ข้ามไปเนื้อหา

ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก IAEA)
ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
ชื่อย่อ
  • ไอเออีเอ
  • อาอีเอออา
ก่อตั้ง29 กรกฎาคม 1957; 67 ปีก่อน (1957-07-29)
ประเภทองค์การระหว่างประเทศ
สถานะตามกฎหมายดำเนินการอยู่
สํานักงานใหญ่เวียนนา ประเทศออสเตรีย
สมาชิก
178 ประเทศ[1]
ผู้อำนวยการ
ราฟาเอล โกรซิ
พนักงาน (2022)
2556 (เจ้าหน้าที่วิชาชีพและบริการทั่วไป)[2]
เว็บไซต์www.iaea.org

ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Atomic Energy Agency, IAEA; ฝรั่งเศส: Agence internationale de l'énergie atomique, AIEA) เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมุ่งส่งเสริมการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ และห้ามการใช้สำหรับความมุ่งหมายทางทหารทั้งปวง ซึ่งรวมถึงอาวุธนิวเคลียร์ IAEA ตั้งขึ้นเป็นองค์การที่เป็นอิสระเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2500 แม้ทบวงการฯ จะสถาปนาขึ้นเป็นเอกเทศจากสหประชาชาติผ่านสนธิสัญญาระหว่างประเทศขององค์การเอง คือ บทกฎหมาย IAEA แต่ IAEA รายงานต่อทั้งสมัชชาใหญ่และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

IAEA มีสำนักงานใหญ่ในกรุงเวียนนา IAEA มี "สำนักงานพิทักษ์ภูมิภาค" สองแห่งซึ่งตั้งอยู่ในโทรอนโต ประเทศแคนาดาและในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น IAEA ยังมีสำนักงานติดต่อประสานงานสองแห่งตั้งอยู่ในนครนิวยอร์ก สหรัฐ และในเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นอกจากนี้ IAEA มีห้องปฏิบัติการสามแห่งตั้งอยู่ในกรุงเวียนนาและไชเบอร์ซดอร์ฟ ประเทศออสเตรียและในโมนาโก

IAEA เป็นสมัชชาระหว่างรัฐบาลเพื่อความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคนิคในการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์และพลังงานนิวเคลียร์อย่างสันติทั่วโลก โครงการของ IAEA สนับสนุนการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในทางสันติ การจัดหาการพิทักษ์ระหว่างประเทศต่อการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์และวัสดุนิวเคลียร์ในทางที่ผิดและส่งเสริมความปลอดภัยนิวเคลียร์ (รวมการป้องกันรังสี) และมาตรฐานแความปลอดภัยนิวเคลียร์และการนำไปปฏิบัติ

IAEA และอดีตผู้อำนวยการใหญ่ มุฮัมมัด อัลบะรอดะอี เคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพร่วมกันเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2548

ประวัติ

[แก้]

ไอเออีเอก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เวียนนา ประเทศออสเตรีย และมีสมาชิกทั้งหมด 146 ประเทศ ผู้แทนจากแต่ละประเทศจะประชุมกันปีละครั้งเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการปกครองจำนวน 35 คน ซึ่งจะประชุมกันปีละ 5 ครั้ง

นอกจากนี้ไอเออีเอยังมีสำนักงานอยู่ในแคนาดา เจนีวา นิวยอร์ก และโตเกียว อีกทั้งยังมีห้องทดลองอยู่ในออสเตรียและโมนาโก ขณะเดียวกันก็ให้การสนับสนุนศูนย์วิจัยในอิตาลี ที่อยู่ภายใต้การรับผิดชอบขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "List of Member States". www.iaea.org. 8 June 2016.
  2. (IAEA), International Atomic Energy Agency. "IAEA ANNUAL REPORT 2022" (PDF). www.iaea.org. p. 6. สืบค้นเมื่อ 3 March 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]