ข้ามไปเนื้อหา

ข้อมูลผู้เข้าร่วมรายบุคคล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การใช้ ข้อมูลผู้เข้าร่วมรายบุคคล หรือ ข้อมูลคนไข้รายบุคคล (อังกฤษ: individual participant data, individual patient data ตัวย่อ IPD) เป็นวิธีการทำงานวิเคราะห์อภิมานแบบหนึ่งที่เก็บข้อมูลแต่ละรายการโดยเป็นรายบุคคลจากงานศึกษาต่าง ๆ ที่กำลังวิเคราะห์ เพราะสามารถทำได้อย่างแม่นยำและกลมกลืนกันมาก จึงทำให้นักวิจัยสามารถลดความหลากหลายของการทดลองได้มากที่สุด และจึงพิจารณาว่า เป็นมาตรฐานดีสุดของงานวิเคราะห์อภิมาน[1] เทียบกับงานวิเคราะห์อภิมานอื่น ๆ ที่ไม่ใช้ข้อมูลผู้ป่วยแต่ละราย แต่ใช้ข้อมูลรวม (aggregate data, AD) แม้การวิเคราะห์ข้อมูลรวมจะใช้มานานกว่า แต่การเก็บข้อมูลแบบรายบุคคลก็นิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[2] งานวิเคราะห์อภิมานเช่นนี้มักจะเป็นโครงการใหญ่โดยมีประเทศต่าง ๆ ร่วมมือกัน และมีข้อจำกัดน้อยกว่าในเรื่องข้อมูลที่มีให้ใช้และคุณภาพข้อมูลที่สามารถใช้[3] คณะกรรมการบรรณาธิการวารสารการแพทย์นานาชาติ (ICMJE) ได้ระบุว่า การเผยแพร่ข้อมูลผู้เข้าร่วม/อาสาสมัครเป็นรายบุคคล (แต่ตัดข้อมูลระบุบุคคล) เพื่อให้ใช้ร่วมกันเป็นเรื่องจำเป็นทางจริยธรรม[4]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. "Systematic review of methods for individual patient data meta-analysis with binary outcomes". BMC Medical Research Methodology. 2014. doi:10.1186/1471-2288-14-79.
  2. "Meta-analysis of individual participant data: rationale, conduct, and reporting". BMJ. 2010. doi:10.1136/bmj.c221.
  3. "How individual participant data meta-analyses have influenced trial design, conduct, and analysis". Journal of Clinical Epidemiology. 2015. doi:10.1016/j.jclinepi.2015.05.024.
  4. "Sharing Clinical Trial Data: A Proposal From the International Committee of Medical Journal Editors". Annals of Internal Medicine. 2016. doi:10.7326/M15-2928.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]