กระบาก
กระบาก | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophyta |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | โรสิด Rosids |
อันดับ: | ชบา |
วงศ์: | วงศ์ยางนา |
สกุล: | Anisoptera Korth.[2] |
สปีชีส์: | Anisoptera costata |
ชื่อทวินาม | |
Anisoptera costata Korth.[2] | |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
กระบาก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Anisoptera costata) เป็นไม้ยืนต้นสูง 5–25 เมตร เปลือกขรุขระสีเทา ตามกิ่งมีช่องอากาศเป็นจุด ๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก รูปไข่แกมรูปหอกปลายใบแหลม ขอบใบหยักเว้าหรือหยักกลม ๆ เรียบ โคนใบกลม มีต่อมขนอยู่ตรงมุมระหว่างเส้นกลางใบและเส้นใบ ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ตั้งตรง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อเล็ก ๆ ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เกสรเพศผู้มี 4 อัน ยาว 2 อัน สั้น 2 อัน ติดอยู่บนกลีบใกล้ปลายที่แยกออก ผลเป็นฝัก เมล็ดมีปีก ในประเทศไทยพบในป่าเบญจพรรณทางภาคตะวันตกเฉียงใต้
ชื่ออื่น
[แก้]กระบาก ตะบาก (ลำปาง), กระบากขาว (ชลบุรี, ชุมพร, ระนอง), กระบากโคก (ตรัง), กระบากช่อ กระบากด้าง กระบากดำ (ชุมพร), กระบากแดง (ชุมพร, ระนอง), ชอวาตาผ่อ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), บาก (ชุมพร), ประดิก (เขมร-สุรินทร์), พนอง (จันทบุรี, ตราด), หมีดังว่า (กะเหรี่ยง-ลำปาง)
สัญลักษณ์
[แก้]กระบากเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดยโสธร (ส่วนต้นไม้ประจำจังหวัดคือยางนา)
นิเวศวิทยา
[แก้]ขึ้นอยู่ตามป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณชื้นที่มีการถ่ายเทน้ำได้ดีทั่วไป ที่สูงจากยกระดับน้ำทะเล 10 - 400 เมตร มีมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้
ลักษณะเฉพาะ
[แก้]- ใบเดี่ยวเรียงสลับแผ่นใบรูป ขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ ท้องใบมีขนสีน้ำตาลปนเหลือง กว้าง 3 - 8 เซนติเมตร ยาว 6 - 16 เซนติเมตร ปลายใบทู่มนกว้างหรือหยักเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบมน
- ดอกเล็กสีขาวปนเหลืองอ่อนออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและ ปลายกิ่ง
- ผลกลมผิวเรียบ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร มีปีกยาว 2 ปีก รูปไข่กลับ และปีกสั้น 3 ปีก
สภาพที่เหมาะสมในการปลูก
[แก้]สภาพดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nguyen, H.N.; Vu, V.D.; Luu, H.T.; Hoang, V.S.; Pooma, R.; Khou, E.; Nanthavong, K.; Newman, M.F.; Ly, V.; Barstow, M. (2017). "Anisoptera costata". IUCN Red List of Threatened Species. 2017: e.T33166A2833752. doi:10.2305/IUCN.UK.2017-3.RLTS.T33166A2833752.en. สืบค้นเมื่อ 17 November 2021.
- ↑ 2.0 2.1 "Anisoptera costata". Plants of the World Online. Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 3 January 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Anisoptera costata
- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Anisoptera costata ที่วิกิสปีชีส์