ข้ามไปเนื้อหา

Ardeola

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Pond heron
นกยางกรอกพันธุ์อินเดีย (Ardeola grayii)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์ปีก
อันดับ: นกกระทุง
วงศ์: วงศ์นกยาง
สกุล: Ardeola

F. Boie, 1822
สปีชีส์
  • A. grayii
  • A. ralloides
  • A. bacchus
  • A. speciosa
  • A. idae
  • A. rufiventris

Ardeola (อังกฤษ: pond heron) เป็นชื่อสกุลหนึ่งของวงศ์นกยาง (Ardeidae) ประกอบด้วยสปีชีส์ต่าง ๆ มีนกยางกรอกพันธุ์อินเดียเป็นต้น ปกติยาว 40-50 ซม. รวมปีกกว้าง 80-100 ซม. โดยมากผสมพันธุ์ในเขตร้อนของโลกเก่า แต่ก็มีนกอพยพคือ squacco heron (Ardeola ralloides) ในยุโรปใต้และตะวันออกกลางที่หลบหนาวไปยังแอฟริกา ชื่อวิทยาศาสตร์มาจากคำละตินว่า ardeola ซึ่งแปลว่า นกยางเล็ก[1]

นกมีลักษณะอ้วนเตี้ย คอสั้น ปากหนาสั้น ปกติหลังสีเหลืองหรือน้ำตาล คอด้านหน้าและอกมีสีหรือเป็นลาย ในฤดูร้อน นกโตแล้วอาจมีขนคอยาว นกยางกรอกจะดูเปลี่ยนไปเมื่อบิน เพราะจะดูขาวมากเนื่องจากปีกสีขาวสด

แหล่งผสมพันธุ์เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ทำรังเป็นฝูงเล็ก ๆ บ่อยครั้งกับนกลุยน้ำอื่น ๆ ปกติเป็นรังใหญ่ (platform nest) ทำด้วยก้านไม้อยู่ในต้นไม้หรือพุ่มไม้ วางไข่ 2-5 ใบ

นกกินแมลง ปลา และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก บ่อยครั้งพบที่หนองน้ำเล็ก ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้สปีชีส์ต่าง ๆ ของนกมีชื่อภาษาอังกฤษเป็น pond heron (นกยางหนองน้ำ)

สปีชีส์

[แก้]
ภาพ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ การกระจายตัว
Ardeola grayii นกยางกรอกพันธุ์อินเดีย อิหร่านใต้ไปทางตะวันออกจนถึงปากีสถาน อินเดีย พม่า บังกลาเทศ และศรีลังกา
Ardeola ralloides Squacco heron ยุโรปใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
Ardeola bacchus นกยางกรอกพันธุ์จีน จีนและเอเชียตะวันออกเขตอบอุ่นและเขตกึ่งร้อนที่ใกล้ ๆ กัน
Ardeola speciosa นกยางกรอกพันธุ์ชวา เอเชียอาคเนย์
Ardeola idae นกยางกรอกพันธุ์มาดากัสการ์ เคนยา แทนซาเนีย ยูกันดา รวันดาและแซมเบีย
Ardeola rufiventris Rufous-bellied heron แองโกลา บอตสวานา บุรุนดี สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เคนยา เลโซโท มาลาวี มาลี โมซัมบิก นามิเบีย รวันดา แอฟริกาใต้ เอสวาตีนี แทนซาเนีย ยูกันดา แซมเบีย และซิมบับเว

วัฒนธรรม

[แก้]

คัมภีร์พุทธศาสนากล่าวถึงนกยางกรอกไว้ในเวสสันดรชาดก มหาวนวัณณนา คือ เมื่อสนทนากับชูชก อัจจุตฤๅษีได้พรรณนาถึงป่าที่พระเวสสันดรทรงอาศัยอยู่ว่ามีนกชนิดนี้[2]

คลังภาพ

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. Jobling, James A (2010). The Helm Dictionary of Scientific Bird Names. London: Christopher Helm. p. 54. ISBN 978-1-4081-2501-4.
  2. "พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ 28 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 2 ข้อ 2067", E-Tipitaka 3.0.7, 2018, นกกะปูด ไก่ป่า นกหัสดีลิงค์ ร่ำร้องคูขันหากันและกัน นกยางโทน นกยางกรอก นกโพระดก นกต้อยตีวิด นกกระเรียน