ข้ามไปเนื้อหา

โพรงอากาศอักเสบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Sinusitis)
โพรงอากาศอักเสบ
(Sinusitis)
ชื่ออื่นSinus infection, rhinosinusitis
โพรงอากาศขากรรไกรบนข้างซ้ายอักเสบ (Maxillary sinusitis) (ลูกศร) สังเกตว่าลักษณะโพรงอากาศดูทึบเทียบกับอีกข้างหนึ่งเนื่องจากมีของเหลวจากการอักเสบ
สาขาวิชาโสตศอนาสิกวิทยา
อาการน้ำมูกข้นเหนียว, คัดจมูก, เจ็บใบหน้า, มีไข้[1][2]
สาเหตุการติดเชื้อ (แบคทีเรีย, เชื้อรา, ไวรัส), โรคภูมิแพ้, มลพิษในอากาศ, โครงสร้างจมูกผิดปกติ[2]
ปัจจัยเสี่ยงโรคหอบหืด, ซิสติกไฟโบรซิส, ภูมิคุ้มกันบกพร่อง[1]
วิธีวินิจฉัยส่วนใหญ่ใช้วินิจฉัยจากอาการ[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันไมเกรน[3]
การป้องกันการล้างมือ, การงดสูบบุหรี่
การรักษายาแก้ปวด, ยาพ่นจมูกชนิดสเตียรอยด์, การล้างจมูก, ยาปฏิชีวนะ[1][4]
ความชุกปีละ 10–30% (กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว)[1][5]

โพรงอากาศอักเสบ หรือที่นิยมเรียกกันว่า ไซนัสอักเสบ (อังกฤษ: sinusitis, rhinosinusitis) คือการอักเสบของชั้นเยื่อเมือกภายในโพรงอากาศข้างจมูก หรือ "ไซนัส" ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการมีน้ำมูกข้นเหนียว คัดจมูก และปวดใบหน้าได้[1][6] อาการอื่นๆ ที่อาจพบได้ ได้แก่ มีไข้ ปวดศีรษะ สูญเสียการรับกลิ่น เจ็บคอ และไอ[2] หากเป็นมาไม่เกิน 4 สัปดาห์ เรียกว่า ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน และหากเป็นมานานกว่า 12 สัปดาห์ เรียกว่า ไซนัสอักเสบเรื้อรัง[1]

สาเหตุอาจเกิดจากการติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ มลพิษในอากาศ หรือโครงสร้างในจมูกมีความผิดปกติ[2] โดยส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส[2] ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหืด ซิสติกไฟโบรซิส หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง[1] อาจมีการกลับเป็นซ้ำๆ ได้มากกว่าคนอื่น โดยส่วนใหญ่แล้วสามารถวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องใช้การถ่ายภาพรังสีทางการแพทย์ เว้นแต่จะสงสัยว่ามีภาวะแทรกซ้อน ในรายที่เป็นเรื้อรังสามารถตรวจยืนยันได้ โดยอาจตรวจด้วยการส่องตรวจโดยตรง หรือการทำซีทีสแกนก็ได้[1]

การป้องกันอาจทำได้โดยการล้างมือ งดสูบบุหรี่ และการฉีดวัคซีน[2] การบรรเทาอาการสามารถทำได้โดยใช้ยา เช่น ยาแก้ปวด ยาพ่นจมูกชนิดสเตียรอยด์ และการล้างจมูก[1][4] คำแนะนำในการรักษาแรกเริ่มสำหรับผู้ป่วยไซนัสอักเสบเฉียบพลันคือการสังเกตอาการอย่างระมัดระวัง (watchful waiting)[1] หากอาการไม่ดีขึ้นใน 7-10 วัน หรือมีอาการแย่ลง จึงพิจารณาเริ่มใช้ยาปฏิชีวนะ หรือเปลี่ยนชนิดยาหากใช้มาก่อนแล้ว[1] ในกรณีที่จะต้องใช้ยาปฏิชีวนะมีคำแนะนำให้ใช้ยาอะม็อกซีซิลลิน หรือ อะม็อกซีซิลลินผสมคลาวูโลเนต เป็นอันดับแรก[1] ในผู้ป่วยไซนัสอักเสบเรื้อรังบางรายอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด[7]

ไซนัสอักเสบเป็นโรคที่พบได้บ่อย[1] โดยข้อมูลจากสหรัฐและยุโรปพบว่าในปีหนึ่งๆ จะพบคนทั่วไปประมาณร้อยละ 10-30 ป่วยเป็นไซนัสอักเสบ[1][5] ไซนัสอักเสบเรื้อรังพบได้ในคนร้อยละ 12.5[8] ค่าใช้จ่ายในการรักษาไซนัสอักเสบในสหรัฐคิดเป็นเงินกว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] อีกทั้งยังมีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผลในการรักษาไซนัสอักเสบจากเชื้อไวรัสอยู่บ่อยครั้ง[1]

สาเหตุ

[แก้]

เรื้อรัง

[แก้]

โพรงอากาศอักเสบเรื้อรังคือโพรงอากาศอักเสบที่เป็นอยู่นานกว่า 12 สัปดาห์ เกิดได้จากสาเหตุหลายอย่างที่ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของโพรงอากาศไซนัส แบ่งออกเป็นชนิดย่อยคือแบบมีโพลิปและแบบไม่มีโพลิป

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 Rosenfeld RM, Piccirillo JF, Chandrasekhar SS, Brook I, Kumar KA, Kramper M, Orlandi RR, Palmer JN, Patel ZM, Peters A, Walsh SA, Corrigan MD (April 2015). "Clinical practice guideline (update): Adult Sinusitis Executive Summary". Otolaryngology–Head and Neck Surgery. 152 (4): 598–609. doi:10.1177/0194599815574247. PMID 25833927. S2CID 206469424.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "Sinus Infection (Sinusitis)". cdc.gov. September 30, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2015. สืบค้นเมื่อ 6 April 2015.
  3. "Migraines vs. Sinus Headaches". American Migraine Foundation. สืบค้นเมื่อ 2017-10-23.
  4. 4.0 4.1 King D, Mitchell B, Williams CP, Spurling GK (April 2015). "Saline nasal irrigation for acute upper respiratory tract infections" (PDF). The Cochrane Database of Systematic Reviews. 4 (4): CD006821. doi:10.1002/14651858.CD006821.pub3. PMID 25892369.
  5. 5.0 5.1 Adkinson NF (2014). Middleton's allergy: principles and practice (Eight ed.). Philadelphia: Elsevier Saunders. p. 687. ISBN 9780323085939. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-03.
  6. Head K, Chong LY, Piromchai P, Hopkins C, Philpott C, Schilder AG, Burton MJ (April 2016). "Systemic and topical antibiotics for chronic rhinosinusitis" (PDF). The Cochrane Database of Systematic Reviews. 4: CD011994. doi:10.1002/14651858.CD011994.pub2. PMID 27113482.
  7. "How Is Sinusitis Treated?". April 3, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2015. สืบค้นเมื่อ 6 April 2015.
  8. Hamilos DL (October 2011). "Chronic rhinosinusitis: epidemiology and medical management". The Journal of Allergy and Clinical Immunology. 128 (4): 693–707, quiz 708–9. doi:10.1016/j.jaci.2011.08.004. PMID 21890184.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก