เปรุวุไฏยารโกยิล (ตัญจาวูร)
เปรุวุไฏยารโกยิล | |
---|---|
เปรุวุไฏยารโกยิล | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
เขต | อำเภอตัญจาวูร |
เทพ | พระศิวะ |
เทศกาล | มหาศิวราตรี |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | ตัญจาวูร |
รัฐ | ทมิฬนาฑู |
ประเทศ | อินเดีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 10°46′58″N 79°07′54″E / 10.78278°N 79.13167°E |
สถาปัตยกรรม | |
รูปแบบ | สถาปัตยกรรมดราวิเดียน |
ผู้สร้าง | ราชาราชโจฬะที่หนึ่ง |
เสร็จสมบูรณ์ | 1010[1][2] |
จารึก | ทมิฬ, สันสกฤต, มราฐา |
ระดับความสูง | 66 m (217 ft) |
ชื่อทางการ | หมู่วิหารพฤหทีศวรที่ตัญจาวูร |
บางส่วน | หมู่วิหารโจฬะที่มีชีวิต |
เกณฑ์พิจารณา | วัฒนธรรม: (ii), (iii) |
อ้างอิง | 250bis-001 |
ขึ้นทะเบียน | 1987 (สมัยที่ 11th) |
เพิ่มเติม | 2004 |
พื้นที่ | 18.07 ha (44.7 เอเคอร์) |
พื้นที่กันชน | 9.58 ha (23.7 เอเคอร์) |
เปรุวุไฏยารโกยิล (ทมิฬ: பெருவுடையார் கோயில்) หรือ ราชราเชศวรัม (Rajarajesvaram) เป็นมนเทียรพระศิวะ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำตอนใต้ของแม่น้ำกาเวรีในตัญจาวูร รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย[1][3] เป็นหนึ่งในมนเทียรแบบอินเดียใต้ที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวอย่างชิ้นสำคัญของสถาปัตยกรรมแบบทราวิฑ[4] มีการเรียกขานมนเทียรนี้ว่าเป็น ทักศิณาเมรุ (เขาพระสุเมรุแห่งทิศใต้)[5] หมู่วิหารนี้สร้างขึ้นโดยกษัตริย์ชาวทมิฬ ราชาราชโจฬะที่หนึ่งระหว่างปี 1003 ถึง 1010 ในปัจจุบันเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกในฐานะ "หมู่วิหารโจฬะมีชีวิต" ร่วมกับมนเทียรจากจักรวรรดิโจฬะ ได้แก่ คงไคโกนทะโจฬปุรัมมนเทียร และ ไอรวเตสวรมนเทียรซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของที่นี่ห่างไป 70 กิโลเมตร (43 ไมล์) และ 40 กิโลเมตร (25 ไมล์) ตามลำดับ[6]
สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในนี้สร้างขึ้นจากหินแกรนิต หอวิมานของมนเทียรนี้เป็นหนึ่งในวิมานที่สูงที่สุดในอินเดียใต้[3] และประดิษฐานศิวลึงค์ที่ใหญ่ที่สุดองค์หนึ่งของประเทศอินเดีย[3][6][7] นอกจากนี้ที่นี่ยังขึ้นชื่อจากงานประติมากรรมที่วิจิตร ตัวอย่างสำคัญคือเทวรูปพระศิวนาฏราชจากศตวรรษที่ 11 ก็แกะสลักขึ้นที่นี่ ภายในหมู่มนเทียรมีเทวสถานย่อยที่บูชาโคนนทิ, พระแม่ปารวตี, พระขันทกุมาร, พระคเณศ, พระสภาบดี, พระทักษิณามูรติ, พระจันเทศวร, พระวราหิ เป็นต้น[6][8] ที่นี่เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผู้เดินทางมาเยี่ยมชมมากที่สุดแห่งหนึ่งในทมิฬนาฑู[9]
ศัพทมูล
[แก้]ราชราชา (Raja Raja) กษัตริย์ผู้ทรงดำริสร้างมนเทียรนี้ พระราบทานนามให้ว่า ราชราเชศวรัม (Rajarājeśvaram) แปลว่า "มนเทียรของเทพเจ้าแห่งพระเจ้าราชราชา"[10] มีการพบจารึกในเวลาต่อที่เทวสถานพฤหันนายกี (Brihannayaki shrine) เรียกเทพองค์ประธานของที่นี่ว่า เปริยอุทัยนายะนาร์ (Periya Udaiya Nayanar) ซึ่งน่าจะเป็นที่มาของชื่อในปัจจุบันว่า พฤหทีศวร (Brihadisvara) และ เปรุวุทัยยาร์โกวิล (Peruvudaiyar Kovil)[11]
ส่วนคำว่า พฤหทีศวร (ไอเอเอสที: Bṛihádīśvara) เป็นคำภาษาสันสกฤต เกิดจากการรวมกันของคำว่า พฤหัต แปลว่า "ยิ่งใหญ่"[12] และ อิศวร คือ "พระศิวะ"[13][14] จึงรวมกันแปลว่า "พระศิวะผู้ยิ่งใหญ่"
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Thanjavur, Encyclopaedia Britannica
- ↑ Michell 1988, pp. 145–148
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "The Archaeological Survey of India (ASI)".
- ↑ Keay, John (2000). India, a History. New York, United States: Harper Collins Publishers. pp. xix. ISBN 0-00-638784-5.
- ↑ K. V. Raman. Temple Art, Icons And Culture Of India And South-East Asia. Sharada Publishing House, 2006. p. 136.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "Great Living Chola Temples". UNESCO World Heritage Centre. 2004. สืบค้นเมื่อ 28 November 2015.
- ↑ S.R. Balasubrahmanyam 1975, pp. 20–21.
- ↑ S.R. Balasubrahmanyam 1975, pp. 16–29.
- ↑ Gopal, Madan (1990). K.S. Gautam (บ.ก.). India through the ages. Publication Division, Ministry of Information and Broadcasting, Government of India. p. 185.
- ↑ D. Raphael (1996). Temples of Tamil Nadu, Works of Art. Ratnamala. p. 9. ISBN 978-955-9440-00-0.
- ↑ S. R. Balasubrahmanyam (1975). Middle Chola Temples: Rajaraja I to Kulottunga I, A.D. 985-1070. Thomson. p. 87.
- ↑ Brihat, Monier Monier Williams, Sanskrit English Dictionary, Oxford University Press, page 735
- ↑ Monier Williams, Sanskrit-English dictionary, Iṡvará, Oxford University Press, page 171
- ↑ James Lochtefeld, "Ishvara", The Illustrated Encyclopedia of Hinduism, Vol. 1: A–M, Rosen Publishing. ISBN 0-8239-2287-1, page 306
บรรณานุกรม
[แก้]- Prasanna Kumar Acharya (2010). An encyclopaedia of Hindu architecture. Oxford University Press (Republished by Motilal Banarsidass). ISBN 978-81-7536-534-6.
- Prasanna Kumar Acharya (1997). A Dictionary of Hindu Architecture: Treating of Sanskrit Architectural Terms with Illustrative Quotations. Oxford University Press (Reprinted in 1997 by Motilal Banarsidass). ISBN 978-81-7536-113-3.
- Vinayak Bharne; Krupali Krusche (2014). Rediscovering the Hindu Temple: The Sacred Architecture and Urbanism of India. Cambridge Scholars Publishing. ISBN 978-1-4438-6734-4.
- S.R. Balasubrahmanyam (1975), Middle Chola Temples, Thomson Press, ISBN 978-9060236079
- Ching, Francis D.K. (2007). A Global History of Architecture. New York: John Wiley and Sons. pp. 338–339. ISBN 0-471-26892-5.
- Alice Boner (1990). Principles of Composition in Hindu Sculpture: Cave Temple Period. Motilal Banarsidass. ISBN 978-81-208-0705-1.
- Alice Boner; Sadāśiva Rath Śarmā (2005). Silpa Prakasa. Brill Academic (Reprinted by Motilal Banarsidass). ISBN 978-8120820524.
- A.K. Coomaraswamy; Michael W. Meister (1995). Essays in Architectural Theory. Indira Gandhi National Centre for the Arts. ISBN 978-0-19-563805-9.
- Dehejia, V. (1997). Indian Art. Phaidon: London. ISBN 0-7148-3496-3.
- Adam Hardy (1995). Indian Temple Architecture: Form and Transformation. Abhinav Publications. ISBN 978-81-7017-312-0.
- Adam Hardy (2007). The Temple Architecture of India. Wiley. ISBN 978-0470028278.
- Adam Hardy (2015). Theory and Practice of Temple Architecture in Medieval India: Bhoja's Samarāṅgaṇasūtradhāra and the Bhojpur Line Drawings. Indira Gandhi National Centre for the Arts. ISBN 978-93-81406-41-0.
- Harle, J.C., The Art and Architecture of the Indian Subcontinent, 2nd edn. 1994, Yale University Press Pelican History of Art, ISBN 0300062176
- Monica Juneja (2001). Architecture in Medieval India: Forms, Contexts, Histories. Orient Blackswan. ISBN 978-8178242286.
- Stella Kramrisch (1976). The Hindu Temple Volume 1. Motilal Banarsidass (Reprinted 1946 Princeton University Press). ISBN 978-81-208-0223-0.
- Stella Kramrisch (1979). The Hindu Temple Volume 2. Motilal Banarsidass (Reprinted 1946 Princeton University Press). ISBN 978-81-208-0224-7.
- Michael W. Meister; Madhusudan Dhaky (1986). Encyclopaedia of Indian temple architecture. American Institute of Indian Studies. ISBN 978-0-8122-7992-4.
- George Michell (2000). Hindu Art and Architecture. Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-20337-8.
- Michell, George (1988), The Hindu Temple: An Introduction to Its Meaning and Forms, Chicago: University of Chicago Press, ISBN 0-226-53230-5
- Man, John (1999). Atlas of the Year 1000. United Kingdom: Penguin Books. ISBN 0-7946-0011-5.
- Thapar, Binda (2004). Introduction to Indian Architecture. Singapore: Periplus Editions. pp. 43, 52–53. ISBN 0-7946-0011-5.
- T. A. Gopinatha Rao (1993). Elements of Hindu iconography. Motilal Banarsidass. ISBN 978-81-208-0878-2.
- Ajay J. Sinha (2000). Imagining Architects: Creativity in the Religious Monuments of India. University of Delaware Press. ISBN 978-0-87413-684-5.
- Burton Stein (1978). South Indian Temples. Vikas. ISBN 978-0706904499.
- Burton Stein (1989). The New Cambridge History of India: Vijayanagara. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-26693-2.
- Burton Stein; David Arnold (2010). A History of India. John Wiley & Sons. ISBN 978-1-4443-2351-1.
- Kapila Vatsyayan (1997). The Square and the Circle of the Indian Arts. Abhinav Publications. ISBN 978-81-7017-362-5.