ข้ามไปเนื้อหา

โทษประหารชีวิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Capital punishment)
  ประเทศที่เลิกใช้โทษประหารชีวิต: 110 ประเทศ
  ประเทศที่เลิกใช้โทษประหารชีวิตยกเว้นอาชญากรรมในสถานการณ์พิเศษ (เช่นอาชญากรรมในช่วงเวลาของสงคราม): 7 ประเทศ
  ประเทศที่เลิกใช้โทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ (กฎหมายยังมีการระบุโทษสูงสุดคือประหารชีวิต แต่ไม่มีการบังคับใช้โทษประหารชีวิตมาเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี และถูกเชื่อว่ามีนโยบายหรือแนวทางปฏิบัติที่จะไม่ใช้โทษประหารชีวิต): 25 ประเทศ
  ประเทศที่ยังใช้โทษประหารชีวิตอยู่: 53 ประเทศ

โทษประหารชีวิต (อังกฤษ: death penalty) หรือ อุกฤษฏ์โทษ (capital punishment) เป็นกระบวนการทางกฎหมายซึ่งรัฐลงโทษอาชญากรรมของบุคคลด้วยการทำให้ตาย คำสั่งของศาลที่ให้ลงโทษบุคคลในลักษณะนี้ เรียก การลงโทษประหารชีวิต ขณะที่การบังคับใช้โทษนี้ เรียก การประหารชีวิต อาชญากรรมที่มีโทษประหารชีวิต เรียก "ความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ" คำว่า capital มาจากคำภาษาละตินว่า capitalis ความหมายตามตัวอักษร คือ "เกี่ยวกับหัว" (หมายถึงการประหารชีวิตโดยการตัดหัว) [1]

สังคมอดีตส่วนมากนั้นมีโทษประหารชีวิตโดยเป็นการลงโทษอาชญากร และผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมืองหรือศาสนา ในประวัติศาสตร์ การลงโทษประหารชีวิตมักสัมพันธ์กับการทรมาน และมักประหารชีวิตในที่สาธารณะ[2]

ปัจจุบันมีประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิต 53 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับอาชญากรรมทุกรูปแบบโดยนิตินัย 110 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตเฉพาะอาชญากรรมปรกติ 7 ประเทศ (โดยคงไว้สำหรับพฤติการณ์พิเศษ เช่น อาชญากรรมสงคราม) และประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยพฤตินัย (คือ ไม่ได้ใช้โทษประหารชีวิตอย่างน้อยสิบปี และอยู่ระหว่างงดใช้โทษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง)[3] องค์การนิรโทษกรรมสากลมองว่าประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้ยกเลิก (abolitionist) โดยองค์การฯ พิจารณาว่า 140 ประเทศเป็นผู้ยกเลิกในทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติ[3] การประหารชีวิตเกือบ 90% ทั่วโลกเกิดในทวีปเอเชีย[4]

แทบทุกประเทศในโลกห้ามการประหารชีวิตบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปีขณะก่อเหตุ นับแต่ปี 2552 มีเพียงประเทศอิหร่าน ซาอุดิอาระเบียและซูดานที่ยังประหารชีวิตลักษณะนี้ กฎหมายระหว่างประเทศห้ามการประหารชีวิตประเภทนี้[5]

โทษประหารชีวิตกำลังเป็นประเด็นการถกเถียงอยู่ในหลายประเทศ และจุดยืนอาจมีได้หลากหลายในอุดมการณ์ทางการเมืองหรือภูมิภาคทางวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ ในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป ข้อ 2 แห่งกฎบัตรสิทธิมูลฐานแห่งสหภาพยุโรปห้ามการใช้โทษประหารชีวิต สภายุโรปซึ่งมีรัฐสมาชิก 47 ประเทศ ยังห้ามสมาชิกใช้โทษประหารชีวิต

สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงมติรับข้อมติไม่ผูกพันในปี 2550, 2551 และ 2553 เรียกร้องให้มีการผ่อนเวลาการประหารชีวิตทั่วโลก ซึ่งมุ่งให้ยกเลิกในที่สุด[6] แม้หลายชาติยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว แต่ประชากรโลกกว่า 60% อาศัยอยู่ในประเทศซึ่งเกิดการประหารชีวิต เช่น สี่ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก คือ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย ซึ่งยังใช้บังคับโทษประหารชีวิต ทั้งสี่ประเทศออกเสียงคัดค้านข้อมติสมัชชาใหญ่ดังกล่าว

ประวัติ

[แก้]
วิธีการประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะโดยใช้ดาบของประเทศญี่ปุ่นสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ในภาพ เป็นการประหารชีวิตผู้ที่สังหารกงสุลอังกฤษประจำประเทศญี่ปุ่นที่เมืองโยโกฮามา)
ผู้นิยมอนาธิปไตย ออกุสต์ แวลองต์ (Auguste Vaillant) ถูกประหารชีวิตด้วยเครื่องกิโยติน ในประเทศฝรั่งเศสในปี 1894

การดำเนินการเกี่ยวกับอาชญากรรมและศัตรูทางการเมืองได้ถูกนำมาใช้โดยในเกือบทุกสังคมทั้งกับการลงโทษความผิดทางอาญาและความขัดแย้งทางการเมือง ในบรรดาประเทศส่วนใหญ่ที่โทษประหารในทางปฏิบัติได้ถูกสงวนไว้สำหรับคดีการฆาตกรรม (การฆ่าคน), การจารกรรม, การก่อกบฏ หรือเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงยุติธรรม ในบางประเทศอาชญากรรมทางเพศเช่น การข่มขืนกระทำชำเรา, คบชู้, การร่วมประเวณีกับญาติสนิทและการสังวาสที่ผิดธรรมชาติ ถูกดำเนินการประหารชีวิตเช่นเดียวกับการก่ออาชญากรรมทางศาสนาเช่น การละทิ้งศาสนาในประเทศอิสลาม (สละอย่างเป็นทางการในศาสนาประจำชาติ) ในหลายประเทศที่มีการใช้โทษประหารชีวิตนั้น, การค้ายาเสพติดยังคงเป็นความผิดทางกฎหมาย ในประเทศจีน การค้ามนุษย์และกรณีที่ร้ายแรงของการทุจริตทางการเมืองจะต้องถูกลงโทษโดยการประหารชีวิต ในกองทัพทั่วโลก ศาลทหารได้กำหนดโทษประหารสำหรับความผิดเช่น ขี้ขลาด, ละทิ้งหน้าที่, ไม่เชื่อฟัง และกบฏ [7]

การใช้การประหารชีวิตอย่างเป็นทางการได้แพร่ขยายไปสู่จุดเริ่มต้นของบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ บันทึกทางประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่และวิธีการปฏิบัติต่างๆ ของชนเผ่าโบราณระบุว่าโทษประหารชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของระบบยุติธรรมของพวกเขา การลงโทษสำหรับการกระทำผิดกฎหมายของประชาชนโดยทั่วไปรวมถึงการจ่ายค่าชดเชยโดยผู้กระทำความผิด, การลงโทษทางกาย, การต่อต้าน, การเนรเทศและการประหารชีวิต โดยปกติ, ค่าชดเชยและการหลบหนีก็เพียงพอแล้วต่อรูปแบบของความยุติธรรมที่มีอยู่ [8] การตอบสนองกับอาชญากรรมที่กระทำโดยชนเผ่าที่อยู่ใกล้เคียงหรือชุมชนนั้นรวมไปถึงการขอโทษอย่างเป็นทางการ เบี้ยทำขวัญ หรือ ความอาฆาตกันทั้งตระกูล (blood feud)

ความอาฆาตกันทั้งตระกูลหรือความพยาบาทอันยาวนาน (blood feud, vendetta) เกิดขึ้นเมื่อการอนุญาโตตุลาการระหว่างครอบครัวหรือชนเผ่าล้มเหลวหรือระบบอนุญาโตตุลาการเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง รูปแบบของความยุติธรรมนี้เป็นเรื่องปกติธรรมดาก่อนที่จะมีการเกิดขึ้นของระบบอนุญาโตตุลาการที่ขึ้นอยู่กับรัฐหรือการจัดระเบียบทางศาสนา มันอาจจะเป็นผลมาจากความผิดทางอาญา, ข้อพิพาทดินแดน หรือหลักปฏิบัติคุณธรรม (code of honour) "การกระทำแห่งการตอบโต้นั้นได้เน้นย้ำขีดความสามารถของกลุ่มทางสังคมเพื่อให้เกิดการปกป้องต่อตัวเองและแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ต่อศัตรู (เช่นเดียวกับชาติพันธมิตรที่มีศักยภาพ) ซึ่งการล่วงละเมิดที่จะมีต่อทรัพย์สิน, ต่อสิทธิ, หรือต่อบุคคล ในอันที่จะกระทำไปโดยที่ไม่มีใครขัดขวางนั้น จะมิอาจเกิดมีขึ้นได้โดยง่าย" [9]

ขบวนการสู่การประหารชีวิต "อย่างมีมนุษยธรรม"

[แก้]
เตียงเคลื่อนที่ในคุกรัฐซานเควนติน (San Quentin State Prison) ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีนักโทษที่ถูกกักขังไว้อยู่ในระหว่างการดำเนินการประหารชีวิตโดยการฉีดยาตาย (lethal injection)

มีแนวโน้มส่วนใหญ่ของโลกที่ได้มีปฏิบัติกันมานานแล้วสำหรับในการที่จะทำให้การประหารชีวิตนั้น ได้ใช้วิธีการในการที่จะทำให้ได้รับความเจ็บปวดน้อยลงหรือมีความเป็นมนุษยธรรมมากขึ้นต่อการประหารชีวิต


การใช้ร่วมสมัย

[แก้]

โทษประหารชีวิตสำหรับผู้ที่กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชน (อาชญากรอายุต่ำกว่า 18 ปี ในความผิดทางอาญา) ได้กลายเป็นที่พบเห็นได้ยากมากขึ้นเรื่อย ๆ

การโต้เถียงและการอภิปราย

[แก้]

ผู้สนับสนุนโทษประหารชีวิตแย้งว่ามันป้องกันอาชญากรรม เป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับตำรวจและอัยการ (ตัวอย่างเช่น ในการต่อรองคำรับสารภาพ)[10] รับประกันว่าอาชญากรผู้ต้องโทษจะไม่กระทำความผิดอีก และเป็นโทษยุติธรรมแล้วสำหรับอาชญากรรมเหี้ยมโหดอย่างฆาตกรเด็ก ฆาตกรต่อเนื่องและฆาตกรทรมาน ผู้คัดค้านโทษประหารชีวิตแย้งว่า มิใช่ทุกคนที่ได้รับผลจากการฆ่าคนปรารถนาโทษประหารชีวิต การประหารชีวิตแบ่งแยกต่อผู้เยาว์และคนจน และมันส่งเสริม "วัฒนธรรมความรุนแรง" และมันละเมิดสิทธิมนุษยชน[11]

การประหารชีวิตผิด ๆ

[แก้]

มักแย้งว่า โทษประหารชีวิตนำไปสู่การปฏิบัติโดยมิชอบของความยุติธรรมผ่านการประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์อย่างผิด ๆ[12] หลายคนได้รับประกาศเป็นเหยื่อบริสุทธิ์ของโทษประหารชีวิต[13][14]

นอกจากนี้ วิธีดำเนินการไม่เหมาะสมยังให้เกิดการประหารชีวิตไม่ยุติธรรม ตัวอย่างเช่น นิรโทษกรรมสากลแย้งว่าในประเทศสิงคโปร์ "รัฐบัญญัติการใช้ยาในทางที่ผิด (Misuse of Drugs Act) มีชุดข้อสันนิษฐานซึ่งผลักภาระการพิสูจน์ของการฟ้องคดีให้ผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งขัดต่อสิทธิซึ่งได้รับรองสากลให้สันนิษฐานว่าบริสุทธิ์ก่อนพิสูจน์ว่ามีความผิด"[15] หมายถึงในสถานการณ์ที่มีผู้ถูกจับได้พร้อมกับยา ในแทบทุกเขตอำนาจ การฟ้องคดีอาญามีคดีมีมูล

การตอบแทน

[แก้]

ผู้สนับสนุนโทษประหารชีวิตแย้งว่า โทษประหารชีวิตชอบทางศีลธรรมเมื่อใช้ในการฆ่าคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีส่วนเพิ่มความร้ายแรง เช่น การฆ่าหลายคน การฆ่าเด็ก การฆ่าตำรวจ การฆ่าทรมานและการสังหารคนจำนวนมากอย่างการก่อการร้าย การสังหารหมู่หรือพันธุฆาต บ้างถึงกับแย้งว่า หากไม่ใช่โทษประหารชีวิตในกรณีหลังไม่ยุติธรรมอย่างชัดเจนทีเดียว ศาสตราจารย์ รอเบิร์ต เบลกเคอร์ แห่งโรงเรียนกฎหมายนิวยอร์ก ป้องกันการให้เหตุผลนี้อย่างแข็งขันโดยว่า การลงโทษต้องเจ็บปวดได้สัดส่วนกับอาชญากรรม

ผู้ให้ยกเลิกแย้งว่า การตอบแทนเป็นเพียงการแก้แค้นและให้อภัยไม่ได้ ผู้อื่นที่ยอมรับว่าการตอบแทนเป็นส่วนหนึ่งของความยุติธรรมทางอาญากระนั้นแย้งว่าการจำคุกตลอดชีวิตก็ทดแทนเพียงพอแล้ว นอกจากนี้ ยังแย้งว่า การลงโทษการฆ่าด้วยการฆ่าอีกนั้นเป็นการลงโทษซึ่งค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์สำหรับการกระทำรุนแรง เพราะโดยทั่วไป อาชญากรรมรุนแรงมิได้ลงโทษโดยให้ผู้ก่อการได้รับกรรมเดียวกัน (เช่น ผู้ข่มขืนไม่ได้ถูกลงโทษโดยการถูกข่มขืน)[16]

ลำดับเหตุการณ์ยกเลิก

[แก้]
ปีที่ยกเลิก ประเทศ ประเทศตามปี จำนวน
1863  เวเนซุเอลา 1 1
1865  ซานมารีโน 1 2
1877  คอสตาริกา 1 3
1903  ปานามา 1 4
1906  เอกวาดอร์ 1 5
1907  อุรุกวัย 1 6
1910  โคลอมเบีย 1 7
1928  ไอซ์แลนด์ 1 8
1949  เยอรมนี 1 9
1956  ฮอนดูรัส 1 10
1962  โมนาโก 1 11
1966  สาธารณรัฐโดมินิกัน 1 12
1968  ออสเตรีย 1 13
1969  นครรัฐวาติกัน 1 14
1972  ฟินแลนด์ 1 15
1973  สวีเดน 1 16
1976  โปรตุเกส 1 17
1978  เดนมาร์ก  หมู่เกาะโซโลมอน  ตูวาลู 3 20
1979  คิริบาส  ลักเซมเบิร์ก  นิการากัว  นอร์เวย์ 4 24
1980  วานูวาตู 1 25
1981  กาบูเวร์ดี  ฝรั่งเศส 2 27
1982  เนเธอร์แลนด์ 1 28
1985  ออสเตรเลีย 1 29
1986  หมู่เกาะมาร์แชลล์  ไมโครนีเชีย 2 31
1988  เฮติ 1 32
1989  กัมพูชา  ลีชเทินชไตน์  นิวซีแลนด์ 3 35
1990  อันดอร์รา ( เช็กเกีย  สโลวาเกีย as Czechoslovakia)  ฮังการี  ไอร์แลนด์  โมซัมบิก  นามิเบีย  โรมาเนีย  เซาตูแมอีปริงซีป 9 44
1991  โครเอเชีย  มาซิโดเนียเหนือ  สโลวีเนีย 3 47
1992  แองโกลา  ปารากวัย  สวิตเซอร์แลนด์ 3 50
1993  กินี-บิสเซา  เซเชลส์ 2 52
1994  อิตาลี  ปาเลา 2 54
1995  จิบูตี  มอริเชียส ( มอนเตเนโกร  เซอร์เบีย as Yugoslavia)  แอฟริกาใต้  สเปน 6 60
1996  เบลเยียม 1 61
1997  เนปาล 1 62
1998  อาร์มีเนีย  อาเซอร์ไบจาน  บัลแกเรีย  เอสโตเนีย  ลิทัวเนีย  โปแลนด์ 6 68
1999  แคนาดา  เติร์กเมนิสถาน 2 70
2000  โกตดิวัวร์  มอลตา  ยูเครน 3 73
2002  ไซปรัส  ติมอร์-เลสเต  สหราชอาณาจักร 3 76
2004  ภูฏาน  กรีซ  ซามัว  เซเนกัล  ตุรกี 5 81
2005  เม็กซิโก  มอลโดวา 2 83
2006  จอร์เจีย  ฟิลิปปินส์ 2 85
2007  แอลเบเนีย  คีร์กีซสถาน  รวันดา 3 88
2008  อุซเบกิสถาน 1 89
2009  อาร์เจนตินา  โบลิเวีย  บุรุนดี  โตโก 4 93
2010  กาบอง 1 94
2012  ลัตเวีย  มองโกเลีย 2 96
2014  มาดากัสการ์ 1 97
2015  สาธารณรัฐคองโก  ฟีจี  ซูรินาม 3 100
2016  เบนิน  นาอูรู 2 102
2017  กินี 1 103
2019  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 1 104
2020  ชาด 1 105
2021  คาซัคสถาน  เซียร์ราลีโอน 2 107
2022  สาธารณรัฐแอฟริกากลาง  ปาปัวนิวกินี 2 109

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Kronenwetter 2001, p. 202
  2. "Readings - History Of The Death Penalty | The Execution | FRONTLINE". PBS. สืบค้นเมื่อ 2014-02-11.
  3. 3.0 3.1 "Abolitionist and retentionist countries". Amnesty International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-15. สืบค้นเมื่อ 2010-08-23.
  4. "University of Oslo Calls World Universities against Death Penalty - The Nordic Page - Panorama". Tnp.no. 2011-12-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-24. สืบค้นเมื่อ 2014-02-11.
  5. "Iran, Saudi Arabia, Sudan: End Juvenile Death Penalty | Human Rights Watch". Hrw.org. 2010-10-09. สืบค้นเมื่อ 2014-02-11.
  6. "moratorium on the death penalty". United Nations. 15 November 2007. สืบค้นเมื่อ 23 August 2010.
  7. "Shot at Dawn, campaign for pardons for British and Commonwealth soldiers executed in World War I". Shot at Dawn Pardons Campaign. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-03. สืบค้นเมื่อ 2006-07-20.
  8. So common was the practice of compensation that the word murder is derived from the French word mordre (bite) a reference to the heavy compensation one must pay for causing an unjust death. The "bite" one had to pay was used as a term for the crime itself: "Mordre wol out; that se we day by day." – Geoffrey Chaucer (1340–1400), The Canterbury Tales, The Nun's Priest's Tale, l. 4242 (1387–1400), repr. In The Works of Geoffrey Chaucer, ed. Alfred W. Pollard, et al. (1898).
  9. Translated from Waldmann, op.cit., p. 147.
  10. James Pitkin. ""Killing Time" | January 23rd, 2008". Wweek.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-24. สืบค้นเมื่อ 23 August 2010.
  11. "The High Cost of the Death Penalty". Death Penalty Focus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-28. สืบค้นเมื่อ 27 June 2008.
  12. "Innocence and the Death Penalty". Deathpenaltyinfo.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-08. สืบค้นเมื่อ 23 August 2010.
  13. "Executed Innocents". Justicedenied.org. สืบค้นเมื่อ 23 August 2010.
  14. "Wrongful executions". Mitglied.lycos.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-22. สืบค้นเมื่อ 23 August 2010.
  15. Amnesty International, "Singapore – The death penalty: A hidden toll of executions" เก็บถาวร 2004-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (January 2004)
  16. "Ethics - Capital punishment: Arguments against capital punishment". BBC. 1 January 1970. สืบค้นเมื่อ 11 February 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
คัดค้าน
สนับสนุน