กำลังเสือโคร่ง
กำลังเสือโคร่ง | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Fagales |
วงศ์: | Betulaceae |
สกุล: | Betula |
สปีชีส์: | B. alnoides |
ชื่อทวินาม | |
Betula alnoides |
กำลังเสือโคร่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Betula alnoides) อยู่ในวงศ์ Betulaceae เป็นไม้ผลัดใบระยะสั้น เปลือกต้นสีน้ำตาลแดงหรือเทาออกเงิน มีเลนติเซล เมื่อสับเปลือกมีกลิ่นคล้ายน้ำมันระกำ แก่แล้วจะลอกเป็นแผ่นบางคล้ายกระดาษ เปลือกชั้นในมีกลิ่นหอม หูใบขนาดเล็ก หลุดร่วงง่าย ใบเดี่ยว ขอบใบเป็นซี่จัก ยอดอ่อนมีขนสีเงิน ผิวด้านล่างมีจุดน้ำยางมากมาย ดอกแยกเพศไม่แยกต้น ดอกขนาดเล็ก อยู่เป็นช่อห้อยลง สีออกเขียว ดอกเพศผู้ห้อยเป็นพวงเหมือนพวงกระรอกเล็ก ๆ ช่อดอกเพศเมียเป็นช่อตั้ง ผลขนาดเล็ก แบนกว้าง มีปีกบาง กลุ่มผลมีกาบดอกปกคลุม และยังติดอยู่บนก้านแม้ว่าผลจะปลิวออกไปแล้ว พบในเอเชียใต้และคาบสมุทรอินโดจีน
ไม้เนื้อแข็ง ทนทาน นิยมใช้ในงานก่อสร้าง เปลือกมีน้ำมันหอม มีฤทธ์เป็นยา ใช้ทำเหล้า ใบใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ เปลือกต้นใช้ขับลมในลำไส้ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย เปลือกต้นใช้ดองเหล้าเป็นยาสมุนไพร
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ไซมอน การ์ดเนอร์ พินดา สิทธิสุนทร และวิไลวรรณ อนุสารสุนทร. ต้นไม้เมืองเหนือ. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. 2543
- ชยันต์ พิเชียรสุนทร ศุภชัย ติยวรนันท์ และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 6 เภสัชกรรม. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2555.