ข้ามไปเนื้อหา

กอลไจแอปพาราตัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Golgi apparatus)
ชีววิทยาเซลล์
เซลล์สัตว์
องค์ประกอบของเซลล์สัตว์โดยทั่วไป:
  1. นิวคลีโอลัส
  2. นิวเคลียส
  3. ไรโบโซม (จุดเล็ก ๆ)
  4. เวสิเคิล
  5. ร่างแหเอนโดพลาสมิกแบบขรุขระ
  6. กอลไจแอปพาราตัส (หรือ กอลไจบอดี)
  7. ไซโทสเกเลตัน
  8. ร่างแหเอนโดพลาสมิกแบบเรียบ
  9. ไมโทคอนเดรียน
  10. แวคิวโอล
  11. ไซโทซอล (ของเหลวที่บรรจุออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ที่รวมกันเป็นไซโทพลาสซึม)
  12. ไลโซโซม
  13. เซนโทรโซม
  14. เยื่อหุ้มเซลล์
ไมโครกราฟแสดงกอลไจแอปพาราตัส ซึ่งมองเห็นเป็นชั้นของวงครึ่งวงกลมสีดำใกล้กับด้านล่างของภาพ

กอลไจแอปพาราตัส[1] (อังกฤษ: Golgi apparatus; หรือทับศัพท์เป็น กอลจิแอพพาราตัส, กอลจิแอพพาราตัส) หรือ กอลไจคอมเพล็กซ์ (อังกฤษ: Golgi complex; หรือทับศัพท์เป็น กอลจิคอมเพล็กซ์), กอลไจบอดี (อังกฤษ: Golgi body; หรือทับศัพท์เป็นกอลจิบอดี) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า กอลไจ (อังกฤษ: Golgi; หรือทับศัพท์เป็น กอลจิ) ออร์แกเนลล์ที่พบในเซลล์ยูคารีโอตส่วนใหญ่[2] กอลไจนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบเอนโดเมมเบรน (endomembrane system) ในไซโทพลาสซึม มีหน้าที่ในการบรรจุโปรตีนเป็นเวซิเคิลมีเยื่อหุ้มภายในเซลล์ก่อนที่เวซิเคิลจะถูกส่งไปยังจุดหมายปลายทาง กอลไจมีความสำคัญเป็นพิเศษในการจัดการโปรตีนสำหรับการหลั่ง ภายในประกอบด้วยชุดของเอนไซม์สำหรับการไกลโคซีเลชั่น (glycosylation) ซึ่งจะเติมมอนอเมอร์น้ำตาลต่าง ๆ ไปติดบนโปรตีนต่างๆ ที่เคลื่อนที่ผ่านโครงสร้างของกอลไจ กอลไจมีการนิยามขึ้นครั้งแรกในปี 1897 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี กามีลโล กอลจี (Camillo Golgi) และได้รับการตั้งชื่อตามกอลจี (Golgi) ในปี 1898[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน อังกฤษ-ไทย [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕] จาก[1]
  2. Pavelk M, Mironov AA (2008). "Golgi apparatus inheritance". The Golgi Apparatus: State of the art 110 years after Camillo Golgi's discovery. Berlin: Springer. p. 580. doi:10.1007/978-3-211-76310-0_34. ISBN 978-3-211-76310-0.
  3. Fabene PF, Bentivoglio M (October 1998). "1898-1998: Camillo Golgi and "the Golgi": one hundred years of terminological clones". Brain Research Bulletin. 47 (3): 195–8. doi:10.1016/S0361-9230(98)00079-3. PMID 9865849.