ข้ามไปเนื้อหา

โรคหวัด

นี่คือบทความคุณภาพ คลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไข้หวัด)

โรคหวัด
ชื่ออื่นCold, acute viral nasopharyngitis, nasopharyngitis, viral rhinitis, rhinopharyngitis, acute coryza, head cold,[1] upper respiratory tract infection (URTI)[2]
ภาพแสดงพื้นผิวในระดับโมเลกุลของไรโนไวรัสชนิดหนึ่ง
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ
อาการไอ, เจ็บคอ, น้ำมูกไหล, มีไข้[3][4]
ภาวะแทรกซ้อนส่วนใหญ่ไม่มี แต่บางครั้งอาจเกิดหูชั้นกลางอักเสบ, ไซนัสอักเสบ, ปอดอักเสบ และติดเชื้อ[5]
การตั้งต้นประมาณ 2 วันหลังรับเชื้อ[6]
ระยะดำเนินโรค1–3 สัปดาห์[3][7]
สาเหตุไวรัส (มักเป็นไรโนไวรัส)[8]
วิธีวินิจฉัยขึ้นอยู่กับอาการ
โรคอื่นที่คล้ายกันเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้, หลอดลมอักเสบ, โรคไอกรน, ไซนัสอักเสบ[5]
การป้องกันล้างมือ, สวมหน้ากากอนามัย, รักษามารยาทในการไอ, อยู่ให้ห่างจากผู้ป่วย[3][9]
การรักษารักษาตามอาการ,[3] สังกะสี[10]
ยาNSAIDs[11]
ความชุก2–3 ครั้งต่อปี (ผู้ใหญ่); 6–8 ครั้งต่อปี (เด็ก)[12]

คอหอยส่วนจมูกอักเสบเฉียบพลัน หรือโรคเยื่อจมูกและลำคออักเสบเฉียบพลัน (อังกฤษ: Acute nasopharyngitis) เรียกโดยทั่วไปว่า โรคหวัด หรือ ไข้หวัด (อังกฤษ: Common cold) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนบนที่กระทบต่อจมูกเป็นหลัก ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการหลังรับเชื้อมาเป็นเวลาไม่เกิน 2 วัน[6] อาการของโรคมีทั้งไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และไข้[3][4] ซึ่งมักหายไปเองในเจ็ดถึงสิบวัน[3] แต่บางอาการอาจอยู่ได้นานถึงสามสัปดาห์[7] ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม ตามมาได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว[3]

มีไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคหวัดมากกว่า 200 โดยไรโนไวรัส ไวรัสโคโรนา, อะดีโนไวรัส และเอนเทอโรไวรัสเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด[13] ติดต่อจากคนสู่คนผ่านการสูดอากาศที่มีเชื้อไวรัสเข้าไปเมื่อยู่ใกล้กับผู้ป่วย หรือติดทางอ้อมผ่านการเอามือสัมผัสวัตถุที่มีเชื้อติดอยู่ แล้วเอามือนั้นเข้าปากหรือจมูก[3] ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคได้ง่ายได้แก่ การเป็นเด็กที่อยู่ในศูนย์เลี้ยงเด็ก การพักผ่อนน้อย และความเครียดทางจิตใจ เป็นต้น[6] ส่วนใหญ่อาการเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อมากกว่าการทำลายเนื้อเยื่อจากไวรัสเอง[14] ไข้หวัดใหญ่เป็นอีกโรคที่มีอาการคล้ายคลึงกับโรคหวัด แต่จะมีอาการรุนแรงกว่า และไม่ค่อยทำให้มีน้ำมูก[6][15]

ยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันโรคหวัด[3] การล้างมือเป็นวิธีการป้องกันหลัก รวมไปถึงการไม่เอามือที่ยังไม่ได้ล้างมาสัมผัสตา จมูก ปาก และการหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย[3] หลักฐานบางชิ้นสนับสนุนประสิทธิภาพของการสวมหน้ากากอนามัย[9] โรคหวัดไม่มีวิธีรักษาจำเพาะ แต่สามารถรักษาตามอาการได้[3] การเสริมแร่ธาตุสังกะสีอาจลดระยะเวลาของการเจ็บป่วยได้ หากเริ่มกินในช่วงแรกที่แสดงอาการ[10] อาจสามารถบรรเทาอาการปวดได้ด้วยยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์[11] ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะหวัดทั้งหมดเกิดจากไวรัส[16] และยังไม่มีหลักฐานที่มีคุณภาพดีมาสนับสนุนว่ายาแก้ไอมีประโยชน์[6][17]

โรคหวัดเป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่พบบ่อยที่สุดในมนุษย์[18] และอยู่คู่กับมนุษยชาติมาแต่โบราณ[19] ผู้ใหญ่ติดโรคหวัดโดยเฉลี่ยสองถึงสามครั้งต่อปี ขณะที่เด็กโดยเฉลี่ยติดโรคหวัดระหว่างหกถึงแปดครั้งต่อปี[8][12] ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวจะพบผู้ป่วยโรคหวัดบ่อยกว่าปกติ[3]

อาการและอาการแสดง

[แก้]

อาการทั่วไปของโรคหวัดมีทั้งไอ น้ำมูกไหล คัดจมูก และเจ็บคอ บางครั้งอาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อ ความล้า ปวดศีรษะและสูญเสียความอยากอาหาร ในผู้ป่วยโรคหวัด 40% พบอาการเจ็บคอ[20] และ 50% พบอาการไอ[8] ขณะที่อาการปวดกล้ามเนื้อพบในผู้ป่วยราวครึ่งหนึ่ง[4] ผู้ป่วยในวัยผู้ใหญ่มักไม่พบอาการไข้ แต่พบทั่วไปในทารกและเด็ก[4] อาการไอมักไม่รุนแรงนักเมื่อเทียบกับไข้หวัดใหญ่[4] ขณะที่อาการไอและไข้ในผู้ใหญ่มีแนวโน้มบ่งชี้ไข้หวัดใหญ่มากกว่า แต่ก็มีความคล้ายคลึงกันอย่างมากระหว่างโรคหวัดกับไข้หวัดใหญ่[21] ไวรัสหลายชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคหวัดยังอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อไร้อาการ[22][23] สีของเสมหะอาจมีได้ตั้งแต่ไม่มีสีไปจนถึงเหลือง เขียว และไม่บ่งชี้ถึงประเภทของตัวที่กระทำให้เกิดการติดเชื้อ[24]

การลุกลาม

[แก้]

ตามปกติโรคหวัดเริ่มต้นจากความเหนื่อยล้า รู้สึกหนาวสะท้าน จามและปวดศีรษะ ตามด้วยอาการน้ำมูกไหลและไอหลายวัน[20] อาการอาจเริ่มขึ้นใน 16 ชั่วโมงนับแต่การสัมผัส[25] และมักมีอาการรุนแรงที่สุดสองถึงสี่วันหลังเริ่มมีอาการ[4][26] โดยปกติอาการจะหายไปเองในเจ็ดถึงสิบวัน แต่บางรายสามารถมีอาการได้นานถึงสามสัปดาห์ 35-40% ของผู้ป่วยเด็กมีอาการไอนานกว่า 10 วัน[7] และ 10% ของผู้ป่วยเด็กมีอาการไอนานกว่า 25 วัน[27]

สาเหตุ

[แก้]

ไวรัส

[แก้]

โรคหวัดเป็นการติดเชื้อไวรัสของทางเดินหายใจส่วนบน ไวรัสที่พบมากที่สุด คือ ไรโนไวรัส (30-80%) ซึ่งเป็นพิคอร์นาไวรัสที่มีเซโรไทป์รู้จักกัน 99 ชนิด[28][29] ไวรัสชนิดอื่นมีโคโรนาไวรัส (10-15%) ฮิวแมนพาราอินฟลูเอ็นซาไวรัส ไวรัสเรสไพราทอรีซินไซเตียล อะดีโนไวรัส เอนเทอโรไวรัสและเมตะนิวโมไวรัส[30] บ่อยครั้งที่ไวรัสมากกว่าหนึ่งชนิดก่อให้เกิดโรค[31] รวมทั้งสิ้นแล้ว มีไวรัสกว่า 200 ชนิดที่เกี่ยวข้องกับโรคหวัด[4]

การแพร่เชื้อ

[แก้]

ไวรัสโรคหวัดโดยปกติแพร่เชื้อผ่านละอองจากอากาศ (ละอองลอย) การสัมผัสโดยตรงกับสิ่งคัดหลั่งทางจมูกที่ติดเชื้อ หรือวัตถุที่เป็นพาหะนำเชื้อ (fomite)[8][32] แต่ยังไม่มีการระบุว่า ทางใดมีความสำคัญที่สุด แต่การสัมผัสมือต่อมือ และมือต่อพื้นต่อมือเหมือนจะสำคัญกว่าการติดต่อผ่านละอองลอย[33] ไวรัสอาจมีชีวิตอยู่รอดเป็นเวลานาน มนุษย์ใช้มือหยิบจับไวรัสแล้วนำเข้าสู่ดวงตาหรือจมูกซึ่งเป็นที่เกิดการติดเชื้อ[32] การแพร่เชื้อพบทั่วไปในสถานรับเลี้ยงเด็กและที่โรงเรียนเนื่องจากความใกล้ชิดของเด็กจำนวนมากซึ่งมีภูมิคุ้มกันต่ำและมักมีอนามัยเลว จากนั้น สมาชิกครอบครัวคนอื่นเป็นผู้นำเชื้อเหล่านี้กลับมาบ้าน[34] ไม่มีหลักฐานว่า อากาศที่ไหลเวียนอยู่ในเที่ยวบินพาณิชย์เป็นวิธีการแพร่เชื้อ[32] อย่างไรก็ตาม บุคคลที่นั่งใกล้ชิดดูเหมือนจะมีความเสี่ยงสูงกว่า[33] โรคหวัดที่เกิดจากไรโนไวรัสติดเชื้อได้มากที่สุดระหว่างสามวันแรกของอาการ แต่จะติดเชื้อน้อยลงมากหลังจากนั้น[35]

ลมฟ้าอากาศ

[แก้]

ทฤษฎีชาวบ้านดั้งเดิมมีว่า โรคหวัดสามารถ "ติด" ได้จากการสัมผัสอากาศหนาวเป็นเวลานาน เช่น สภาพฝนตกหรือฤดูหนาว จึงเป็นที่มาของชื่อโรค cold ในภาษาอังกฤษ[36] บทบาทการเย็นตัวของร่างกายเป็นปัจจัยเสี่ยงโรคหวัดนั้นยังถกเถียงกันอยู่[37] ไวรัสบางชนิดที่เป็นเหตุของโรคหวัดมีตามฤดูกาล ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยกว่าในอากาศที่หนาวหรือเปียก[38] บางคนเชื่อว่า การติดโรคหวัดเป็นเพราะการอาศัยอยู่ในที่ร่มใกล้กับผู้ที่ติดเชื้อดังกล่าวเป็นระยะเวลานาน[39] โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่กลับจากโรงเรียน[34] อย่างไรก็ดี โรคหวัดยังอาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในระบบทางเดินหายในที่ส่งผลให้มีความไวเพิ่มขึ้น[39] ความชื้นที่ต่ำสามารถเพิ่มอัตราการแพร่เชื้อไวรัสได้เนื่องจากอากาศแห้งทำให้ละอองไวรัสขนาดเล็กกระจายไปไกลขึ้นและอยู่ในอากาศนานขึ้น[40]

อื่น ๆ

[แก้]

ภูมิคุ้มกันหมู่ที่เกิดจากการติดไวรัสไข้หวัดก่อนหน้านี้ มีบทบาทสำคัญในการจำกัดการแพร่ของไวรัส โดยสังเกตจากประชากรที่อายุน้อยมีอัตราการติดเชื้อทางเดินหายใจสูงกว่าประชากรอายุมาก[41] ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ทำงานไม่ดียังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหวัด[41][42] การนอนหลับไม่เพียงพอและทุพโภชนาการเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงการติดเชื้อหลังสัมผัสไรโนไวรัสที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเชื่อกันว่าเกิดจากผลของมันต่อการทำงานของภูมิคุ้มกัน[43][44]

พยาธิสรีรวิทยา

[แก้]
โรคหวัดเป็นโรคของทางเดินหายใจส่วนบน

อาการของโรคหวัดเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันสนองต่อไวรัสเป็นหลัก[14] กลไกการตอบสนองของภูมิคุ้มกันนี้จำเพาะต่อไวรัส ตัวอย่างเช่น ไรโนไวรัสติดต่อผ่านการสัมผัส ตัวเชื้อจะจับกับ ICAM-1 รีเซพเตอร์ของผู้ป่วย (ผ่านกลไกที่ยังไม่ทราบแน่ชัด) แล้วกระตุ้นการปลดปล่อยสารตัวกลางการอักเสบ (inflammatory mediators)[14] จากนั้น สารตัวกลางการอักเสบเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการ[14] โดยตัวไวรัสมิได้ก่อความเสียหายแก่เยื่อบุจมูกแต่อย่างใด[4] ตรงข้ามกับไวรัสเรสไพราทอรีซินไซเตียล (RSV) ซึ่งติดต่อทั้งผ่านการสัมผัสโดยตรงและละอองจากอากาศ ไวรัสจะแบ่งตัวในจมูกและลำคอก่อนจะแพร่กระจายลงสู่ทางเดินหายใจส่วนล่าง[45] และทำให้เกิดความเสียหายโดยตรงต่อเซลล์เยื่อบุ[45] ไวรัสพาราอินฟลูเอนซาส่งผลให้เกิดการอักเสบในจมูก ลำคอและหลอดลม[46] หากเด็กเล็กติดเชื้อเกิดท่อลม (trachea) อักเสบอาจทำให้เกิดอาการของโรคกล่องเสียงอักเสบอุดกั้น (croup) ได้ เพราะทางเดินหายใจมีขนาดเล็ก[46]

การวินิจฉัย

[แก้]

การติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนบนชนิดต่าง ๆ แยกได้คร่าว ๆ จากตำแหน่งของอาการ จมูกได้รับผลกระทบเป็นหลักในโรคหวัด ลำคอได้รับผลกระทบเป็นหลักในโรคคอหอยอักเสบ และปอดได้รับผลกระทบเป็นหลักในโรคหลอดลมอักเสบ[8] กระนั้นบริเวณที่ได้รับผลกระทบอาจทับซ้อนกันอย่างมีนัยสำคัญและเกิดได้หลายบริเวณ[8] บ่อยครั้ง โรคหวัดนิยามว่าเป็นจมูกอักเสบโดยมีปริมาณการอักเสบของลำคอต่าง ๆ กัน[47] พบการวินิจฉัยด้วยตนเองประจำ[4] แต่แทบไม่เคยมีการแยกแยะตัวกระทำไวรัสที่เกี่ยวข้องแท้จริง[47] และโดยทั่วไปก็ไม่สามารถระบุประเภทของไวรัสจากอาการได้[4]

การป้องกัน

[แก้]

การป้องกันโรคหวัดที่มีประสิทธิภาพเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสทางกายภาพ[9] เช่น การล้างมือ, การให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัยปิดปากและจมูกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสที่อยู่ในน้ำมูกและน้ำลาย, และ การใช้เสื้อกาวน์และถุงมือยางในโรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุข[9]

การควบคุมโรคโดยการกักกันเป็นไปได้ยาก เพราะผู้ป่วยอาจมีอาการไม่จำเพาะและแทรกอยู่ในประชากรทำให้ไม่สามารถแยกแยะผู้ป่วยออกมาได้ การให้วัคซีนจะได้ผลค่อนข้างจำกัด เนื่องจากเชื้อไวรัสหวัดมีหลายสายพันธุ์และมีวิวัฒนาการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว[9] การสร้างวัคซีนให้ครอบคลุมเชื้อหวัดในวงกว้างจึงทำได้ยาก[48]

การล้างมือเป็นประจำช่วยลดการส่งผ่านไวรัสอย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะในเด็ก[49] ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าการเพิ่มยาต้านไวรัสหรือสารต้านแบคทีเรียในน้ำยาล้างมือมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรค[49] การสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ใกล้กับผู้ติดเชื้อช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ ทั้งนี้ต้องทำควบคู่กับการสวมหน้ากากอนามัยโดยตัวผู้ป่วยเองซึ่งมีประสิทธิภาพลดการแพร่กระจายเชื้อที่ดีกว่า ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าการรักษาระยะห่างทางสังคมที่มากกว่านี้จะมีผลดีกว่า[49]

การเสริมธาตุสังกะสีอาจมีผลช่วยลดอัตราการติดเชื้อโรคหวัด[50] การเสริมวิตามินซีไม่ช่วยลดความเสี่ยงหรือความรุนแรงของโรคหวัดแต่อาจทำให้หายจากโรคหวัดได้เร็วขึ้น[51]

การรักษา

[แก้]

ยังไม่มียาหรือสมุนไพรใด ๆ ที่มีหลักฐานยืนยันได้ว่าสามารถลดระยะเวลาของการติดเชื้อได้[52] ดังนั้นการรักษาจึงประกอบด้วยการบรรเทาอาการ[12] การพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ และกลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่น เป็นวิธีรักษาแบบอนุรักษ์ที่สมเหตุสมผล[30] อย่างไรก็ดี ประโยชน์ที่เห็นจากการรักษาเป็นผลมาจากปรากฏการณ์ยาหลอกเสียมาก[53]

ตามอาการ

[แก้]

การรักษาที่ช่วยบรรเทาอาการ รวมถึง ยาระงับปวดและยาลดไข้ อย่างไอบูโปรเฟน[54]และอะเซตามีโนเฟน/พาราเซตามอล[55] หลักฐานมิได้แสดงว่ายาแก้ไอมีประสิทธิภาพมากกว่ายาลดไข้แต่อย่างใด[56] และไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กเพราะขาดหลักฐานสนับสนุนประสิทธิภาพและอาจเกิดอันตรายได้[57][58] ในปี 2552 แคนาดาจำกัดการใช้ยาแก้ไอและหวัดโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์ในเด็กอายุหกปีหรือต่ำกว่า เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ที่ยังไม่มีข้อพิสูจน์[57] ในผู้ใหญ่ มีหลักฐานสนับสนุนการใช้ยาแก้ไอไม่เพียงพอ[59] การใช้เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (ยาแก้ไอชนิดหนึ่งหาซื้อโดยตรงได้ทั่วไป) ในทางที่ผิด นำไปสู่การห้ามใช้ในหลายประเทศ[60]

ในผู้ใหญ่ อาการน้ำมูกไหลสามารถลดได้จากสารต้านฮิสทามีนรุ่นแรก อย่างไรก็ดี สารเหล่านี้มีผลเสีย เช่น ความง่วง[12] ยาลดน้ำมูกอื่นอย่างซูโดอีเฟดรีน ยังมีประสิทธิภาพในประชากรนี้ด้วย[61] ยาพ่นจมูกไอพราโทรเปียมอาจลดอาการน้ำมูกไหล แต่มีผลเล็กน้อยกับการคัดจมูก[62] ส่วนสารต้านฮิสทามีนรุ่นที่สองนั้นไม่ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพ[63]

เนื่องจากยังขาดการศึกษา จึงไม่ทราบว่าการรับของเหลวเข้าไปเพิ่มขึ้นจะเพิ่มอาการหรือย่นระยะเวลาการเจ็บป่วยของระบบหายใจ[64] และการขาดข้อมูลที่คล้ายกันยังมีสำหรับการใช้ที่ถูกทำให้ชื้นและร้อน[65] การศึกษาหนึ่งพบว่า การนวดหน้าอก (chest vapor rub) มีประสิทธิภาพบรรเทาอาการไอกลางคืน การคั่งและนอนหลับยากลงได้บ้าง[66]

ปฏิชีวนะและต้านไวรัส

[แก้]

ยาปฏิชีวนะรักษาโรคติดเชื้อไวรัสไม่ได้ ฉะนั้นจึงไม่มีผลต่อโรคหวัดซึ่งเกิดจากไวรัสเช่นกัน[67] ทั้งนี้เมื่อพิจารณาว่าการใช้ยาปฏิชีวนะมีโอกาสเกิดผลข้างเคียง ดังนั้นการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคหวัดในภาพรวมจึงทำให้เกิดผลเสียมากกว่า กระนั้น ก็ยังมีการจ่ายยาบ่อยครั้ง[67][68] สาเหตุบางประการที่ทำให้มีการจ่ายยาปฏิชีวนะบ่อยครั้งเป็นเพราะประชาชนคาดหวังว่ามาพบแพทย์แล้วต้องได้ยา แพทย์รู้สึกอยากทำอะไรสักอย่าง และการคัดภาวะแทรกซ้อนออกที่อาจได้ประโยชน์จากการให้ยาปฏิชีวนะทำได้ยาก[69] ไม่มียาต้านไวรัสใดที่ยืนยันได้ว่ามีประสิทธิภาพแก่โรคหวัด แม้จะมีงานวิจัยขั้นต้นบางชิ้นที่ศึกษาพบว่าอาจมีประโยชน์ก็ตาม[12][70]

การรักษาทางเลือก

[แก้]

แม้จะมีการรักษาทางเลือกหลายอย่างที่ใช้กับโรคหวัด แต่ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนการใช้การรักษาทางเลือกส่วนมากเพียงพอ[12] จนถึงปี 2553 มีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะแนะนำให้หรือไม่ให้ใช้น้ำผึ้งหรือการล้างจมูก[71][72] มีการศึกษาเสนอว่า หากให้สังกะสีภายใน 24 ชั่วโมงหลังเริ่มมีอาการ จะสามารถลดช่วงเวลาและความรุนแรงของโรคหวัดในผู้มีสุขภาพดี[50] อย่างไรก็ดีการศึกษาในเรื่องเดียวกันชิ้นอื่น ๆ ให้ผลที่แตกต่างกันออกไป จึงยังต้องรอการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาว่าสังกะสีจะมีประโยชน์อย่างไร และควรให้เมื่อไร[73] ผลกระทบของวิตามินซีต่อโรคหวัดนั้น แม้จะมีการศึกษาวิจัยมานาน แต่ก็ไม่มีผลลัพธ์ที่น่าพอใจ จะได้ผลเฉพาะในเพียงบางภาวะเท่านั้น เช่น ในผู้ป่วยไข้หวัดที่ออกกำลังกายให้ชีพจรเข้าเป้าในอากาศเย็น[51][74] หลักฐานเกี่ยวกับประโยชน์ของอิชิเนเซียนั้นขัดกัน[75][76] การเสริมอิชิเนเซียประเภทต่าง ๆ อาจมีประสิทธิภาพแตกต่างกัน[75] ยังไม่ทราบกันว่ากระเทียมมีประสิทธิภาพหรือไม่[77] การทดสอบวิตามินดีครั้งเดียวยังไม่พบประโยชน์[78]

การพยากรณ์โรค

[แก้]

โรคหวัดโดยทั่วไปไม่รุนแรงและหายได้เอง อาการส่วนมากโดยทั่วไปจะดีขึ้นในหนึ่งสัปดาห์[18] ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงนั้นเกิดขึ้นน้อย และถ้าเกิด มักเกิดในผู้สูงอายุมาก ๆ เด็กเล็กมาก ๆ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง[18] ผู้ป่วยบางรายอาจติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนทำให้เกิดโพรงอากาศอักเสบ (ไซนัสอักเสบ) คอหอยอักเสบ หรือหูชั้นกลางอักเสบได้[79] มีการประมาณเอาไว้ว่าผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหวัดเหล่านี้ 8% เกิดโพรงอากาศอักเสบ และ 30% เกิดหูชั้นกลางอักเสบ[80]

วิทยาการระบาด

[แก้]

โรคหวัดเป็นโรคของมนุษย์ที่พบมากที่สุด[18] และทุกคนบนโลกล้วนได้รับผลกระทบ[34] ตามแบบผู้ใหญ่มีการติดเชื้อสองถึงห้าครั้งต่อปี[8][4] และเด็กอาจเป็นโรคหวัดหกถึงสิบครั้งต่อปี ซึ่งอาจมากถึงสิบสองครั้งต่อปีสำหรับเด็กที่เรียนในโรงเรียน[12] อัตราการติดเชื้อมีอาการเพิ่มขึ้นในวัยสูงอายุเพราะระบบภูมิคุ้มกันที่เสื่อมลง[41]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ขณะที่สาเหตุของโรคหวัดเพิ่งจะมีการระบุเพียงตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา แต่โรคหวัดอยู่คู่กับมนุษยชาติมาแต่โบราณ[81] อาการและการรักษาโรคหวัดมีอธิบายในปาปิรุสอีเบอร์ (Papyrus Ebers) ของอียิปต์ ข้อความทางการแพทย์เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีอยู่ เขียนขึ้นก่อนศตวรรษที่ 16 ก่อนคริสตกาล[82] ชื่อ "common cold" มีใช้ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เนื่องจากความคล้ายกันระหว่างอาการกับการสัมผัสอากาศเย็น[83]

ในสหราชอาณาจักร หน่วยโรคหวัดถูกตั้งขึ้นโดยสภาวิจัยการแพทย์ในปี 2489 และมีการค้นพบไรโนไวรัสที่นั่นเองในปี 2499[84] ในคริสต์ทศวรรษ 1970 หน่วยโรคหวัดสาธิตว่าการรักษาด้วยอินเตอร์เฟียรอนระหว่างระยะฟักของการติดเชื้อไรโนไวรัสป้องกันต่อโรคบ้าง[85] แต่ไม่สามารถพัฒนาการรักษาภาคปฏิบัติ หน่วยดังกล่าวถูกปิดในปี 2532 สองปีหลังเสร็จสิ้นการวิจัยยาอมซิงค์กลูโคเนตในการป้องกันโรคและการรักษาโรคหวัดไรโนไวรัส เป็นการรักษาที่ประสบความสำเร็จครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของหน่วย[86]

ผลกระทบทางเศรษฐกิจ

[แก้]
ใบปิดประกาศของอังกฤษสมัยสงครามโลกครั้งที่สองอธิบายราคาของโรคหวัด[87]

ยังไม่เป็นที่เข้าใจดีในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจของโรคหวัด[80] ในสหรัฐอเมริกา โรคหวัดทำให้มีการพบแพทย์ 75–100 ล้านครั้งต่อปี โดยประเมินราคาเบื้องต้น 7,700 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี ชาวอเมริกันใช้เงิน 2,900 ล้านดอลล่าร์สหรัฐไปกับยาที่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์และอีก 400 ล้านดอลล่าร์สหรัฐไปกับยาตามใบสั่งเพื่อบรรเทาอาการ[88] กว่าหนึ่งในสามของผู้ที่มาพบแพทย์ได้รับใบสั่งยาปฏิชีวนะ ซึ่งส่อว่าอาจมีการดื้อยาปฏิชีวนะเกิดขึ้นได้[88] มีการประเมินว่ามีการขาดเรียน 22–189 ล้านวันทุกปีเนื่องจากโรคหวัด ผลคือ ผู้ปกครองเสียวันทำงาน 126 ล้านวันเพื่ออยู่บ้านดูแลบุตรของตน เมื่อรวมกับวันทำงานอีก 150 ล้านวันที่ลูกจ้างป่วยเป็นโรคหวัด ผลกระทบความสูญเสียทางเศรษฐกิจรวมของงานที่เกี่ยวข้องกับโรคหวัดเกิน 20,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี[30][88] ซึ่งคิดเป็น 40% ของเวลาทำงานที่เสียไปในสหรัฐอเมริกา[89]

การวิจัย

[แก้]

มีการทดสอบประสิทธิภาพของยาต้านไวรัสกับโรคหวัด อย่างไรก็ดี จนถึงปี 2552 ไม่มียาตัวใดที่ทั้งพบว่ามีประสิทธิภาพและได้รับอนุญาตให้ใช้[70] ปัจจุบันกำลังมีการทดสอบยาต้านไวรัสพลีโคนาริล ซึ่งค่อนข้างประสบความสำเร็จต่อพิคอร์นาไวรัส เช่นเดียวกับการทดสอบ BTA-798[90] พลีโคนาริลแบบรับประทานมีปัญหาด้านความปลอดภัย และแบบละอองลอยกำลังอยู่ระหว่างการศึกษา[90]

ดราโค (DRACO) ยาต้านรีโทรไวรัสที่มีขอบเขตในการออกฤทธิ์กว้าง ที่กำลังพัฒนาที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ แสดงประสิทธิภาพเบื้องต้นในการรักษาไรโนไวรัส เช่นเดียวกับไวรัสติดต่ออื่นอีกจำนวนหนึ่ง[91][92]

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ คอลเลจพาร์ก และมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ได้ทำแผนที่จีโนมไวรัสทุกสายพันธุ์เท่าที่ทราบว่าก่อโรคหวัด[93]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Pramod JR (2008). Textbook of Oral Medicine. Jaypee Brothers Publishers. p. 336. ISBN 978-81-8061-562-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2016.
  2. Lee H, Kang B, Hong M, Lee HL, Choi JY, Lee JA (July 2020). "Eunkyosan for the common cold: A PRISMA-compliment systematic review of randomised, controlled trials". Medicine. 99 (31): e21415. doi:10.1097/MD.0000000000021415. PMC 7402720. PMID 32756141.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 "Common Colds: Protect Yourself and Others". CDC. 6 October 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2016. สืบค้นเมื่อ 4 February 2016.
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 Eccles R (November 2005). "Understanding the symptoms of the common cold and influenza". The Lancet. Infectious Diseases. 5 (11): 718–25. doi:10.1016/S1473-3099(05)70270-X. PMC 7185637. PMID 16253889.
  5. 5.0 5.1 Bennett JE, Dolin R, Blaser MJ (2014). Principles and Practice of Infectious Diseases (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. p. 750. ISBN 978-1-4557-4801-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2017.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Allan GM, Arroll B (February 2014). "Prevention and treatment of the common cold: making sense of the evidence". CMAJ. 186 (3): 190–9. doi:10.1503/cmaj.121442. PMC 3928210. PMID 24468694.
  7. 7.0 7.1 7.2 Heikkinen T, Järvinen A (January 2003). "The common cold". Lancet. 361 (9351): 51–9. doi:10.1016/S0140-6736(03)12162-9. PMC 7112468. PMID 12517470.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 Arroll B (March 2011). "Common cold". BMJ Clinical Evidence. 2011 (3): 1510. PMC 3275147. PMID 21406124. Common colds are defined as upper respiratory tract infections that affect the predominantly nasal part of the respiratory mucosa
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 Eccles p. 209
  10. 10.0 10.1 "Zinc – Fact Sheet for Health Professionals". Office of Dietary Supplements, US National Institutes of Health. 10 July 2019. สืบค้นเมื่อ 27 December 2019. Although studies examining the effect of zinc treatment on cold symptoms have had somewhat conflicting results, overall zinc appears to be beneficial under certain circumstances.... In September of 2007, Caruso and colleagues published a structured review of the effects of zinc lozenges, nasal sprays, and nasal gels on the common cold [69]. Of the 14 randomized, placebo-controlled studies included, 7 (5 using zinc lozenges, 2 using a nasal gel) showed that the zinc treatment had a beneficial effect and 7 (5 using zinc lozenges, 1 using a nasal spray, and 1 using lozenges and a nasal spray) showed no effect. More recently, a Cochrane review concluded that “zinc (lozenges or syrup) is beneficial in reducing the duration and severity of the common cold in healthy people, when taken within 24 hours of onset of symptoms” [73]. The author of another review completed in 2004 also concluded that zinc can reduce the duration and severity of cold symptoms [68]. However, more research is needed to determine the optimal dosage, zinc formulation and duration of treatment before a general recommendation for zinc in the treatment of the common cold can be made [73]. As previously noted, the safety of intranasal zinc has been called into question because of numerous reports of anosmia (loss of smell), in some cases long-lasting or permanent, from the use of zinc-containing nasal gels or sprays [17–19].
  11. 11.0 11.1 Kim SY, Chang YJ, Cho HM, Hwang YW, Moon YS (September 2015). "Non-steroidal anti-inflammatory drugs for the common cold". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 9 (9): CD006362. doi:10.1002/14651858.CD006362.pub4. PMID 26387658.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 Simasek M, Blandino DA (กุมภาพันธ์ 2007). "Treatment of the common cold". American Family Physician. 75 (4): 515–20. PMID 17323712. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2007.
  13. "Common Cold". Centers for Disease Control and Prevention. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2016. สืบค้นเมื่อ 27 January 2021.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 Eccles p. 112
  15. "Cold Versus Flu". 11 August 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2017. สืบค้นเมื่อ 5 January 2017.
  16. Harris AM, Hicks LA, Qaseem A (March 2016). "Appropriate Antibiotic Use for Acute Respiratory Tract Infection in Adults: Advice for High-Value Care From the American College of Physicians and the Centers for Disease Control and Prevention". Annals of Internal Medicine. 164 (6): 425–34. doi:10.7326/M15-1840. PMID 26785402.
  17. Malesker MA, Callahan-Lyon P, Ireland B, Irwin RS (November 2017). "Pharmacologic and Nonpharmacologic Treatment for Acute Cough Associated With the Common Cold: CHEST Expert Panel Report". Chest. 152 (5): 1021–1037. doi:10.1016/j.chest.2017.08.009. PMC 6026258. PMID 28837801. A suggestion for the use of zinc lozenges in healthy adults with cough due to common cold was considered by the expert panel. However, due to weak evidence, the potential side effects of zinc, and the relatively benign and common nature of the condition being treated, the panel did not approve inclusion of this suggestion.
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 Eccles p. 1
  19. Eccles R, Weber O (2009). Common cold. Basel: Birkhäuser. p. 3. ISBN 978-3-7643-9894-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2016.
  20. 20.0 20.1 Eccles Pg. 24
  21. Eccles Pg.26
  22. Eccles Pg. 129
  23. Eccles Pg.50
  24. Eccles Pg.30
  25. Helms RA, บ.ก. (2006). Textbook of therapeutics: drug and disease management (8. ed.). Philadelphia, Pa. [u.a.]: Lippincott Williams & Wilkins. p. 1882. ISBN 978-0-7817-5734-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2016.
  26. Turner RB, Hayden FG (2003). "Rhinovirus". ใน Rübsamen-Waigmann H, และคณะ (บ.ก.). Viral Infections and Treatment. New York: CRC Press. p. 111. ISBN 978-0-8247-4247-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2016.
  27. Goldsobel AB, Chipps BE (March 2010). "Cough in the pediatric population". The Journal of Pediatrics. 156 (3): 352–8. doi:10.1016/j.jpeds.2009.12.004. PMID 20176183.
  28. Palmenberg AC, Spiro D, Kuzmickas R, Wang S, Djikeng A, Rathe JA, Fraser-Liggett CM, Liggett SB (2009). "Sequencing and Analyses of All Known Human Rhinovirus Genomes Reveals Structure and Evolution". Science. 324 (5923): 55–9. doi:10.1126/science.1165557. PMID 19213880.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  29. Eccles Pg.77
  30. 30.0 30.1 30.2 "Common Cold". National Institute of Allergy and Infectious Diseases. 27 November 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2008. สืบค้นเมื่อ 11 June 2007.
  31. Eccles Pg.107
  32. 32.0 32.1 32.2 Eccles R, Weber O (2009). Common cold (Online-Ausg. ed.). Basel: Birkhäuser. p. 197. ISBN 978-3-7643-9894-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2016.
  33. 33.0 33.1 Eccles Pp. 211 & 215
  34. 34.0 34.1 34.2 Papadopoulos NG, Xatzipsaltis M, Johnston SL (2009). "Rhinoviruses". ใน Zuckerman AJ, และคณะ (บ.ก.). Principles and Practice of Clinical Virology (6th ed.). John Wiley & Sons. p. 496. ISBN 978-0-470-74139-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2016.
  35. Gwaltney JM Jr, Halstead SB (16 July 1997). "Contagiousness of the common cold". Questions and answers. Journal of the American Medical Association. 278 (3): 256–57. doi:10.1001/jama.1997.03550030096050.
  36. Zuger A (4 March 2003). "'You'll Catch Your Death!' An Old Wives' Tale? Well." The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2017.
  37. Mourtzoukou EG; Falagas ME (September 2007). "Exposure to cold and respiratory tract infections". The International Journal of Tuberculosis and Lung Disease. 11 (9): 938–43. PMID 17705968.
  38. Eccles Pg.79
  39. 39.0 39.1 Eccles Pg.80
  40. Eccles Pg. 157
  41. 41.0 41.1 41.2 Eccles Pg. 78
  42. Eccles Pg.166
  43. Cohen S, Doyle WJ, Alper CM, Janicki-Deverts D, Turner RB (January 2009). "Sleep habits and susceptibility to the common cold". Archives of Internal Medicine. 169 (1): 62–7. doi:10.1001/archinternmed.2008.505. PMC 2629403. PMID 19139325.
  44. Eccles Pg.160–165
  45. 45.0 45.1 Eccles Pg.116
  46. 46.0 46.1 Eccles Pg.122
  47. 47.0 47.1 Eccles Pg. 51–52
  48. Lawrence DM (2009). "Gene studies shed light on rhinovirus diversity". Lancet Infect Dis. 9 (5): 278. doi:10.1016/S1473-3099(09)70123-9.
  49. 49.0 49.1 49.2 Jefferson T, Del Mar CB, Dooley L, Ferroni E, Al-Ansary LA, Bawazeer GA, และคณะ (November 2020). "Physical interventions to interrupt or reduce the spread of respiratory viruses". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2020 (11): CD006207. doi:10.1002/14651858.CD006207.pub5. hdl:10072/399941. PMC 8094623. PMID 33215698.
  50. 50.0 50.1 Singh M, Das RR (June 2013). Singh M (บ.ก.). "Zinc for the common cold". The Cochrane Database of Systematic Reviews (6): CD001364. doi:10.1002/14651858.CD001364.pub4. PMID 23775705. (Retracted)
  51. 51.0 51.1 Hemilä H, Chalker E, Douglas B, Hemilä H (2007). Hemilä, Harri (บ.ก.). "Vitamin C for preventing and treating the common cold". Cochrane Database of Systematic Reviews (3): CD000980. doi:10.1002/14651858.CD000980.pub3. PMID 17636648.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  52. "Common Cold: Treatments and Drugs". Mayo Clinic. สืบค้นเมื่อ 9 January 2010.
  53. Eccles Pg.261
  54. Kim SY, Chang YJ, Cho HM, Hwang YW, Moon YS (2009). Kim, Soo Young (บ.ก.). "Non-steroidal anti-inflammatory drugs for the common cold". Cochrane Database Syst Rev (3): CD006362. doi:10.1002/14651858.CD006362.pub2. PMID 19588387.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  55. Eccles R (2006). "Efficacy and safety of over-the-counter analgesics in the treatment of common cold and flu". Journal of Clinical Pharmacy and Therapeutics. 31 (4): 309–319. doi:10.1111/j.1365-2710.2006.00754.x. PMID 16882099.
  56. Smith SM, Schroeder K, Fahey T (2008). Smith, Susan M (บ.ก.). "Over-the-counter (OTC) medications for acute cough in children and adults in ambulatory settings". Cochrane Database Syst Rev (1): CD001831. doi:10.1002/14651858.CD001831.pub3. PMID 18253996.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  57. 57.0 57.1 Shefrin AE, Goldman RD (พฤศจิกายน 2009). "Use of over-the-counter cough and cold medications in children" (PDF). Canadian Family Physician. 55 (11): 1081–3. PMC 2776795. PMID 19910592. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2015.
  58. Vassilev ZP, Kabadi S, Villa R (March 2010). "Safety and efficacy of over-the-counter cough and cold medicines for use in children". Expert Opinion on Drug Safety. 9 (2): 233–42. doi:10.1517/14740330903496410. PMID 20001764. S2CID 12952868.
  59. Smith SM, Schroeder K, Fahey T (November 2014). "Over-the-counter (OTC) medications for acute cough in children and adults in community settings". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 11 (11): CD001831. doi:10.1002/14651858.CD001831.pub5. PMC 7061814. PMID 25420096.
  60. Eccles Pg. 246
  61. Taverner D, Latte GJ (2007). Latte, G. Jenny (บ.ก.). "Nasal decongestants for the common cold". Cochrane Database Syst Rev (1): CD001953. doi:10.1002/14651858.CD001953.pub3. PMID 17253470.
  62. AlBalawi ZH, Othman SS, Alfaleh K (June 2013). "Intranasal ipratropium bromide for the common cold". The Cochrane Database of Systematic Reviews (6): CD008231. doi:10.1002/14651858.CD008231.pub3. PMC 6492479. PMID 23784858.
  63. Pratter MR (Jan 2006). "Cough and the common cold: ACCP evidence-based clinical practice guidelines". Chest. 129 (1 Suppl): 72S–74S. doi:10.1378/chest.129.1_suppl.72S. PMID 16428695.
  64. Guppy MP, Mickan SM, Del Mar CB, Thorning S, Rack A (February 2011). Guppy MP (บ.ก.). "Advising patients to increase fluid intake for treating acute respiratory infections". The Cochrane Database of Systematic Reviews (2): CD004419. doi:10.1002/14651858.CD004419.pub3. PMC 7197045. PMID 21328268.
  65. Singh M, Singh M, Jaiswal N, Chauhan A (August 2017). "Heated, humidified air for the common cold". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2017 (8): CD001728. doi:10.1002/14651858.CD001728.pub6. PMC 6483632. PMID 28849871.
  66. Paul IM, Beiler JS, King TS, Clapp ER, Vallati J, Berlin CM (December 2010). "Vapor rub, petrolatum, and no treatment for children with nocturnal cough and cold symptoms". Pediatrics. 126 (6): 1092–9. doi:10.1542/peds.2010-1601. PMC 3600823. PMID 21059712.
  67. 67.0 67.1 Arroll B, Kenealy T (2005). Arroll, Bruce (บ.ก.). "Antibiotics for the common cold and acute purulent rhinitis". Cochrane Database Syst Rev (3): CD000247. doi:10.1002/14651858.CD000247.pub2. PMID 16034850.
  68. Eccles Pg.238
  69. Eccles Pg.234
  70. 70.0 70.1 Eccles Pg.218
  71. Oduwole O, Meremikwu MM, Oyo-Ita A, Udoh EE (January 2010). Oduwole, Olabisi (บ.ก.). "Honey for acute cough in children". Cochrane Database of Systematic Reviews (1): CD007094. doi:10.1002/14651858.CD007094.pub2. PMID 20091616.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  72. King D, Mitchell B, Williams CP, Spurling GK (April 2015). "Saline nasal irrigation for acute upper respiratory tract infections" (PDF). The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2015 (4): CD006821. doi:10.1002/14651858.CD006821.pub3. PMID 25892369.
  73. "Zinc for the common cold — Health News — NHS Choices". nhs.uk. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-19. สืบค้นเมื่อ 24 February 2012. In this review, there was a high level of heterogeneity between the studies that were pooled to determine the effect of zinc on the duration of cold symptoms. This may suggest that it was inappropriate to pool them. It certainly makes this particular finding less conclusive.
  74. Heiner KA, Hart AM, Martin LG, Rubio-Wallace S (2009). "Examining the evidence for the use of vitamin C in the prophylaxis and treatment of the common cold". Journal of the American Academy of Nurse Practitioners. 21 (5): 295–300. doi:10.1111/j.1745-7599.2009.00409.x. PMID 19432914.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  75. 75.0 75.1 Linde K, Barrett B, Wölkart K, Bauer R, Melchart D (2006). Linde, Klaus (บ.ก.). "Echinacea for preventing and treating the common cold". Cochrane Database Syst Rev (1): CD000530. doi:10.1002/14651858.CD000530.pub2. PMID 16437427.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  76. Sachin A Shah, Stephen Sander, C Michael White, Mike Rinaldi, Craig I Coleman (2007). "Evaluation of echinacea for the prevention and treatment of the common cold: a meta-analysis". The Lancet Infectious Diseases. 7 (7): 473–480. doi:10.1016/S1473-3099(07)70160-3. PMID 17597571.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  77. Lissiman E, Bhasale AL, Cohen M (2012). Lissiman, Elizabeth (บ.ก.). "Garlic for the common cold". Cochrane Database Syst Rev. 3: CD006206. doi:10.1002/14651858.CD006206.pub3. PMID 22419312.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  78. Murdoch, David R. (3 October 2012). "Effect of Vitamin D3 Supplementation on Upper Respiratory Tract Infections in Healthy Adults<subtitle>The VIDARIS Randomized Controlled Trial</subtitle><alt-title>Vitamin D3 and Upper Respiratory Tract Infections</alt-title>". JAMA: the Journal of the American Medical Association. 308 (13): 1333. doi:10.1001/jama.2012.12505.
  79. Eccles Pg.76
  80. 80.0 80.1 Eccles Pg.90
  81. Eccles Pg. 3
  82. Eccles Pg.6
  83. "Cold". Online Etymology Dictionary. สืบค้นเมื่อ 12 January 2008.
  84. Eccles Pg.20
  85. Tyrrell DA (1987). "Interferons and their clinical value". Rev. Infect. Dis. 9 (2): 243–9. doi:10.1093/clinids/9.2.243. PMID 2438740.
  86. Al-Nakib W, Higgins PG, Barrow I, Batstone G, Tyrrell DA (December 1987). "Prophylaxis and treatment of rhinovirus colds with zinc gluconate lozenges". The Journal of Antimicrobial Chemotherapy. 20 (6): 893–901. doi:10.1093/jac/20.6.893. PMC 7110079. PMID 3440773.
  87. "The Cost of the Common Cold and Influenza". Imperial War Museum: Posters of Conflict. vads. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-27. สืบค้นเมื่อ 2013-02-11.
  88. 88.0 88.1 88.2 Fendrick AM, Monto AS, Nightengale B, Sarnes M (2003). "The economic burden of non-influenza-related viral respiratory tract infection in the United States". Arch. Intern. Med. 163 (4): 487–94. doi:10.1001/archinte.163.4.487. PMID 12588210.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  89. Kirkpatrick GL (December 1996). "The common cold". Primary Care. 23 (4): 657–75. doi:10.1016/S0095-4543(05)70355-9. PMC 7125839. PMID 8890137.
  90. 90.0 90.1 Eccles Pg.226
  91. Rider TH, Zook CE, Boettcher TL, Wick ST, Pancoast JS, Zusman BD (2011). Sambhara S (บ.ก.). "Broad-spectrum antiviral therapeutics". PLOS ONE. 6 (7): e22572. Bibcode:2011PLoSO...622572R. doi:10.1371/journal.pone.0022572. PMC 3144912. PMID 21818340.
  92. Fiona Macrae (11 August 2011), "Greatest discovery since penicillin: A cure for everything - from colds to HIV", The Daily Mail, UK
  93. Val Willingham (February 12, 2009). "Genetic map of cold virus a step toward cure, scientists say". CNN. สืบค้นเมื่อ 28 April 2009.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก