ข้ามไปเนื้อหา

มาเรีย เรสซา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาเรีย เรสซา
เรสซาเมื่อปี 2018
เกิด (1963-10-02) 2 ตุลาคม ค.ศ. 1963 (61 ปี)
มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
พลเมือง
  • ฟิลิปปินส์
  • สหรัฐ
การศึกษา
อาชีพ
  • นักข่าว
  • นักเขียน
มีชื่อเสียงจากผู้ร่วมก่อตั้ง แรปเปลอร์
รางวัล
เว็บไซต์Official website

มาเรีย อังเจลิตา เรสซา (Maria Angelita Ressa; แม่แบบ:IPA-tl, เกิด 2 ตุลาคม 1963) เป็นนักข่าว นักหนังสือพิมพ์ และนักเขียนชาวฟิลิปปินส์-อเมริกัน ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของสำนักข่าวแรปเปลอร์[1] ผู้รับรางวัลโนเบลคนแรกของประเทศฟิลิปปินส์ และอดีตหัวหน้างานข่าวสืบสวนสืบสวนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของซีเอ็นเอ็นมากกว่าสองทศวรรษ

เรสซาเคยได้รับการระบุชื่อเป็นบุคคลแห่งปี 2018 โดย ไทม์ ในฐานะส่วนหนึ่งของนีกข่าวทั่วโลกที่ร่วมกันทำงานเพื่อต่อสู้กับข่าวลวง เธอถูกจับกุมโดยทางการฟิลิปปินส์ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2019 ฐานความผิดหมิ่นประมาททางไซเบอร์ หลังแรปเปลอร์และเธอถูกกล่าวหาว่าเผยแพร่ข่าวลวงและหมิ่นประมาทนักธุรกิจ วิลเฟรโด เคง (Wilfredo Keng) และในวันที่ 15 มิถุนายน 2020 ศาลในมะนิลาได้ตัดสินให้เธอมีความผิดตามข้อกล่าวหา[2][3] และต้องโทษภายใต้กฎหมายอาชญากรรมไซเบอร์ของฟิลิปปินส์[4][5] การตัดสินคดีในครั้งนี้ถูกประณามอย่างรุนแรงโดยกลุ่มสนับสนุนสิทธิมนุษยชนในฐานะการกระทำที่เป็นการทำลายเสรีภาพสื่อในฟิลิปปินส์[6][7][8] นอกจากนี้ เรสซายังเป็นหนึ่งในผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ประธานาธิบดี โรดริโก ดูเตอร์เต อย่างหนัก การจับกุมครั้งนี้จึงถูกมองจากหลายภาคส่วนว่าเป็นการกระทำที่มีเหตุจูงใจทางการเมืองโดยรัฐบาลดูเตอร์เต[9][10][11] เรสซายังเป็นหนึ่งใน 25 บุคคลแนวหน้าของคณะกรรมการด้านข้อมูลและงานประชาธิปไตย (Information and Democracy Commission) ของรีพอร์เทอส์วิธเอาท์บอร์เดอส์[12]

เรสซาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2021 ร่วมกับดมิทรี มูราตอฟสำหรับ "การทุ่มเทเพื่อพิทักษ์เสรีภาพในการแสดงออก อันเป็นตัวแปรสำคัญให้เกิดประชาธิปไตยและสันติภาพที่มั่นคงถาวร" ทำให้เธอเป็นผู้รับรางวัลโนเบลคนแรกของประเทศฟิลิปปินส์[13][14][15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Arsenault, Adrienne (April 27, 2017). "'Democracy as we know it is dead': Filipino journalists fight fake news". CBC News.
  2. Ratcliffe, Rebecca (June 15, 2020). "Maria Ressa: Rappler editor found guilty of cyber libel charges in Philippines". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ June 15, 2020.
  3. Regencia, Ted (June 15, 2020). "Maria Ressa found guilty in blow to Philippines' press freedom". aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 12, 2020. สืบค้นเมื่อ February 14, 2021.
  4. "Philippines: Maria Ressa's cyber libel verdict 'a method of silencing dissent'". Deutsche Welle (www.dw.com) (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). June 15, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 16, 2020. สืบค้นเมื่อ February 14, 2021.
  5. "Philippine cybercrime law takes effect amid protests". BBC News. October 3, 2012.
  6. "Philippines: CFWIJ condemns cyber libel conviction of Maria Ressa". The Coalition For Women In Journalism (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). June 15, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-30. สืบค้นเมื่อ June 29, 2020.
  7. "US Senators Durbin, Markey, Leahy slam Ressa libel verdict". Philippine Daily Inquirer (ภาษาอังกฤษ). June 17, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-20. สืบค้นเมื่อ June 29, 2020.
  8. Cabato, Regine (June 15, 2020). "Conviction of Maria Ressa, hard-hitting Philippine American journalist, sparks condemnation". The Washington Post.
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ timearrest
  10. Gonzales, Cathrine (June 15, 2020). "Robredo: Ressa's cyber libel conviction a threat to Filipinos' freedom". Philippine Daily Inquirer (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ June 29, 2020.
  11. Dancel, Raul (June 15, 2020). "Court finds prominent Philippine journalist and Duterte critic Maria Ressa guilty of cyber-libel". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ June 29, 2020.
  12. "Maria A. Ressa | Reporters without borders". RSF. September 9, 2018. สืบค้นเมื่อ June 15, 2020.
  13. Gavilan, Jodesz (October 9, 2021). "What you need to know: Filipinos and the Nobel Peace Prize". Rappler.
  14. "The Nobel Peace Prize 2021". NobelPrize.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 8, 2021. สืบค้นเมื่อ October 8, 2021.
  15. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ dagsavisen

แหล่งข้อมูอื่น

[แก้]