ข้ามไปเนื้อหา

ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Buriram International Circuit)
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิต
Buriram United International Circuit
ที่ตั้ง ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ไทย ประเทศไทย
เขตเวลา GMT +7
ความจุ ~50,000 คน
เริ่มก่อสร้าง 2 มีนาคม พ.ศ. 2556
เปิดดำเนินการ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557
ผู้ออกแบบ เยอรมนี แฮร์มันน์ ทิลเคอ
เหตุการณ์สำคัญ ในปัจจุบัน:
โมโตจีพี
Thailand motorcycle Grand Prix
(พ.ศ. 2561–2562, 2565)
Formula 4 South East Asia Championship (พ.ศ. 2560–2562 2565)
อดีต:
Asian Le Mans (พ.ศ. 2559–2563)
F3 Asian Championship (พ.ศ. 2562–2563)
GT World Challenge Asia (พ.ศ. 2560–2562)
ซูเปอร์จีที (พ.ศ. 2557–2562)
World SBK (พ.ศ. 2558–2562)
ข้อมูลทางเทคนิค (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)
พื้นผิว แอสฟอลต์คอนกรีต
ความยาว 4.554 กม. (2.829 ไมล์)
จำนวนโค้ง 12 โค้ง
สถิติต่อรอบ 1:23.848 (นิวซีแลนด์ Nick Cassidy, {{{Record_team}}}, 2020, LMP2)

บุรีรัมย์ อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิต (อังกฤษ: Buriram International Circuit , ย่อ: BRIC) หรือ ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต (ชื่อตามบริษัทเบียร์ช้าง ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักของสนามในปัจจุบัน) เป็นสนามแข่งรถมาตรฐานสมาพันธ์รถยนต์นานาชาติ (FIA) ในประเทศไทย ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของช้างอารีนา ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ในวันที่ 24 กันยายน 2557 สนามช้างได้รับการรับรองจากสมาพันธ์รถยนต์นานาชาติ ว่าเป็นสนามแข่งรถระดับมาตรฐาน เอฟไอเอ เกรด 1 (FIA Grade 1) ซึ่งเป็นระดับสนามที่อนุญาตให้ใช้จัดการแข่งขันรถสูตรหนึ่ง (ฟอร์มูลาวัน) ได้[1]

ในวันที่ 7 ตุลาคม 2557 สนามช้างได้รับการรับรองจากสมาพันธ์จักรยานยนต์นานาชาติ (FIM) ว่าเป็นสนามแข่งรถระดับมาตรฐาน เอฟไอเอ็ม เกรด เอ (FIM Grade A) ซึ่งเป็นระดับสนามที่อนุญาตให้ใช้จัดการแข่งขันโมโตจีพีได้[2]

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2557 กิจกรรม "พัฒนาเมืองบุรีรัมย์ สู่เมืองกีฬามาตรฐานโลก" นายเนวิน ชิดชอบ ประธานที่ปรึกษาโครงการสนามแข่งรถช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ร่วมกับหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์จัดขึ้น เพื่อเป็นการปลุกให้ชาวบุรีรัมย์ตื่นตัวกับการลงทุนทำธุรกิจ และร่วมกันพัฒนาเมืองบุรีรัมย์สู่การเป็นเมืองท่องเที่ยวหลัก พร้อมทั้งประกาศยกระดับเมืองบุรีรัมย์สู่การเป็นมหานครแห่งกีฬาระดับโลก ทั้งนี้ นายเนวินได้เปิดให้ชาวบุรีรัมย์เข้าชมสนามแข่งรถระดับโลกมูลค่ากว่า 2 พันล้านบาท แห่งแรกและแห่งเดียวในไทย ซึ่งมีกำหนดการเปิดสนามแข่งขันอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557[3]

การแข่งขัน โมโตจีพี ฤดูกาล 2018 จะจัดขึ้นที่สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ระหว่างวันที่ 5-7 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นสนามที่ 15 จากทั้งหมด 19 สนาม นับเป็นการจัดแข่งขันโมโตจีพีครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีการเซ็นสัญญาจัดการแข่งขันเป็นเวลา 3 ปี (พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2563) [4]

ส่วนรถสูตรหนึ่ง (ฟอร์มูลาวัน) นั้นยังไม่มีแผนที่จะจัด แต่ก็ได้เสนอแนะว่าหากรัฐบาลหรือเอกชนรายอื่นจะจัดการแข่งขันฟอร์มูลาวันขึ้นในประเทศไทยก็สามารถใช้สนามช้างได้

สถิติรอบ

[แก้]
Category Time Driver Vehicle Event
Grand Prix Circuit: 4.554 km (พ.ศ. 2557–ปัจจุบัน)
LMP2 1:23.848[5] Nick Cassidy Ligier JS P217 2020 4 Hours of Buriram
Super GT (GT500) 1:24.977[6] Yuhi Sekiguchi Lexus LC 500 GT500 2018 Buriram Super GT round
LMP3 1:29.905[7] Josh Burdon Ligier JS P3 2018 6 Hours of Buriram
MotoGP 1:30.904 Marc Márquez Honda RC213V 2019 Thailand motorcycle Grand Prix
F3 Asia 1:32.260[8] Mikhael Belov Tatuus F.3 T-318 2019–2020 Buriram F3 Asia round
World SBK 1:32.724[9] Álvaro Bautista Ducati Panigale V4 R 2019 Buriram World SBK round
GT3 1:33.055[7] Jesse Krohn BMW M6 GT3 2018 6 Hours of Buriram
Super GT (GT300) 1:33.172[10] Katsuyuki Hiranaka Nissan GT-R Nismo GT3 (2018) 2018 Buriram Super GT round
Moto2 1:36.097 Luca Marini Kalex Moto2 2019 Thailand motorcycle Grand Prix
World SSP 1:37.620[11] Randy Krummenacher Yamaha YZF-R6 2018 Buriram World SSP round
WTCC 1:39.275[12] Gabriele Tarquini Honda Civic WTCC 2015 FIA WTCC Race of Thailand
Formula 4 1:42.398[13] Ugo de Wilde Mygale M14-F4 2017–2018 Buriram F4 SEA round
Moto3 1:42.963 Dennis Foggia KTM RC250GP 2018 Thailand motorcycle Grand Prix
TCR Touring Car 1:44.121 Gianni Morbidelli Honda Civic TCR 2015 TCR International Series Buriram round
GT4 1:44.825[14] Reinhold Renger Mercedes-AMG GT4 2018 Buriram Blancpain GT Series Asia round

การแข่งขัน

[แก้]
ปัจจุบัน
อดีต

รูปภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ระดับโลก! FIA รับรองสนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต เป็น FIA GRADE 1 ใช้แข่งฟอร์มูล่า วัน ได้". มติชน. 26 กันยายน 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-22. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. สำเร็จ FIM ประกาศ สนามช้างฯ ได้รับมาตรฐานสูงสุด เตรียมจัด WSBK 2015 วันที่ 20-22 มีนาคม 2015
  3. "ชาวบุรีรัมย์แห่ชมสนามแข่งรถระดับโลกก่อนใคร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-31. สืบค้นเมื่อ 2014-08-30.
  4. https://www.thairath.co.th/content/1382916  สนามช้างฯพร้อมจัดศึกโมโตจีพี 2018]
  5. "2019-2020 4 Hours of Buriram Best laptimes per driver" (PDF). สืบค้นเมื่อ 16 March 2021.
  6. "2018 Super GT Round 4 Race Results GT500". สืบค้นเมื่อ 16 March 2021.
  7. 7.0 7.1 "2017-2018 6 Hours of Buriram Best laptimes per driver" (PDF). สืบค้นเมื่อ 16 March 2021.
  8. "2019–20 F3 Asian Championship Round 5 Race 14 Results". สืบค้นเมื่อ 16 March 2021.[ลิงก์เสีย]
  9. "Pirelli Thai Round, 15-17 March 2019 World Superbike - Results Race 1" (PDF). สืบค้นเมื่อ 16 June 2022.
  10. "2018 Super GT Round 4 Race Results GT300". สืบค้นเมื่อ 16 March 2021.
  11. "Thai Round, 23-24-25 March 2018 World Supersport - Results Race" (PDF). สืบค้นเมื่อ 16 June 2022.
  12. "2015 WTCC Race Of Thailand Session Facts". สืบค้นเมื่อ 16 March 2021.
  13. "2017-2018 Asian Le Mans Series 6 Hours of Buriram F4 Race 5 Results" (PDF). สืบค้นเมื่อ 17 May 2021.
  14. "SRO GT Asia Buriram 2018". สืบค้นเมื่อ 24 April 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]