ข้ามไปเนื้อหา

ประตูสู่อินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประตูสู่อินเดีย
ประตูสู่อินเดีย
แผนที่
พิกัด18°55′19″N 72°50′05″E / 18.9219°N 72.8346°E / 18.9219; 72.8346
ที่ตั้งทางใต้ของมุมไบ, รัฐมหาราษฏระ
ผู้ออกแบบจอร์จ วิทเท็ท
ประเภทประตูชัย
วัสดุหินบะซอลต์
ความสูง26 m (85 ft)
เริ่มก่อสร้าง31 March 1911
สร้างเสร็จ1924
การเปิด4 ธันวาคม 1924
อุทิศแด่การเสด็จเยือนอินเดียของพระเจ้าจอร์จที่ 5 และพระนางมาเรียแห่งเท็ค

ประตูสู่อินเดีย (อังกฤษ: Gateway of India) เป็นอนุสาวรีย์ซุ้มประตูโค้งแบบประตูชัย ที่ตั้งอยู่ในนครมุมไบ ประเทศอินเดีย[2] ประตูสู่อินเดียสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการเสด็จฯ เยือนนครมุมไบของพระเจ้าจอร์จที่ 5 และ พระนางมาเรียแห่งเท็ค เมื่อปี 1911 ณ บริเวณอะพอลโลบันเดอร์

สถาปัตยกรรมที่ใช้คือแบบอินเดีย-ซาราเซน (Indo-Saracenic) และอนุสาวรีย์สร้างด้วยหินบะซอลต์ ความสูง 26 เมตร (85 ฟุต) ใช้เวลาสร้างสำเร็จในปี 1924 ปัจจุบันใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับพิธีต้อนรับรัฐมนตรีใหม่ของนครมุมไบ[3] และเช่นกัน เป็นทางเข้าประเทศอินเดียหากเดินทางมาทางมหาสมุทรอินเดีย[4]

ประตูสู่อินเดียตั้งอยู่หน้าน้ำที่อะพอลโลบันเดอร์ ในทางทิศใต้ของนครมุมไบ มองออกไปคือทะเลอาหรับ[5][6][7] บางครั้งเรียกว่าเป็นทัชมาฮาลแห่งมุมไบ[8] ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเมือง[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Which company built the Gateway of India?". Rediff.com. 4 พฤษภาคม 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2012.
  2. National Portal Content Management Team. "National Portal of India, Monuments". National Informatics Centre (NIC). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2012.
  3. Chapman, Kenneth. Peace, War and Friendships. Roxana Chapman. p. 151. ISBN 978-0-9551881-0-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มกราคม 2014. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2012.
  4. Simon, Sherry; St-Pierre, Paul (27 พฤศจิกายน 2000). Changing the Terms: Translating in the Postcolonial Era. University of Ottawa Press. p. 245. ISBN 978-0-7766-0524-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มกราคม 2014. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2012.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ DuikerSpielvogel2006
  6. DNA (24 เมษายน 2012). "Walk amid a wealth of heritage in Mumbai". DNA India. Mumbai. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2012.
  7. Holloway, James (29 พฤศจิกายน 1964). "Gateway of India; Colorful, Crowded Bombay Provides An Introduction to Subcontinent". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 เมษายน 2014. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2012.(ต้องรับบริการ)
  8. Duncan Forbes (1968). The heart of India. Hale. p. 76. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2012.
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bbc