ข้ามไปเนื้อหา

เซนโทรโซม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชีววิทยาเซลล์
องค์ประกอบของเซลล์สัตว์โดยทั่วไป:
  1. นิวคลีโอลัส
  2. นิวเคลียส
  3. ไรโบโซม (จุดเล็ก ๆ)
  4. เวสิเคิล
  5. ร่างแหเอนโดพลาสมิกแบบขรุขระ
  6. กอลไจแอปพาราตัส (หรือ กอลไจบอดี)
  7. ไซโทสเกเลตัน
  8. ร่างแหเอนโดพลาสมิกแบบเรียบ
  9. ไมโทคอนเดรียน
  10. แวคิวโอล
  11. ไซโทซอล (ของเหลวที่บรรจุออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ที่รวมกันเป็นไซโทพลาสซึม)
  12. ไลโซโซม
  13. เซนโทรโซม
  14. เยื่อหุ้มเซลล์
องค์ประกอบของเซนโทรโซมโดยทั่วหไป:
  1. เซนทริโอล
  2. เซนทริโอลแม่
  3. เซนทริโอลลูก
  4. ปลายด้านไกล
  5. ดิสทัลแอพเพนเดจ
  6. ซับดิสทัลแอพเพนเดจ
  7. ปลายด้านใกล้
  8. ไมโครทิวบูลที่เรียงกันชุดละสามท่อ
  9. เส้นใยเชื่อมระหว่างเซนทริโอล
  10. ไมโครทิวบูล
  11. เพอริเซนทริโอลาร์เมทีเรียล

ในทางชีววิทยาเซลล์ เซนโทรโซม (centrosome มาจากภาษาละติน centrum 'กลาง' + ภาษากรีก sōma 'ลำตัว') เป็นออร์แกเนลล์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการจัดการไมโครทิวบูล (microtubule organizing center; MTOC) ในเซลล์สัตว์ และเป็นตัวกำกับการดำเนินไปของวัฏจักรเซลล์ เชื่อกันว่าเซนโทรโซมนั้นมีวิวัฒนาการขึ้นมาภายใน metazoan lineage ของยูคารีโอตเท่านั้น[1] ฟังไจ และ พืช นั้นไม่ปรากฏเซนโทรโซม จึงใช้โครงสร้างอื่น ๆ นอกจากกลุ่ม MTOCs ในการจัดการกับไมโครทิวบูลของมัน[2][3] ถึงแม้เซนโทรโซมจะมีบทบาทสำคัญในกระบวนการไมโทซิสในเซลล์สัตว์ แต่มันกลับไม่จำเป็นในแมลงวันและหนอนตัวแบนบางสปีชี่ส์[4][5][6]

เซนโทรโซมประกอบด้วยเซนทรีโอลสองอันเรียงกันทำมุมตั้งฉากต่อกัน และล้อมรอบด้วยโปรตีน amorphous mass เรียกว่า pericentriolar material (PCM) ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นโปรตีนที่จำเป็นต่อการนิวคลีเอชั่นของไมโครทิวบิลและการยีดติด[7] ซึ่งรวมถึง γ-ทูบิวลิน, เพริเซนทริน และ ไนเนอิน โดยทั่วไปแล้วเซนทรีโอลแต่ละอันของเซนโทรโซมนั้นมีโครงสร้างเป็นไมโครทิวบูลคู่สามจำนวนเก้าอัน (nine triplet microtubule) ประกอบกันเป็นโครงสร้างแบบคาร์ทวีล (cartwheel structure) และมีองค์ประกอบของ เซนทริน, เซเนซิน และ เทคทิน[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Bornens, M.; Azimzadeh, J. (2008). "Origin and Evolution of the Centrosome". Eukaryotic Membranes and Cytoskeleton. Advances in Experimental Medicine and Biology. Vol. 607. pp. 119–129. doi:10.1007/978-0-387-74021-8_10. ISBN 978-0-387-74020-1. PMID 17977464.
  2. Schmit (2002). Acentrosomal microtubule nucleation in higher plants. International Review of Cytology. Vol. 220. pp. 257–289. doi:10.1016/S0074-7696(02)20008-X. ISBN 9780123646248. PMID 12224551.
  3. Jaspersen, S. L.; Winey, M. (2004). "THE BUDDING YEAST SPINDLE POLE BODY: Structure, Duplication, and Function". Annual Review of Cell and Developmental Biology. 20 (1): 1–28. doi:10.1146/annurev.cellbio.20.022003.114106. PMID 15473833.
  4. Mahoney, N. M.; Goshima, G.; Douglass, A. D.; Vale, R. D. (2006). "Making Microtubules and Mitotic Spindles in Cells without Functional Centrosomes". Current Biology. 16 (6): 564–569. doi:10.1016/j.cub.2006.01.053. PMID 16546079.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ azimzadehscience2012
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ stowerspr2012
  7. Eddé, B.; Rossier; Le Caer; Desbruyères; Gros; Denoulet (1990). "Posttranslational glutamylation of alpha-tubulin". Science. 247 (4938): 83–85. Bibcode:1990Sci...247...83E. doi:10.1126/science.1967194. PMID 1967194.
  8. Rieder, C. L.; Faruki, S.; Khodjakov, A. (Oct 2001). "The centrosome in vertebrates: more than a microtubule-organizing center". Trends in Cell Biology. 11 (10): 413–419. doi:10.1016/S0962-8924(01)02085-2. ISSN 0962-8924. PMID 11567874.