ข้ามไปเนื้อหา

นอร์ธรอป เอฟ-5

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก F-5)
F-5A/B Freedom Fighter
F-5E/F Tiger II
เครื่องบินรบ F-5 ของกองทัพอากาศสวิสต์เซอร์แลนด์
หน้าที่ เครื่องบินขับไล่หลากบทบาท
ประเทศผู้ผลิต สหรัฐ
ผู้ผลิต Northrop Corporation
เที่ยวบินแรก F-5A: 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2502
F-5E: 11 สิงหาคม พ.ศ. 2515
เริ่มใช้ พ.ศ.2505
สถานะ ประจำการ
ผู้ใช้หลัก กองทัพเรือสหรัฐ
กองทัพอากาศสาธารณรัฐจีน
กองทัพอากาศสาธารณรัฐเกาหลี
กองทัพอากาศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
การผลิต พ.ศ.2502–พ.ศ.2530
จำนวนที่ถูกผลิต A/B/C: 847[1]
E/F: 1,399[2]
ค่าใช้จ่ายต่อลำ
F-5E: US$2.1 million[3]
พัฒนาจาก นอร์ธรอป ที-38 ทาลอน
รุ่น Canadair CF-5
Shaped Sonic Boom Demonstration
พัฒนาเป็น Northrop F-20 Tigershark
HESA Azarakhsh
HESA Saeqeh
HESA Kowsar

เอฟ-5เอ/บี ฟรีดอมไฟเตอร์ (F-5 Freedom Fighter) และ เอฟ-5อี/เอฟ ไทเกอร์ ทู เป็นเครื่องบินขับไล่ของสหรัฐอเมริกา เริ่มออกแบบเมื่อปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) โดยบริษัทนอร์ทธรอป กรัมแมน

ประวัติ

[แก้]

F-5 ถือกำเนิดจากโครงการของบริษัทนอร์ทธรอปที่ทำวิจัยและพัฒนาเครื่องบินขับไล่ที่มีขนาดเล็กแต่มีประสิทธิภาพสูงภายใต้โครงการ N-156F แม้ว่ากองทัพอากาศสหรัฐจะไม่ได้ให้ความสนใจในเครื่องบินขับไล่ขนาดเล็ก แต่เจ้าหน้าที่ในโครงการช่วยเหลือทางทหารของประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี เห็นถึงศักยภาพที่เครื่องบินในโครงการ N-156F ที่จะสามารถเปิดโอกาสให้ประเทศกำลังพัฒนาที่พันธมิตรของสหรัฐได้จัดหาเครื่องบินขับไล่ประสิทธิภาพสูงที่มีราคาไม่แพง รัฐบาลสหรัฐจึงได้เลือกเครื่องบินในโครงการ N-156F มาพัฒนาจนกลายเป็น F-5A Freedom Fighter ซึ่งถือเป็น F-5 รุ่นแรกของโลก และส่งมอบหรือขายให้กับพันธมิตรชาติต่าง ๆ ทั่วโลก

ต่อมาในช่วงปี 1970 บริษัทนอร์ทธรอปได้รับชัยชนะในโครงการเครื่องบินขับไล่นานาชาติรุ่นปรับปรุง (Improved International Fighter Aircraft) เพื่อทดแทน F-5A โดยกองทัพอากาศสหรัฐกำหนดชื่อรุ่นเป็น F-5E Tiger II สำหรับรุ่นที่นั่งเดี่ยว และ F-5F Tiger II สำหรับรุ่นสองที่นั่ง โดยมีการปรับปรุงที่สำคัญคือ เพิ่มอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคทางการบินที่ทันสมัย ติดตั้งเรด้าร์แบบ AN/APQ-153 ซึ่งมีระยะตรวจจับราว 25 กิโลเมตร (ในรุ่น A และ B ไม่ได้รับการติดตั้งเรด้าร์) ส่วน F-5F ก็ได้รับการติดตั้งปืนกลแบบ M39 ภายในลำตัว (ในรุ่น B ไม่ได้รับการติดตั้งปืนกล) นอกจากนั้นยังได้พัฒนา RF-5E ที่ติดกล้องถ่ายภาพเพื่อใช้ในภารกิจตรวจการณ์อีกด้วย

F-5 ถือเป็นหนึ่งในเครื่องบินขับไล่ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของประเทศค่ายประชาธิปไตย โดยมีผู้ใช้งานเกือบ 20 ประเทศ และมียอดการผลิตสูงกว่า 2 พันลำ ในปัจจุบันยังมีกองทัพอากาศหลายชาติที่ยังประจำการด้วย F-5 อยู่ หลายชาติเลือกที่จะทำการปรับปรุงเครื่องบินของตนที่ยังบินได้เพื่อที่จะยืดอายุการใช้งานออกไปให้นานที่สุด เช่นกองทัพอากาศบราซิลและกองทัพอากาศชิลีได้ว่าจ้างบริษัทอิลบิทของอิสราเอลให้ทำการปรับปรุง F-5E/F ของตนเป็น F-5EM และ F-5E/F Tiger III ตามลำดับ ซึ่งมีความสามารถในการติดตั้งจรวดนำวิถีจากอิสราเอลทั้งดาร์บี้และไพธอน-4 กองทัพอากาศสิงคโปร์ก็ได้ปรับปรุง F-5E/F ของตนโดยเปลี่ยนเรด้าร์ ระบบอิเล็กทรอนิคต่าง ๆ และเพิ่มความแข็งแรงให้กับปีก โดยกำหนดชื่อเป็น F-5S/T ซึ่งมีความสามารถในการใช้จรวดแบบ ไพธอน-4 และ AIM-120 แอมแรม ได้ สำหรับกองทัพอากาศไทยได้ดำเนินการว่าจ้างบริษัทอิลบิทให้ทำการปรับปรุง F-5E/F ในฝูงบิน 211 อุบล ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถติดตั้งจรวดไพธอน-4ได้ โดยกองทัพอากาศไทยกำหนดชื่อเรียกว่า F-5T Tigris

รุ่นของเอฟ-5

[แก้]
  • F-5A Freedom Fighter

เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยว

  • F-5B Freedom Fighter

เครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง

  • F-5C Skoshi Tiger

เป็นรุ่นที่ได้รับการปรับปรุงในบางจุด เช่น การติดตั้งท่อรับการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ

  • F-5D

เครื่องบินขับไล่รุ่นสองที่นั่งซึ่งไม่ได้รับการผลิตจริง

  • F-5E Tiger II

เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยวรุ่นปรับปรุง

  • F-5F Tiger II

เครื่องบินขับไล่ที่สองที่นั่งรุ่นปรับปรุง

  • F-5G

เปลี่ยนเครื่องยนต์จากสองเครื่องยนต์เป็นเครื่องยนต์เดียว ต่อมาคือเอฟ-20

  • F-5N

รุ่นฝึกของกองทัพเรือสหรัฐ

  • F-5S

เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียวที่ได้รับการปรับปรุงโดยกองทัพอากาศสิงคโปร์

  • F-5T

เครื่องบินขับไล่สองที่นั่งได้รับการปรับปรุงโดยกองทัพอากาศสิงคโปร์

  • F-5T Tigris

เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียวและสองที่นั่งที่ได้รับการปรับปรุงโดยกองทัพอากาศไทย

  • F-5EM

เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียวที่ได้รับการปรับปรุงโดยกองทัพอากาศบราซิล

  • F-5FM

เครื่องบินขับไล่สองที่นั่งที่ได้รับการปรับปรุงโดยกองทัพอากาศบราซิล

  • F-5E Tiger III

เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียวที่ได้รับการปรับปรุงโดยกองทัพอากาศชิลี

  • F-5F Tiger III

เครื่องบินขับไล่สองที่นั่งที่ได้รับการปรับปรุงโดยกองทัพอากาศชิลี

  • RF-5A

เครื่องบินขับไล่ลาดตระเวนถ่ายภาพ

  • RF-5E Tigereye

เครื่องบินขับไล่ลาดตระเวนถ่ายภาพ

  • CF-5
  • F-5TH Super Tigris

เครื่องบินขับไล่ที่ดัดแปลงโดยไทยให้อยู่ในยุค 4.5 เทียบเท่า JAS 39 Gripen

ประเทศที่มี F-5 ประจำการ

[แก้]
ประเทศผู้ใช้งานเอฟ-5 (อดีตผู้ใช้งานแสดงในสีแดง)
F-5B Tigres ของกองทัพอากาศไทย
ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย
เช่าจากสวิสเซอร์แลนด์เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรอรับเครื่องบินขับไล่ไต้ฝุ่น
ธงของประเทศบาห์เรน บาห์เรน
ธงของประเทศบอตสวานา บอตสวานา
ธงของประเทศบราซิล บราซิล
ธงของประเทศชิลี ชิลี
ธงของประเทศเอธิโอเปีย เอธิโอเปีย
ธงของประเทศกรีซ กรีซ
ธงของประเทศฮอนดูรัส ฮอนดูรัส
ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
ธงของประเทศอิหร่าน อิหร่าน
ธงของประเทศจอร์แดน จอร์แดน
ธงของประเทศเคนยา เคนยา
ธงของประเทศลิเบีย ลิเบีย
ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย
กำลังปลดประจำการ
ธงของประเทศเม็กซิโก เม็กซิโก
ธงของประเทศโมร็อกโก โมร็อกโก
ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์
ธงของประเทศนอร์เวย์ นอร์เวย์
ธงของประเทศปากีสถาน ปากีสถาน
ยืมมาจากประเทศอื่นชั่วคราวในระหว่างสงครามกับอินเดีย
ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้
ธงของประเทศซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย
 สิงคโปร์
ธงของประเทศสเปน สเปน
ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์
 ไทย
ธงของประเทศตูนิเซีย ตูนิเซีย
ธงของประเทศตุรกี ตุรกี
 สหรัฐอเมริกา
ธงของประเทศเวเนซุเอลา เวเนซุเอลา
 เวียดนามใต้
ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม
ธงของประเทศเยเมน เยเมน

เหตุการณ์ในประเทศไทย

[แก้]

พ.ศ. 2512 กองทัพอากาศไทยได้รับเอฟ-5 เอจากกองทัพสหรัฐอเมริกาจำนวน 5 เครื่องและเมื่อสหรัฐอเมริกาถอนตัวจากสงครามเวียดนามจนกระทั่งกรุงไซง่อนถูกยึดครองโดยกองทัพเวียดนามเหนือ(NVA) นักบินเวียดนามใต้ได้นำเอฟ-5 อีจำนวน 3 เครื่องบินหนีจากสนามบิน ตัน ซอน นุทเวียดนามมาลงที่สนามบินอู่ตะเภา ซึ่งเอฟ-5 อีทั้ง 3 เครื่องนี้สหรัฐอเมริกาได้นำกลับไปด้วย

พ.ศ. 2519 กองทัพอากาศไทยขออนุมัติรัฐบาล จัดซื้อเครื่องบินขับไล่เอฟ-5 อีและเอฟ-5 เอฟจากสหรัฐอเมริกาจำนวน 12 เครื่องและได้รับเครื่องบินเข้าประจำการครบฝูงในปี พ.ศ. 2521 โดยใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ข (บ.ข.๑๘ ข) หลังจากนั้นก็ได้มีการจัดซื้อเพิ่มเติมเรื่อย ๆ จนถึงในปัจจุบันกองทัพอากาศไทยมีเอฟ-5 มากกว่า 60 เครื่อง

เอฟ-5 ที่ประจำการในประเทศไทย

[แก้]
  • F-5A ใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ (บ.ข.๑๘)
  • F-5B ใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ก (บ.ข.๑๘ ก)
  • F-5E ใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ข (บ.ข.๑๘ ข)
  • F-5F ใช้ชื่อเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ค (บ.ข.๑๘ ค)
  • RF-5A ใช้ชื่อเครื่องบินตรวจการณ์ขับไล่แบบที่ ๑๘ (บ.ตข.๑๘)
  • F-5TH (เครื่องบินขับไล่ที่ปรับปรุงโดยทัพอากาศไทย)

รายละเอียด เอฟ-5

[แก้]
  • ผู้สร้าง บริษัท นอร์ธรอป แอร์คราฟท์ (สหรัฐอเมริกา)
  • ประเภท เจ๊ตขับไล่ยุทธวิธีที่นั่งเดียว
  • เครื่องยนต์ เทอร์โบเจ๊ต เจเนอรัล อีเล็กตริค เจ 85-ยีอี-21 ให้แรงขับเครื่องละ 1,588 กิโลกรัม และ 2,268 กิโลกรัม เมื่อสันดาปท้าย 2 เครื่อง
  • กางปีก 8.13 เมตร
  • ยาว 14.68 เมตร
  • สูง 4.06 เมตร
  • พื้นที่ปีก 17.29 เมตร
  • น้ำหนักเปล่า 4,346 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 11,192 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วสูงสุด ไม่เกิน 1,314 กิโลเมตร/ชั่วโมง เมื่อมีน้ำหนักปฏิบัติการรบ 6,010 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วขั้นสูง 1.63 มัค ที่ระยะสูง 10,975 เมตร เมื่อเครื่องบินหนัก 10,975 กิโลกรัม
  • เพดานบินใช้งาน 15,800 เมตร
  • รัศมีทำการรบ 917 กิโลเมตร
  • พิสัยบิน 2,943 กิโลเมตร เมื่อติดตั้งถังเชื้อเพลิงชนิดปลดทิ้งได้
  • อาวุธ ปืนใหญ่อากาศขนาด 20 มม. M-39 A2/A3 ติดตั้งที่ลำตัวส่วนหัว 2 กระบอกพร้อมกระสุนกระบอกละ 280 นัด
    • อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ เอไอเอ็ม-9 เจ ไซด์ไวน์เดอร์ ติดตั้งที่ปลายปีก ข้างละ 1 แห่ง
    • ลูกระเบิดสังหาร ลูกระเบิดทำลาย ลูกระเบิดเนปาล์ม ลูกระเบิดพวง
    • จรวดขนาด 2.95 นิ้ว
    • สามารถติดตั้งอาวุธที่ใต้ปีกได้ข้างละ 2 แห่ง และ ใต้ลำตัว 1 แห่ง รวมเป็นน้ำหนักสูงสุด 3,175 กิโลกรัม[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ nat_museum_F-5
  2. Johnsen 2006, p. 90.
  3. Knaack 1978, p. 290.
  4. อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522