ข้ามไปเนื้อหา

ฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก HPV)
การติดเชื้อฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส
ชื่ออื่นเอชพีวี (HPV)
เมเจอร์แคสปิดโปรตีน L1 ของ HPV 11
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ, สูตินรีเวชวิทยา, วิทยาเนื้องอก
อาการไม่พบอาการ, หูด[1][2]
ภาวะแทรกซ้อนมะเร็งปากมดลูก, ปากช่องคลอด, มดลูก, องคชาต, ก้น, คอและปาก[1][2]
สาเหตุการแพร่กระจายของเชื้อ human papillomavirus จากการสัมผัสโดยตรงกับเชื้อ[3][4]
การป้องกันวัคซีนเอพีวี, การสวมถุงยางอนามัย[3][5]

โรคติดเชื้อฮิวแมนพัพพิลโลมาไวรัส (human papillomavirus infection; โรคติดเชื้อเอชพีวี; HPV infection) เป็นการติดเชื้อที่เกิดจากการติด ฮิวแมนพัพพิลโลมาไวรัส (human papillomavirus; เอชพีวี; HPV) ซึ่งเป็นดีเอ็นเอไวรัสของแฟมิลี พัพพิลโลมาวิริเด (พัพพิลโลมาวิริเด)[4] ราว 90% ของการติดเชื้อเอชพีวีไม่แสดงอาการของโรคและหายได้เองภายในระยะเวลาสองปี[1] อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีพบว่าการติดเชื้อเอชพีวีคงอยู่และส่งผลให้เกิดหูด หรือรอยแผลพรีแคนเซอรัส[2] แผลพรีแคนเซอรัสเหล่านี้ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เกิด อาจส่งผลให้นำไปสู่มะเร็งปากมดลูก, ปากช่องคลอด, มดลูก, องคชาต, ก้น, ปากและคอ[1][2] กรณีส่วนใหญ่ของมะเร็งปากมดลูกเกิดจากเชื้อเอชพีวีสองสายพันธุ์ HPV16 และ HPV18 คิดเป็นราว 70% ของกรณีผู้ป่วยทั้งหมด[1][6] มะเร็งอื่น ๆ ที่มีกล่าวถึงไว้ข้างบนตั้งแต่ 60% ถึง 90% พบว่าเกี่ยวข้องกับเอชพีวี[6] HPV6 และ HPV11 เป็นสาเหตุที่พบทั่วไปที่ทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ และเกิด โรคติดเชื้อพัพพิลโลมาที่กล่องเสียง[1]

การติดเชื้อเอชพีวีนั้นเกิดจากดีเอ็นเอไวรัส ฮิวแมนพัพพิลโลมาไวรัส (human papillomavirus) จากแฟมิลีของ papillomavirus[7] ปัจจุบันมีมากกว่า 170 ชนิดที่ถูกบันทึกไว้แล้ว[7] มีมากกว่า 40 ชนิดที่สามารถติดต่อผ่านเพศสัมพันธ์ และติดเชื้อบริเวณทวารหนักกับ อวัยวะเพศ[3] ปัจจัยเสี่ยงหลักของการติดเชื้อที่ไม่จางหายไปจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์รวมถึงอายุแรกมีเพศสัมพันธ์ที่ต่ำ, การมีหลายคู่นอน, การสูบบุหรี่ และภาวะมีภูมิคุ้มกันที่ถูกกด[1] การติดต่อรูปแบบนี้มักเกิดตากการสัมผัสกันของผิวหนังผ่าน การสอดใส่ทางมดลูก และ เพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก เป็นรูปแบบที่พบมากที่สุด[3] นอกจากนี้เอชพีวียังอาจติดต่อจากมารดาสู่ลูกในครรภ์ได้[8] ในปัจจุบันยังคงไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเอชพีวีสามารถแพร่กระจายผ่านทางสิ่งของในชีวิตประจำวันเช่นฝารองนั่งของโถชักโครก,[9] แต่ชนิดที่ก่อเกิดหูดอาจแพร่กระจายผ่านพื้นผิวเช่นพื้นได้[10] บุคคลหนึ่งสามารถติดเชื้อเอชพีวัได้มากกว่าหนึ่งชนิด[8] ในปัจจุบันพบว่าเอชพีวีมีผลกระทบเฉพาะต่อในมนุษย์เท่านั้น[4][11]

วัคซีนเอชพีวีสามารถฉีดเพื่อป้องกันชนิดการติดเชื้อที่พบทั่วไปได้[3] เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ควรฉีดวัคซีนก่อนขีดเริ่มกิจกรรมทางเพศ (sexual activity onset) ดังนั้นจึงมีการแนะนำโดยทั่วไปให้ฉีดตั้งแต่เป็นเด็กที่อายุ 9–13 ปี[1] การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เช่นการตรวจพัพพานิโคโลว ("พัพสเมียร์") หรือการตรวจสภาพปากมดลูกหลังการทากรดแอซีติก สามารถตรวจได้ทั้งมะเร็งระยะต้นและเซลล์ที่มีความผิดปกติที่อาจพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้[1] การตรวจคัดกรองสามารถช่วยให้พบโรคได้ในระยะต้น ๆ ซึ่งช่วยให้การรักษาโรคมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า[1] การตรวจคัดกรองนี้สามารถช่วยลดปริมาณทั้งผู้เสียชีวิตและป่วยด้วยมะเร็งปากมดลูก[12] หูดที่ปากมดลูกสามารถกำจัดได้ด้วยวิธีการแช่แข็งหูด[4]

แทบจะทุกบุคคลจะเคยติดเชื้อเอชพีวีในสักช่วงหนึ่งของชีวิต[3] เอชพีวีเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบมากที่สุดทั่วโลก[4] ในปี 2018 มีป่วยด้วยมะเร็งปากมดลูกใหม่ประมาณ 569,000 คนทั่วโลก และเสียชีวิต 311,000 ราย[13] ราว 85% ของมะเร็งปากมดลูกทั้งหมดทั่วโลก พบในประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง[1] ในสหรัฐมีประมาณ 30,700 กรณีของมะเร็งที่เกิดจากเอชพีวีต่อปี[14] ประมาณ 1% ของผู้ใหญ่ที่มีสามารมีการกระตุ้นทางเพศพบหูด[8] กรณีของหูดที่ปากมดลูกนั้นมีกล่าวถึงไว้ย้อนกลับไปตั้งแต่กรีกโบราณ ในขณะที่ความรู้ว่าไวรัสนั้นเป็นตัวการเกิดโรคถูกค้นพบในปี 1907[15]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 "Human papillomavirus (HPV) and cervical cancer". WHO. มิถุนายน 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 สิงหาคม 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Ljubojevic S, Skerlev M (2014). "HPV-associated diseases". Clinics in Dermatology. 32 (2): 227–34. doi:10.1016/j.clindermatol.2013.08.007. PMID 24559558.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "What is HPV?". CDC. 28 ธันวาคม 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2016.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Milner DA (2015). Diagnostic Pathology: Infectious Diseases. Elsevier Health Sciences. p. 40. ISBN 9780323400374. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กันยายน 2017.
  5. "Fact Sheet for Public Health Personnel | Condom Effectiveness | CDC". www.cdc.gov. 25 มีนาคม 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 พฤษภาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2017.
  6. 6.0 6.1 "The Link Between HPV and Cancer". CDC. September 30, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2015. สืบค้นเมื่อ 11 August 2016.
  7. 7.0 7.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Bzhalava2013
  8. 8.0 8.1 8.2 "Human Papillomavirus (HPV) Questions and Answers". CDC. 28 ธันวาคม 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2016.
  9. "5 Things You Might Not Know About Human Papillomavirus". CDC. สืบค้นเมื่อ 22 May 2020.
  10. "Human Papilloma Virus (HPV)" (PDF). WRHA. 18 November 2019. สืบค้นเมื่อ 26 March 2019.
  11. "Pink Book (Human Papillomavirus)" (PDF). CDC.gov. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มีนาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2017.
  12. Sawaya GF, Kulasingam S, Denberg TD, Qaseem A (มิถุนายน 2015). "Cervical Cancer Screening in Average-Risk Women: Best Practice Advice From the Clinical Guidelines Committee of the American College of Physicians". Annals of Internal Medicine. 162 (12): 851–9. doi:10.7326/M14-2426. PMID 25928075.
  13. "Global Cancer Observatory: International Agency for Research on Cancer" (PDF). IARC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 October 2018. สืบค้นเมื่อ 16 March 2019.
  14. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ CDC2016Epi
  15. Tyring S, Moore AY, Lupi O (2016). Mucocutaneous Manifestations of Viral Diseases: An Illustrated Guide to Diagnosis and Management (2nd ed.). CRC Press. p. 207. ISBN 9781420073133.