ข้ามไปเนื้อหา

ไกลออกซิโซม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไกลออกซิโซม (อังกฤษ: glyoxysome) เป็นเพอรอกซิโซมชนิดพิเศษที่พบในพืช โดยเฉพาะในเนื้อเยื่อเก็บสะสมไขมันของเมล็ดพืชที่กำลังงอก และในเชื้อราเส้นใย เมล็ดพืชที่เก็บสะสมไขมันและน้ำมันมีหลายชนิด อาทิ เมล็ดข้าวโพด เมล็ดถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน เมล็ดถั่วลิสง และเมล็ดฟักทอง[1] เอนไซม์เบตาออกซิเดชันของเพอรอกซิโซมทำหน้าที่เป็นตัวออกซิไดส์กรดไขมันในไกลออกซิโซมให้กลายเป็นอะซิติลโคเอนไซม์ เอ เช่นเดียวกับในเพอรอกซิโซม กระบวนการออกซิไดส์กรดไขมันสร้างไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (H2O2) พร้อมกับใช้ออกซิเจน (O2)[1] ด้วยเหตุนี้เมล็ดพืชจึงต้องอาศัยออกซิเจนในการงอก นอกจากทำหน้าที่อย่างเพอรอกซิโซมแล้ว ไกลออกซิโซมยังมีเอนไซม์สำคัญของวัฏจักรไกลออกซีเลต ได้แก่ ไอโซซิเตรตไลเอส และมาเลตซินเทส ที่ช่วยลัดวัฏจักรไกลออกซีเลต[2]

ด้วยประการนี้ ไกลออกซิโซมจึงบรรจุเอมไซม์ที่เริ่มต้นการสลายกรดไขมันเช่นเดียวกับเพอรอกซิโซม และยังมีเอนไซม์เพิ่มเติมสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์มัธยันต์สำหรับการสังเคราะห์น้ำตาลด้วยกระบวนการกลูโคนีโอเจเนซิส ต้นอ่อนจะใช้น้ำตาลที่สังเคราห์จากไขมันนี้ไปจนกว่าจะเจริญเติบโตสมบูรณ์เพียงพอที่จะผลิตน้ำตาลได้เองจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

เพอรอกซิโซมของพืชยังมีส่วนในกระบวนการหายใจแสงและเมแทบอลิซึมของในโตรเจนในปมรากอีกด้วย


อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Graham IA (2008-01-01). "Seed storage oil mobilization". Annual Review of Plant Biology. 59 (1): 115–42. doi:10.1146/annurev.arplant.59.032607.092938. PMID 18444898.
  2. "Glyoxysomes: Glyoxtylate cycle and conversion of sugar". Micro B Life (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 28 กันยายน 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2020. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]