ข้ามไปเนื้อหา

หซูรสาหิบ

พิกัด: 19°09′10″N 77°19′07″E / 19.15278°N 77.31861°E / 19.15278; 77.31861
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก หซูระสาหิบ)
หสูระสาหิบ
(ฮายูร ซาฮิบ)
หซูระสาหิบ
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมซิกข์
เมืองนันเทฑ,
รัฐมหาราษฏระ
ประเทศ อินเดีย
พิกัด19°09′10″N 77°19′07″E / 19.15278°N 77.31861°E / 19.15278; 77.31861
เริ่มสร้าง1832

หซูระสาหิบ, ฮายูร ซาฮิบ[1], ฮซูรซาฮิบ (ละติน: Hazur Sahib หรือ Hazoor Sahib; Hazūrī Sāhib; แปลว่า "ที่ดำรงอยู่ของสาหิบ"), หรือรู้จักในชื่อ ตาคัตหซูรีสาหิบสัจขันฑ์ (Takht Hazuri Sahib Sachkhand) และ ศรีอาบจัลนคร (Sri Abchal Nagar) เป็นหนึ่งในตาคัตที่สำคัญทั้งห้าของศาสนาซิกข์ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโคทาวรี ในเมืองนันเทฑ รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย ภายในหมู่อาคารของหสูระสาหิบประกอบคุรุทวาราที่ชื่อว่า สัจขัณฑ์ (Sach-Khand; อาณาจักรแห่งความจริง)[2]

หสูระสาหิบสร้างขึ้นตรงจุดที่คุรุโควินทสิงห์จี (Guru Gobind Singh Ji) ได้ละจากโลกนี้ไป ห้องด้านในส่วนคุรุทวาราเรียกว่า อันคิถาสาหิบ (Angitha Sahib) สร้างอยู่บนจุดที่ฌาปนกิจคุรุโควินทสิงห์ เมื่อปี 1708 โดยมหาราชารันจิต สิงห์เป็นผู้ดำริให้สร้างขึ้นในปี 1832-1837 ช่วงท้ายการครองราชย์ของพระองค์

ประวัติ

[แก้]
พิธีอารตีภายในฮาซูรซาฮิบ

จุดที่สร้างหสูระสาหิบนั้นเป็นจุดที่คุรุโควินทสิงห์ได้ตั้งค่ายในปี 1708 ซึ่งท่านได้บริหารและนำการชุมนุมของผู้คน ขณะที่ท่านกำลังพักฟื้นจากการโจมตีโดยผู้ที่อาจเป็นผู้ลอบฆ่าท่าน หนึ่งในผู้ประทุษร้ายแทงเข้าที่ท่านคุรุและได้ถูกสังหารด้วยตัลวาร์ (talwar) ของท่านคุรุ ส่วนอีกคนหนึ่งถูกสังหารโดยผู้ติดตามของท่านคุรุสองคนขณะพยายามหลบหนี แผลของท่านคุรุนั้นลึก แต่ก็ได้รับการเย็บรักษาโดยศัลยแพทย์ชาวอังกฤษแพทย์ประจำพระองค์ ที่บะหะดูร์ ชาห์ที่หนึ่ง (Bahadur Shah I) ส่งมาให้[3] อย่างไรก็ตาม แผลท่านได้เปิดออกอีกไม่กี่วันถัดมาหลังท่านคุรุพยายามที่จะยิงธนู และท่านก็ได้เสียชีวิตลงหลังประกาศให้คุรุกรันตสาหิบเป็นคุรุศาสดาองค์ถัดไป ซึ่งจะเป็นนิรันดร์กาล[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ชื่อทับศัพท์สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา กรุงเทพฯ
  2. "ऐतिहासिक दसरा पर्वाची गुरुद्वारात जय्यत तयारी" [Aitihāsika Dasarā Parvācī Gurudvārāta Jayyata Tayārī]. Sakal (ภาษามราฐี). Nanded. 27 September 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 23 May 2015.
  3. http://satguru.weebly.com/european-surgeon-who-attended-satguru-gobind-singh-in-1708.html
  4. G.S., Randhir (1990). Sikh shrines in India. New Delhi: The Director of Publication Division, Ministry of Information and Broadcasting, Government of India.