คุรุทวาราชนมอัสถาน
คุรุทวราราชนมอัสถาน Gurdwara Janam Asthan گردوارہ جنم استھان ਗੁਰਦੁਆਰਾ ਜਨਮ ਅਸਥਾਨ | |
---|---|
คุรุทวาราขนมอัสถาน (ที่กำเนิด) หรือคุรุทวารานานกานาสาหิบ [1] | |
ชื่ออื่น | คุรุทวารา นานกานา สาหิบ (Gurdwara Nankana Sahib) |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถาปัตยกรรม | สถาปัตยกรรมซิกข์ |
เมือง | นานกานาซาฮิบ แคว้นปัญจาบ |
ประเทศ | ประเทศปากีสถาน |
เริ่มสร้าง | 1600 A.D. |
แล้วเสร็จ | 1819–20 A.D. |
คุรุทวาราจนัมอัสถาน (อูรดู : گردوارہ جنم آسھن ; Gurdwara Janam Asthan) หรือคุรุทวารานานกานาสาหิบ (Gurdwara Nankana Sahib) เป็นคุรุทวาราสำคัญแห่งหนึ่งในศาสนา สร้างขึ้นตรงจุดที่ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่เกิดของคุรุนานักเทพจี ศาสดาแห่งศาสนาซิกข์[2][3][4][5] ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเมืองนานกานาซาฮิบ ราว 65 กิโลเมตรจากเมืองลาฮอร์ ในแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน ชื่อเดิมของคุรุทวารานี้คือ ราอีโภอีกีตัลวัณฑี (Rāi Bhoi Kī Talvaṇḍī)[6]
ความสำคัญ
[แก้]คุรุทวาราจนัมอัสถานสร้างขึ้นตรงตำแหน่งที่เชื่อกันว่าคุรุนานักเกิดแก่บิดาของท่าน Mehta Kalu และมารดาของท่าน Mata Tripta[7]
ที่นี่เป็นหนึ่งในเก้าสถานที่แสวงบุญของชาวซิกข์ในนานกานาซาฮิบ[8] ชาวซิกข์นิยมเดินทาง (ยาตรี; yatri) มาที่นี่เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางแสวงบุญในปากีสถานของศาสนาซิกข์
ประวัติ
[แก้]เชื่อกันว่าคุรุทวาราหลังแรกสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16 โดยหลานของคุรุนานัก บาบาดารัมจันท์ (Baba Dharam Chand)[8] อาคารหลังปัจจุบันนั้นสร้างขึ้นโดยมหาราชารันจิต สิงห์ ในศตวรรษที่ 19[9]
การสังหารหมู่เมื่อปี 1921
[แก้]ชาวซิกข์ 86 รายถูกสังหารเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 1921 ในเหตุการณ์สังหารหมู่นานกานา[10] หลังการเผชิญหน้าระหว่างผู้สนับสนุนของผู้บริหารคุรุทวารา มหันต์นารายัณทาส (Mahant Narayan Das) กับสมาชิกของกลุ่มปฏิรูป ขบวนการอกาลี (Akali movement) ซึ่งกล่าวอ้างว่าเขามีการโกงกินและความไม่เหมาะสมเชิงเพศ
การรับรอง
[แก้]รัฐบาลปากีสถานได้ยกให้หมู่อาคารคุรุทวารานี้เป็นอนุสรณ์สถานมรดกที่ได้รับการปกป้อง (Protected Heritage Monuments) ของสำนักงานโบราณคดีแคว้นปัญจาบ (Archaeology Department of Punjab)[11]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ทางเข้า
-
ทางเข้าหลัก
-
สวน
-
มณฑป
-
สโรวาร (Sarovar)
-
อาร์เคตรอบสโรวาร
-
คุรุทวารา
-
หอคอยหนึ่ง
-
ภาพมุมสูง
ดูเพิ่ม
[แก้]- คุรุทวาราดาร์บาร์ซาฮิบ กรตารปุระ (Gurdwara Darbar Sahib Kartarpur) - คุรุทวาราที่สร้างขึ้นบนตำแหน่งที่เชื่อว่าคุรุนานักเสียชีวิต
- Saka - The Martyrs of Nankana Sahib
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Singh, Parvinder. "Pakistan Gurudwara, Nankana Sahib, Panja Sahib, Dera Sahib, pilgrimage of pakistan gurudwara, Lahore Gurudwara, gurunanak Janam Asthan, gurudwara hasan abdal". Sikhtourism, Sikh Tourism, Golden Temple, Amritsar Tour, Hemkund Sahib, Sikh Pilgrimage, Punjab Gurudwara Tours, Pakistan Gurudwara Tours, India Gurudwara Tours, Punjab Tours, India Tours. สืบค้นเมื่อ 20 April 2016.
- ↑ Report, Staff (13 April 2016). "2,000 Sikh pilgrims arrive in city to celebrate Besakhi". Pakistan Today. สืบค้นเมื่อ 20 April 2016.
- ↑ Iqbal, Amjad (22 November 2015). "Over 2,500 Indian Sikhs attend annual pilgrimage". DAWN.COM. สืบค้นเมื่อ 20 April 2016.
- ↑ "Sikhs split over sale of Gurdwara Janam Asthan". The Nation. 20 April 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 20 April 2016.
- ↑ "Sikh pilgrims protest as permission to rally turned down in Nankana Sahib - Pakistan". dunyanews.tv. 25 November 2015. สืบค้นเมื่อ 20 April 2016.
- ↑ Khalsa, Sukhmandir (1 January 2010). "Historical Gurdwaras of Nankana, Pakistan Commemorating Guru Nanak Dev". About.com Religion & Spirituality. สืบค้นเมื่อ 20 April 2016.
- ↑ Bakhshi, Surinder Singh (2009). Sikhs in the Diaspora. ISBN 9780956072801.
- ↑ 8.0 8.1 "Nankana's pride". The News. 5 March 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-08. สืบค้นเมื่อ 4 July 2017.
- ↑ "PAKISTAN NANKANA SAHIB".
- ↑ Giani Partap Singh, Gurdwara Arthaat Akali Lehir, 1975, p 104.
- ↑ Pakistan Environmental Protection Agency. "Guidelines for Critical & Sensitive Areas" (PDF). Government of Pakistan. pp. 12, 47, 48. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 October 2013. สืบค้นเมื่อ 6 June 2013.
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Gurdwara Janam Asthan, Nankana Sahib