Encyclopædia Britannica". Encyclopædia Britannica. 20 February 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2014. สืบค้นเมื่อ 7 August 2014.
  33. Tej Ram Sharma (1978). Personal and geographical names in the Gupta inscriptions. Concept Publishing Co., Delhi. p. 209. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2014. สืบค้นเมื่อ 18 October 2014.
  34. "AgriData". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2018. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
  35. "Maharashtra Geography". Government of Maharashtra. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2014. สืบค้นเมื่อ 24 January 2014.
  36. "Western Ghats as world heritage site". The Times of India. 2 July 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2015. สืบค้นเมื่อ 24 January 2014.
  37. "State Farmer Guide". Government of India. Ministry of Agriculture. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2014. สืบค้นเมื่อ 24 January 2014.
  38. Swain, S; และคณะ (July 2017). Application of SPI, EDI and PNPI using MSWEP precipitation data over Marathwada, India. IEEE International Geoscience and Remote Sensing Symposium (IGARSS). Vol. 2017. pp. 5505–5507. doi:10.1109/IGARSS.2017.8128250. ISBN 978-1-5090-4951-6.
  39. "Climate of Maharashtra" (PDF). Public Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 February 2014. สืบค้นเมื่อ 2 February 2014.
  40. "Districts" เก็บถาวร 12 กันยายน 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, maha.gov.in
  41. "Talukas of Maharashtra". District department. Government of Maharashtra. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2011. สืบค้นเมื่อ 13 January 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]