ข้ามไปเนื้อหา

ไขมันอิ่มตัวกับโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

องค์กรทางการแพทย์ ทางวิทยาศาสตร์ ทางสุขภาพหัวใจ และของรัฐบาลโดยมาก เห็นพ้องร่วมกันว่า ไขมันอิ่มตัวเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด (CVD) องค์กรรวมทั้งองค์การอนามัยโลก[1] คณะกรรมการอาหารและสารอาหารของวิทยาลัยการแพทย์แห่งชาติสหรัฐ (NAM)[2] สมาคมอาหารและสารอาหารอเมริกัน (ADA)[3] องค์กรนักโภชนาการแคนาดา (DC)[3] สมาคมอาหารและสารอาหารบริติช (BDA)[4] สมาคมหัวใจอเมริกัน (AHA)[5] มูลนิธิหัวใจบริติช (BHF)[6] องค์กรหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองแห่งแคนาดา[7] สหพันธ์หัวใจแห่งโลก (WHF)[8] บริการสาธารณสุขแห่งชาติบริติช (NHS)[9] องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA)[10] และองค์กรความปลอดภัยของอาหารยุโรป (EFSA)[11] องค์กรเหล่านี้ทั้งหมดแนะนำให้จำกัดการทานไขมันอิ่มตัวเพื่อลดความเสี่ยง

แต่ก็มีงานวิเคราะห์อภิมานที่ตรวจสอบการทดลองทางคลินิกและการศึกษาตามแผน แล้วให้หลักฐานต่อต้านคำแนะนำให้ลดทานไขมันอิ่มตัว[12][13][14][15][16] มีทั้งนักวิทยาศาสตร์[17] และองค์กรการค้า[18] ที่วิจารณ์ต่อต้านคำแนะนำเช่นนี้

การปริทัศน์เป็นระบบ

[แก้]

สาระสำคัญ

[แก้]
งานปริทัศน์เป็นระบบ ความสัมพันธ์ระหว่างโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดกับกรดไขมันอิ่มตัว
American Heart Association: Presidential Advisory on Dietary Fats and Cardiovascular Disease[5] การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมแสดงว่า การลดทานไขมันอิ่มตัวและแทนด้วยไขมันพืชไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) ลดโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดประมาณ 30% ซึ่งใกล้กับที่พบเมื่อรักษาด้วยยาลดไขมันในเส้นเลือด statin
Hamley, 2017[13] งานทบทวนวรรณกรรมนี้ไม่พบผลของการเปลี่ยนไขมันอิ่มตัวเป็นไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) ต่ออัตราการตายแบบรวมหรืออัตราการตายเพราะโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด งานสรุปว่า หลักฐานที่มีจากงานทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่ทำดีพอแสดงว่า การเปลี่ยนไขมันอิ่มตัว (SFA) เป็น n-6 PUFA โดยมากไม่น่าจะลดปัญหาโรคหลอดเลือดหัวใจ, อัตราการตายเพราะโรคหลอดเลือดหัวใจ (CHD) และอัตราการตายโดยรวม ประโยชน์ที่แสดงในงานวิเคราะห์อภิมานก่อน ๆ ปรากฎเพราะรวมการทดลองที่มีกลุ่มควบคุมซึ่งไม่ดีพอ ข้อมูลใหม่นี้มีผลตามมาสำหรับข้อแนะนำอาหารในปัจจุบัน
Hooper, 2015[19] งานทบทวนวรรณกรรมนี้พบว่า การลดไขมันอิ่มตัวโดยเปลี่ยนเป็นไขมันไม่อิ่มตัว ลดความเสี่ยงปัญหาหัวใจร่วมหลอดเลือด 14% แต่ไม่มีผลลดไขมันทั้งหมด ไขมันอิ่มตัวไม่มีผลต่ออัตราการตายโดยรวมหรืออัตราการตายเพราะโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด งานสรุปว่า การเปลี่ยนไขมันอาหารมีผลลดความเสี่ยงโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดเล็กน้อยแต่สำคัญ แต่ไม่ลดไขมันทั้งหมดในงานทดลองที่ยาวกว่า ข้อแนะนำการเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับคนไข้ที่เสี่ยงโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดและแม้แต่กลุ่มประชากรที่เสี่ยงน้อยกว่า ควรคงรวมการลดไขมันอิ่มตัวในอาหารและการทดแทนด้วยไขมันไม่อิ่มตัวโดยทำตลอดชีวิต
Ramsden, 2016[14] งานสรุปว่า หลักฐานจากการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมแสดงว่า การแทนไขมันอิ่มตัวด้วย linoleic acid ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด แต่ไม่สนับสนุนสมมติฐานว่า นี่เท่ากับลดความเสี่ยงตายเพราะโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ หรือลดความเสี่ยงตายเพราะโรคทั้งหมด
de Souza, 2015[15] งานสรุปว่า ไขมันอิ่มตัวไม่สัมพันธ์กับอัตราการตายโดยรวม หรือโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด (CVD) หรือโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ (CHD) หรือโรคหลอดเลือดสมองเหตุขาดเลือด (ischemic stroke) หรือโรคเบาหวานประเภท 2 แต่หลักฐานก็ต่าง ๆ กันเพราะใช้วิธีการต่าง ๆ กัน
Schwab, 2014[20] งานสรุปว่า มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่า การเปลี่ยนกรดไขมันอิ่มตัวเป็นบางส่วนด้วย ไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) ลดความเสี่ยงโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชาย
Chowdhury, 2014[16] งานสรุปว่า หลักฐานที่มีไม่ชัดเจนพอให้สนับสนุนแนวทางที่ให้บริโภคไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) เป็นส่วนมากและไขมันไม่อิ่มตัวเป็นส่วนน้อย
Farvid, 2014[21] งานสรุปว่า ในงานศึกษาตามแผนแบบสังเกต (prospective observational study) กรด linolenic ในอาหารสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ (CHD) ที่ลดลง ข้อมูลนี้สนับสนุนคำแนะนำในปัจจุบันให้เปลี่ยนไขมันอิ่มตัวเป็นไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) เป็นวิธีหลักเพื่อป้องกัน CHD
Ramsden, 2010[22] การเปลี่ยนไขมันอิ่มตัวด้วยกรดไขมันโอเมกา-3 และโอเมกา-6 (ซึ่งเป็นไขมันไม่อิ่มตัวแบบ n-3 และ n-6 PUFA) ลดความเสี่ยงหัวใจล้มที่ไม่ถึงตายและความตายเพราะโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดประมาณ 22% แม้การแทนด้วยกรดไขมันโอเมกา-6 อย่างเดียวจะเพิ่มแนวโน้มความเสี่ยง 13% โดยไม่มีนัยสำคัญ งานสรุปว่า ตามหลักฐานของงานทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมดังกล่าว คำแนะนำให้เพิ่มทาน n-6 PUFA ไม่น่าจะมีประโยชน์และจริง ๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจและการตาย
Jakobsen, 2009[23] นี่เป็นงานวิเคราะห์อภิมานเดียวที่เก็บข้อมูลจากงานศึกษาแบบสังเกตโดยใช้ข้อมูลผู้เข้าร่วมรายบุคคล จึงพิจารณาว่ามีมาตรฐานสูง ข้อมูลที่รวมกันแสดงว่า การทดแทนพลังงานอาหารจากไขมันอิ่มตัวทุก ๆ 5% ด้วยไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) ลดความเสี่ยงปัญหาหลอดเลือดหัวใจประมาณ 13% และลดอัตราการตาย 26% เทียบกับทดแทนด้วยคาร์โบไฮเดรตที่เพิ่มความเสี่ยง 7% และเพิ่มแนวโน้มความเสี่ยงการตายเพราะหลอดเลือดแต่ไม่มีนัยสำคัญ ส่วนการบริโภคกรดไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่เดี่ยว (MUFA) ไม่มีผลต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ

รายละเอียดงานปริทัศน์

[แก้]

ความเห็น

[แก้]

ความเห็นส่วนมาก

[แก้]

ในหนังสือเฉพาะทาง

[แก้]

หนังสือ European Society of Cardiology Textbook of Cardiovascular Medicine ปี 2009 อ้างงานศึกษาตามแผนว่า ความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการทานไขมันกับโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด มาจากไขมันแบบอิ่มตัว[24]

หนังสือ Cardiovascular Prevention and Rehabilitation ปี 2007 อ้างว่า งานศึกษาทางวิทยาการระบาดขนาดใหญ่ได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการทานไขมันอิ่มตัวกับ อัตราการตายเพราะโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจอย่างคงเส้นคงวา[25]

หนังสือ Critical Pathways in Cardiovascular Medicine ปี 2007 อ้างว่า การแทนไขมันอิ่มตัวด้วยไขมันไม่อิ่มตัวอาจลดคอเลสเตอรอลแบบไม่ดี (LDL) โดยไม่ลดคอเลสเตอรอลแบบดี (HDL) หลักการนี้เป็นเหตุส่วนหนึ่งที่อาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนสัมพันธ์กับอัตราการเกิดปัญหาหัวใจร่วมหลอดเลือดที่ลดลงในงานทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมสองงาน[26]

หนังสือ Evidence-based Cardiology ปี 2003 แนะนำให้ทานไขมันอิ่มตัวน้อย โดยเป็นพลังงานอาหารที่ทานน้อยกว่า 7% ต่อวัน และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดไขมันมิริสติกมาก[A] และกรดไขมันปาล์ม[B]โดยเฉพาะ คำแนะนำนี้ประเมินว่า ได้หลักฐานในขั้นดีที่สุด[29]

จุดยืนและแนวทางขององค์กรสุขภาพหลัก ๆ

[แก้]
การแพทย์
[แก้]

ในปี 2003 องค์การอนามัยโลกและองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติออกรายงานของผู้เชี่ยวชาญโดยสรุปว่า "การทานกรดไขมันอิ่มตัวสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดโดยตรง เป้าหมายทั่วไปก็คือให้จำกัดทานกรดไขมันอิ่มตัวให้น้อยกว่า 10% ของพลังงานที่ได้ทั้งวัน และให้น้อยกว่า 7% สำหรับกลุ่มเสี่ยง ถ้ากลุ่มประชากรทานน้อยกว่า 10% อยู่แล้ว ก็ไม่ควรเพิ่มให้มากกว่านี้ และภายในขีดจำกัดเช่นนี้ ให้เปลี่ยนอาหารที่มีกรดไขมันมิริสติก[A]และกรดไขมันปาล์ม[B] เป็นอาหารที่มีน้ำมันเช่นนี้น้อยลง แต่ในประเทศกำลังพัฒนาที่กลุ่มประชากรบางพวกได้พลังงานไม่พอ ใช้พลังงานมาก และร่างกายสะสมไขมันน้อย (ดัชนีมวลกาย <18.5 กก./ม.2) ควรพิจารณาทั้งคุณภาพและปริมาณของไขมันโดยนึกถึงความจำเป็นเพื่อให้ได้พลังงานพอด้วย เพราะแหล่งไขมันอิ่มตัวบางอย่าง เช่น น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์ม อาจให้พลังงานในราคาย่อมเยา และอาจเป็นแหล่งพลังงานสำคัญสำหรับคนจน"[1]

แนวทางปี 2007 ของสมาคมหทัยวิทยายุโรป (ESC) อ้างว่า การทานไขมันอิ่มตัวสัมพันธ์อย่างมีกำลัง อย่างคงเส้นคงวา และเป็นไปตามขนาด กับระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและการเกิดโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด และยอมรับว่า นี่เป็นความสัมพันธ์โดยเหตุ[30]

คลินิกมาโย (Mayo Clinic) พิจารณาไขมันอิ่มตัวว่าอาจเป็นอันตราย และไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่เดี่ยว (MUFA) และแบบมีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) ว่าอาจมีประโยชน์ องค์กรอ้างอิงรายงาน แนวทางอาหารสำหรับชาวอเมริกัน 2010 (Dietary Guidelines for Americans) แนะนำให้ลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมาก และเน้นทานอาหารที่มีไขมันแบบไม่อิ่มตัวทั้งแบบมีพันธะคู่เดี่ยว (MUFA) และแบบพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) มากกว่า[31]

สมาคมอาหารและสารอาหารบริติช (ฺBDA) พบหลักฐานที่ดีในงานปริทัศน์เป็นระบบซึ่งทบทวนงานทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมว่า การลดไขมันอิ่มตัวทำให้คนไข้โรคหัวใจร่วมหลอดเลือดดีขึ้น[32]

สมาคมอาหารและสารอาหารอเมริกัน (ADA) องค์กรนักโภชนาการแคนาดา (DC) มีจุดยืนว่า งานศึกษาวิทยาการระบาดแสดงว่า การทานกรดไขมันอิ่มตัวสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ[3]

คณะสาธารณสุขของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมีจุดยืนว่า ควรแทนที่ไขมันอิ่มตัวด้วยไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่เดี่ยว (MUFA) หรือหลายคู่ (PUFA) แบบ cis แต่ไม่ควรแทนด้วยคาร์โบไฮเดรตขัดสี[33]

องค์กรสุขภาพหัวใจ
[แก้]

มูลนิธิหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองแห่งแคนาดาประเมินว่า การทานไขมันอิ่มตัวเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลแบบไม่ดี (LDL) ในเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด[34] เป็นจุดยืนเช่นเดียวกัยของสมาคมหัวใจอเมริกัน (AHA)[5] ของมูลนิธิหัวใจบริติช (BHF)[6] ของมูลนิธิหัวใจแห่งชาติออสเตรเลีย[35] ของมูลนิธิหัวใจแห่งชาตินิวซีแลนด์[36] และของสหพันธ์หัวใจแห่งโลก (WHF)[8]

ส่วนมูลนิธิหัวใจไอริชอ้างว่า ไขมันอิ่มตัวอาจเพิ่มคอเลสเตอรอลแบบไม่ดี (LDL) และเพิ่มโอกาสการเกิดโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมอง[37]

รัฐบาล
[แก้]

กระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA) และกระทรวงสาธารสุขสหรัฐ (HHS) ซึ่งมีหน้าที่ตีพิมพ์ แนวทางอาหารสำหรับชาวอเมริกัน 2010 (The Dietary Guidelines for Americans) กล่าวว่า ร่างกายมนุษย์ผลิตไขมันอิ่มตัวได้เองเพียงพอและไม่จำเป็นต้องได้จากอาหาร กล่าวว่า ไขมันอิ่มตัวที่สูงกว่าสัมพันธ์กับการมีคอเลสเตอรอลทั้งหมด (total cholesterol) และคอเลสเตอรอลแบบไม่ดี (LDL) ที่สูงกว่า และแนะนำให้ลดทานไขมันอิ่มตัว[38] เป็นการแนะนำอาศัยงานทบทวนวรรณกรรม 12 งานระหว่างปี 2004-2009 ที่ได้สรุปโดยมีหลักฐานที่ดี (strong) ว่า ไขมันอิ่มตัวจากอาหารเพิ่มคอเลสเตอรอลทั้งหมดและแบบ LDL ตลอดจนเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด[39][40]

บทความบรรณาธิการ ความเห็น และข้อสรุปงานประชุม

[แก้]

การอภิปรายปี 2010 ที่งานประชุมของสถาบันอาหารและสารอาหาร (Academy of Nutrition and Dietetics) สรุปว่า ในเรื่องไขมันอิ่มตัว ประเด็นสำคัญที่คณะกรรมการและชุมชนนักวิทยาศาสตร์เห็นร่วมกันก็คือ การแทนไขมันอิ่มตัวด้วยไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) มีประโยชน์ต่อสุขภาพและโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด แนะนำให้นักโภชนาการเน้นใช้ไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่เดี่ยว (MUFA) และหลายคู่ (PUFA) เท่าที่ทำได้ และให้เลี่ยงไขมันทรานส์ อนึ่ง แม้หลักฐานต่อต้านไขมันอิ่มตัวอาจจะไม่ดีเท่าที่แนวทางการทานอาหารต่าง ๆ จะยกขึ้น แต่ก็ชัดเจนว่า PUFA และ MUFA เป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพ และแม้ไม่อาจกำจัดไขมันอิ่มตัวออกจากอาหารที่ทานได้ ก็ไม่ควรมองว่าดีต่อร่างกาย[41]

งานทบทวนวรรณกรรมปี 2010 พบว่า ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจจะลดลงเมื่อแทนกรดไขมันอิ่มตัวด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) แต่ไม่มีประโยชน์ถ้าแทนด้วยคาร์โบไฮเดรตหรือไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่เดียว (MUFA)[42]

งานทบทวนวรรณกรรมปี 2009 พบว่า หลักฐานที่คุณภาพดีสุดแสดงว่า การลดทานไขมันอิ่มตัวลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ[43]

งานทบทวนวรรณกรรมปี 2009 อีกงานหนึ่งพบว่า หลักฐานทางวิทยาการระบาดแสดงนัยว่า ไขมันอิ่มตัวมีผลลบต่อเส้นเลือด แต่หลักฐานแบบทดลองไม่สนับสนุนข้อสรุปเช่นนี้อย่างน่าเชื่อถือ[44]

การคัดค้านความเห็นหลัก

[แก้]

รายงานการประชุมทางวิทยาศาสตร์ปี 2009 ระบุว่า แม้ผลิตภัณฑ์นมที่ทานในอาหารจะมีไขมันอิ่มตัว แต่หลักฐานก็ไม่ชัดเจนว่า การบริโภคผลิตภัณฑ์นมสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดอย่างคงเส้นคงวา[45]

นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มวิจารณ์ แนวทางอาหารสำหรับชาวอเมริกัน 2010 ว่า "อ้างหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างไม่สมบูรณ์ ซึ่งแสดง ตีความ และย่อความวรรณกรรมที่มีอย่างไม่ถูกต้อง แล้วสรุปหรือแนะนำโดยไม่พิจารณาข้อจำกัดหรือข้อขัดแย้งที่มีทางวิทยาศาสตร์" และอ้างว่า หลักฐานที่สัมพันธ์ไขมันอิ่มตัวในอาหารกับการเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดยังไม่สามารถสรุปได้[17]

งานวิเคราะห์อภิมานปี 2010 สรุปว่า ไม่มีหลักฐานยืนยันว่า ไขมันอิ่มตัวในอาหารสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด[12] แต่ข้อสรุปนี้ก็ถูกโต้แย้ง[46] และผู้เขียนงานเองก็ระบุในภายหลังว่า "คำถามสำคัญข้อหนึ่งก็คือ สารอาหารอะไรควรใช้แทนที่ไขมันอิ่มตัว... งานศึกษาทางวิทยาการระบาดและงานทดลองทางคลินิกแบบสุ่มได้แสดงหลักฐานอย่างคงเส้นคงว่าว่า การเปลี่ยนไขมันอิ่มตัวด้วยไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) แต่ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรต มีประโยชน์ต่อโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ"[47]

ในปี 2015 วารสารการแพทย์เดอะบีเอ็มเจ ได้พิมพ์ (ใน op-ed) ความเห็นของนักวิชาการผู้หนึ่งต่อต้านการแนะนำให้ทานไขมันอิ่มตัวน้อยลง โดยย่อความงานปริทัศน์เป็นระบบและงานวิเคราะห์อภิมาน แล้วเสนอว่า ผลของการลดไขมันอิ่มตัวในอาหารต่อความชุกโรคของโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดไม่มีนัยสำคัญ[48] แต่นักวิทยาศาสตร์กว่า 180 ท่านต่อมาก็ได้เรียกร้องให้ถอนบทความนี้[49][50] จึงกลายเป็นบทความที่ถูกแก้ถึง 2 ครั้ง[51][52]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 กรดไขมันมิริสติก (อังกฤษ: Myristic acid, ชื่อ IUPAC คือ 1-tetradecanoic acid) เป็นกรดไขมันอิ่มตัวสามัญที่มีสูตรเคมี CH3(CH2)12COOH นอกจากจะมีในจันทน์เทศซึ่งเป็นพืชที่ค้นพบไขมันโดยดั้งเดิมแล้ว ยังพบในน้ำมันเมล็ดปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ไขมันเนย นมวัวควาย (8-14%) นมมนุษย์ (8.6%) และเป็นส่วนประกอบรองของไขมันสัตว์ต่าง ๆ[27]
  2. 2.0 2.1 กรดไขมันปาล์ม (อังกฤษ: palmitic acid ชื่อ IUPAC คือ hexadecanoic acid ) เป็นไขมันอิ่มตัวสามัญที่สุดในสัตว์ พืช และจุลินทรีย์[28] มีสูตรเคมี CH3(CH2)14COOH และมีอัตรา C:D เท่ากับ 16:0 ตามชื่อ เป็นองค์กอบสำคัญจากไขมันปาล์ม แต่ก็พบในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ชีส เนย และนม สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ มากมายผลิตไขมันปาล์มปกติในระดับน้อย ๆ และมีโดยธรรมชาติในเนย ชีส นม และเนื้อสัตว์ ตลอดจนเนยโกโก้ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Joint WHO/FAO Expert Consultation (2003). Diet, Nutrition and the Prevention of Chronic Diseases (WHO technical report series 916) (PDF). World Health Organization. pp. 81–94. ISBN 92-4-120916-X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ July 24, 2015. สืบค้นเมื่อ 2011-03-11.
  2. Food and Nutrition Board (2005). "10: Dietary Fats: Total Fat and Fatty Acids". Dietary Reference Intakes for Energy, Carbohydrate, Fiber, Fat, Fatty Acids, Cholesterol, Protein, and Amino Acids. Washington, DC: National Academies Press. p. 422. สืบค้นเมื่อ 2017-07-25.
  3. 3.0 3.1 3.2 Kris-Etherton, PM; Innis, S; American Dietetic, Association; Dietitians Of, Canada (September 2007). "Position of the American Dietetic Association and Dietitians of Canada: Dietary Fatty Acids" (PDF). Journal of the American Dietetic Association. 107 (9): 1599-1611 [1603]. doi:10.1016/j.jada.2007.07.024. PMID 17936958. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.
  4. "Food Fact Sheet - Cholesterol" (PDF). British Dietetic Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ February 1, 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-05-03.
  5. 5.0 5.1 5.2 Sacks, Frank M.; Lichtenstein, Alice H.; Wu, Jason H.Y.; Appel, Lawrence J.; Creager, Mark A.; Kris-Etherton, Penny M.; Miller, Michael; Rimm, Eric B.; Rudel, Lawrence L.; Robinson, Jennifer G.; Stone, Neil J.; Van Horn, Linda V. (June 15, 2017). "Dietary Fats and Cardiovascular Disease: A Presidential Advisory From the American Heart Association" (PDF). Circulation. 136: CIR.0000000000000510. doi:10.1161/CIR.0000000000000510.
  6. 6.0 6.1 "Fats explained". สืบค้นเมื่อ 2012-05-03.
  7. "Dietary fats, oils and cholesterol". Heart and Stroke Foundation of Canada. สืบค้นเมื่อ 2017-07-25.
  8. 8.0 8.1 "Cardiovascular Disease Risk Factors". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 10, 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-05-03.
  9. "Eat less saturated fat". National Health Service. สืบค้นเมื่อ 2012-05-03.
  10. "Nutrition Facts at a Glance - Nutrients: Saturated Fat". Food and Drug Administration. December 22, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 17, 2011. สืบค้นเมื่อ 2012-05-03.
  11. "Scientific Opinion on Dietary Reference Values for fats, including saturated fatty acids, polyunsaturated fatty acids, monounsaturated fatty acids, trans fatty acids, and cholesterol". European Food Safety Authority. สืบค้นเมื่อ 2012-05-03.
  12. 12.0 12.1 Siri-Tarino, Patty W.; Sun, Qi; Hu, Frank B.; Krauss, Ronald M. (March 2010). "Meta-analysis of prospective cohort studies evaluating the association of saturated fat with cardiovascular disease". The American Journal of Clinical Nutrition. 91 (3): 535–46. doi:10.3945/ajcn.2009.27725. PMC 2824152. PMID 20071648.
  13. 13.0 13.1 Hamley, Steven (2017-05-19). "The effect of replacing saturated fat with mostly n-6 polyunsaturated fat on coronary heart disease: a meta-analysis of randomised controlled trials" (PDF). Nutrition Journal. 16: 30. doi:10.1186/s12937-017-0254-5. PMC 5437600. PMID 28526025.
  14. 14.0 14.1 Ramsden, Christopher E; Zamora, Daisy; Majchrzak-Hong, Sharon; Faurot, Keturah R.; Broste, Steven K.; Frantz, Robert P.; Davis, John M.; Ringel, Amit; Suchindran, Chirayath M.; Hibbeln, Joseph R (2016). "Re-evaluation of the traditional diet-heart hypothesis: analysis of recovered data from Minnesota Coronary Experiment (1968-73)". The BMJ. 353: i1246. doi:10.1136/bmj.i1246. PMC 4836695. PMID 27071971.
  15. 15.0 15.1 de Souza, Russell J.; Mente, Andrew; Maroleanu, Adriana; Cozma, Adrian I.; Ha, Vanessa; Kishibe, Teruko; Uleryk, Elizabeth; Budylowski, Patrick; Schünemann, Holger; Beyene, Joseph; Anand, Sonia S. (2015). "Intake of saturated and trans unsaturated fatty acids and risk of all cause mortality, cardiovascular disease, and type 2 diabetes: Systematic review and meta-analysis of observational studies". The BMJ. 351: h3978. doi:10.1136/bmj.h3978. PMC 4532752. PMID 26268692.
  16. 16.0 16.1 Chowdhury, Rajiv; และคณะ (2014-03-18). "Association of Dietary, Circulating, and Supplement Fatty Acids With Coronary Risk: A Systematic Review and Meta-analysis". Annals of Internal Medicine. 160 (6): 398–406. doi:10.7326/M13-1788. PMID 24723079.
  17. 17.0 17.1 Hite, Adele H.; Feinman, Richard David; Guzman, Gabriel E.; Satin, Morton; Schoenfeld, Pamela A.; Wood, Richard J. (2010). "In the face of contradictory evidence: Report of the Dietary Guidelines for Americans Committee". Nutrition. 26 (10): 915–24. doi:10.1016/j.nut.2010.08.012. PMID 20888548.
  18. Mente, Andrew. "New evidence reveals that saturated fat does not increase the risk of cardiovascular disease". Dairy Nutrition. Dairy Farmers of Canada. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.
  19. Hooper, Lee; Summerbell, Carolyn D.; Thompson, Rachel; Sills, Deirdre; Roberts, Felicia G.; Moore, Helen J.; Smith, George Davey (April 2016). "Reduced or modified dietary fat for preventing cardiovascular disease" (PDF). Sao Paulo Medical Journal. 134 (2): 182–3. doi:10.1590/1516-3180.20161342T1. PMID 27224282.
  20. Schwab, Ursula; Lauritzen, Lotte; Tholstrup, Tine; Haldorssoni, Thorhallur; Riserus, Ulf; Uusitupa, Matti; Becker, Wulf (July 10, 2014). "Effect of the amount and type of dietary fat on cardiometabolic risk factors and risk of developing type 2 diabetes, cardiovascular diseases, and cancer: a systematic review". Food & Nutrition Research. 58: 25145. doi:10.3402/fnr.v58.25145. PMC 4095759. PMID 25045347.
  21. Farvid, Maryam S.; Ding, Ming; Pan, An; Sun, Qi; Chiuve, Stephanie E.; Steffen, Lyn M.; Willett, Walter C.; Hu, Frank B. (October 28, 2014). "Dietary Linoleic Acid and Risk of Coronary Heart Disease: A Systematic Review and Meta-Analysis of Prospective Cohort StudiesCLINICAL PERSPECTIVE" (PDF). Circulation. 130 (18): 1568–1578. doi:10.1161/CIRCULATIONAHA.114.010236. PMC 4334131. PMID 25161045.
  22. Ramsden, CE; Hibbeln, JR; Majchrzak, SF; Davis, JM (December 2010). "n-6 fatty acid-specific and mixed polyunsaturate dietary interventions have different effects on CHD risk: a meta-analysis of randomised controlled trials". Br J Nutr. 104 (11): 1586–600. doi:10.1017/S0007114510004010. PMID 21118617. สืบค้นเมื่อ 2017-07-26.
  23. Jakobsen, MU; O'Reilly, EJ; Heitmann, BL; Pereira, MA; Bälter, K; Fraser, GE; Goldbourt, U; Hallmans, G; Knekt, P; Liu, S; Pietinen, P; Spiegelman, D; Stevens, J; Virtamo, J; Willett, WC; Ascherio, A (May 2009). "Major types of dietary fat and risk of coronary heart disease: a pooled analysis of 11 cohort studies". Am J Clin Nutr. 85 (5): 1425–32. doi:10.3945/ajcn.2008.27124. PMC 2676998. PMID 19211817. สืบค้นเมื่อ 2017-07-26.
  24. Camm, John; Luscher, Thomas; Serruys, Patrick (2009). The European Society of Cardiology Textbook of Cardiovascular Medicine. Blackwell Publishing. p. 257. ISBN 978-0-19-957285-4.
  25. Perk, J; และคณะ (2007). Cardiovascular Prevention and Rehabilitation. Springer-Verlag London Limited. p. 184. ISBN 978-1-84628-462-5.
  26. Cannon, Christopher; O'Gara, Patrick (2007). Critical Pathways in Cardiovascular Medicine (2nd ed.). Lippincott Williams & Wilkins. p. 243.
  27. "Lexicon of lipid nutrition". 2001. doi:10.1351/pac200173040685. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  28. Gunstone, FD; Harwood, John L; Dijkstra., Albert J (2007). The Lipid Handbook (3rd ed.). Boca Raton: CRC Press. ISBN 978-0849396885.
  29. Yusuf, Salim; Cairns, John A.; Camm, A. John; Fallen, Ernest L.; Gersh, Bernard J. (2002). Evidence-Based Cardiology (2nd ed.). BMJ Books. PartII: Prevention of cardiovascular diseases, p. 320. ISBN 0-7279-1699-8.
  30. European Society of Cardiology; Atar; Borch-Johnsen; Boysen; Burell; Cifkova; Dallongeville; De Backer; Ebrahim; Gjelsvik; Herrmann-Lingen; Hoes; Humphries; Knapton; Perk; Priori; Pyorala; Reiner; Ruilope; Sans-Menendez; Scholte Op Reimer; Weissberg; Wood; Yarnell; Zamorano; Walma; Fitzgerald; Cooney; Dudina; European Society of Cardiology (ESC) Committee for Practice Guidelines (CPG) (2007). "European guidelines on cardiovascular disease prevention in clinical practice: executive summary" (PDF). European Heart Journal. 28 (19): 2375–2414. doi:10.1093/eurheartj/ehm316. PMID 17726041.
  31. "Dietary fats: Know which types to choose". Mayo Clinic. February 2, 2016.
  32. Mead, A.; และคณะ (December 2006). "Dietetic guidelines on food and nutrition in the secondary prevention of cardiovascular disease - evidence from systematic reviews of randomized controlled trials (second update, January 2006)". Journal of Human Nutrition and Dietetics (ตีพิมพ์ 2016-11-10). 19 (6): 401–419. doi:10.1111/j.1365-277X.2006.00726.x. PMID 17105538.
  33. "Fats and Cholesterol". Harvard T.H. Chan School of Public Health. สืบค้นเมื่อ 2016-02-11.
  34. "Dietary fats, oils and cholesterol". Heart and Stroke Foundation of Canada. สืบค้นเมื่อ 2017-07-24.
  35. "'Reduce saturated fat' urges Heart Foundation after major review" (PDF). National Heart Foundation of Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-12-24. สืบค้นเมื่อ 2014-12-24.
  36. "Is butter good for you?". The National Heart Foundation of New Zealand. 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-07-24.
  37. "Cholesterol". Irish Heart Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 29, 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-07-24.
  38. U.S. Department of Agriculture; U.S. Department of Health and Human Services (December 2010). Dietary Guidelines for Americans, 2010 (7th ed.). Washington, DC: U.S. Government Printing Office.
  39. "What is the effect of saturated fat intake on increased risk of cardiovascular disease or type 2 diabetes?". USDA Nutrition Evidence Library. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 7, 2013. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  40. "Report of the Dietary Guidelines Advisory Committee on the Dietary Guidelines for Americans". Dietary Guidelines Advisory Committee. June 14, 2010. Part D. Section 3: Fatty Acids and Cholesterol. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 17, 2011.
  41. Zelman, K. (2011). "The Great Fat Debate: A Closer Look at the Controversy—Questioning the Validity of Age-Old Dietary Guidance" (PDF). Journal of the American Dietetic Association. 111 (5): 655–658. doi:10.1016/j.jada.2011.03.026. PMID 21515106. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-01-31. สืบค้นเมื่อ 2018-10-29.
  42. Astrup, A; Dyerberg, J.; Elwood, P.; Hermansen, K.; Hu, F. B.; Jakobsen, M. U.; Kok, F. J.; Krauss, R. M.; Lecerf, J. M.; และคณะ (January 2011). "The role of reducing intakes of saturated fat in the prevention of cardiovascular disease: where does the evidence stand in 2010?". American Journal of Clinical Nutrition. 93 (4): 684–688. doi:10.3945/ajcn.110.004622. PMC 3138219. PMID 21270379.
  43. Lottenberg, AMP (July 2009). "Importancia da gordura alimentar na prevencao e no controle de disturbios metabolicos e da doenca cardiovascular" [Importance of the dietary fat on the prevention and control of metabolic disturbances and cardiovascular disease]. Arquivos Brasileiros de Endocrinologia e Metabologia (ภาษาโปรตุเกส). 53 (5): 595–607. doi:10.1590/S0004-27302009000500012. ISSN 0004-2730. PMID 19768250.
  44. Hall, WL (June 2009). "Dietary saturated and unsaturated fats as determinants of blood pressure and vascular function". Nutrition Research Reviews. 22 (1): 18–38. doi:10.1017/S095442240925846X. PMID 19243668.
  45. German, J. Bruce; และคณะ (June 2009). "A reappraisal of the impact of dairy foods and milk fat on cardiovascular disease risk" (PDF). European Journal of Nutrition. 48 (4): 191–203. doi:10.1007/s00394-009-0002-5. PMC 2695872. PMID 19259609.
  46. Stamler, Jeremiah (February 3, 2010). "Diet-heart: a problematic revisit". The American Journal of Clinical Nutrition. 91 (3): 497–99. doi:10.3945/ajcn.2010.29216. PMID 20130097. The authors are inaccurate in concluding that 'there are few epidemiologic or clinical trial data to support a benefit of replacing saturated fat with carbohydrate
  47. Siri-Tarino, Patty W.; Sun, Qi; Hu, Frank B.; Krauss, Ronald M. (November 2010). "Saturated Fatty Acids and Risk of Coronary Heart Disease: Modulation by Replacement Nutrients". Current Atherosclerosis Reports. 12 (6): 384–90. doi:10.1007/s11883-010-0131-6. PMC 2943062. PMID 20711693. สืบค้นเมื่อ 2017-07-17.
  48. Teicholz, N (2015). "The scientific report guiding the US dietary guidelines: Is it scientific?". BMJ (Clinical Research Ed.). 355: i6061. doi:10.1136/bmj.h4962. PMID 27913380.
    expanded in book: Teicholz, Nina (2015). The Big Fat Surprise: Why Butter, Meat and Cheese Belong in a Healthy Diet. Simon & Schuster. ISBN 978-1451624434.
  49. "Letter Requesting BMJ to Retract "Investigation"". Washington, DC: Center for Science in the Public Interest. November 5, 2015. สืบค้นเมื่อ 2018-07-02.
  50. Liebman, Bonnie (December 17, 2015). "Request for retraction: The scientific report guiding the US dietary guidelines: is it scientific?". BMJ. 351: h4962. doi:10.1136/bmj.h4962. PMID 27913380.
  51. "Corrections (1) : The scientific report guiding the US dietary guidelines: is it scientific?". BMJ. 351: h5686. October 23, 2015. doi:10.1136/bmj.h5686.
  52. "Corrections (2) : The scientific report guiding the US dietary guidelines: is it scientific?". BMJ. 355: i6061. December 2, 2016. doi:10.1136/bmj.i6061.