อาหารกับโรคมะเร็ง
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/3/3d/Make_healthy_choices_poster.jpg/220px-Make_healthy_choices_poster.jpg)
อาหารมีผลสำคัญต่อความเสี่ยงโรคมะเร็ง โดยอาหารบางอย่างอาจเพิ่มและบางอย่างอาจลดความเสี่ยง และโดยรวม ๆ แล้ว ปัจจัยต่าง ๆ รวมทั้งอาหาร การไม่ออกกำลังกาย และโรคอ้วนอาจจะสัมพันธ์กับความตายจากมะเร็งในอัตราถึง 30-35%[1] แต่ก็มีงานทบทวนวรรณกรรมปี 2554 ที่เสนอว่า พลังงานจากอาหารที่บริโภคมีอิทธิพลต่ออุบัติการณ์ของมะเร็ง และอาจมีผลต่อการเติบโตของมะเร็งด้วย ไม่ใช่อาหารชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ[2] แม้ว่าจะมีคำแนะนำมากมายหลายอย่างเกี่ยวกับอาหารเพื่อลดความเสี่ยงต่อมะเร็ง แต่มีน้อยอย่างที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ดี[2] แต่ทั้งโรคอ้วนและการดื่มเหล้า มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นเหตุของมะเร็ง[2] ดังนั้น รายงานปี 2557 ขององค์การอนามัยโลก จึงแนะนำให้ลดการบริโภคเครื่องดื่มหวาน ๆ เพื่อแก้ปัญหาโรคอ้วน[3] แม้ว่าอาหารที่มีผักผลไม้น้อยและมีเนื้อแดงมากอาจเป็นปัจจัยเสี่ยง แต่ก็ยังไม่มีการยืนยันที่ชัดเจน[4] และอาจมีผลน้อยต่อบุคคลที่ทานอาหารสมบูรณ์และมีน้ำหนักที่เหมาะสม[2]
แต่ก็มีอาหารบางประเภทโดยเฉพาะ ที่สัมพันธ์กับมะเร็งบางอย่าง คือ มีงานศึกษาที่สัมพันธ์การบริโภคเนื้อแดง หรือเนื้อที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตเพื่อเพิ่มรสชาติหรือเพื่อให้เก็บได้นาน (processed meat) กับการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่[3] มะเร็งต่อมลูกหมาก[5] และมะเร็งตับอ่อน ซึ่งอธิบายเป็นบางส่วนได้ว่าเป็นเพราะมีสารก่อมะเร็งที่เกิดขึ้นเพราะผ่านความร้อนสูง[6][7] และเพราะมีอะฟลาทอกซินที่เป็นสารปนเปื้อนสามัญและทำให้เกิดมะเร็งตับ[8] ส่วนการดื่มกาแฟสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งตับที่ต่ำกว่า[9] การเคี้ยวหมากก่อให้เกิดมะเร็งปาก[8] และการบริโภคอาหารที่ต่าง ๆ กันอาจอธิบายอุบัติการณ์ของมะเร็งที่ต่าง ๆ กันในประเทศต่าง ๆ ได้โดยบางส่วน ยกตัวอย่างเช่น มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นเรื่องสามัญกว่าในประเทศญี่ปุ่นเพราะทานอาหารที่เค็มกว่า[8][10] และมะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดขึ้นอย่างสามัญกว่าในสหรัฐอเมริกา ผู้ที่อพยพย้ายถิ่นฐานมักจะเกิดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเหมือนกับคนพื้นเมือง บางครั้งแม้ภายในชั่วยุคคนเดียว ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างอาหารกับมะเร็ง[11]
คำแนะนำทางอาหารเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปกติจะรวมการรักษาน้ำหนักตัว การรับประทานพืชผักผลไม้ ธัญพืชที่ไม่ขัดสี และปลา เป็นหลัก และการลดการบริโภคเนื้อแดง ไขมันสัตว์ และน้ำตาล[2]
ประเภทต่าง ๆ ของอาหาร
[แก้]การทานอาหารแบบจำกัดอย่าง
[แก้]มีอาหารหรือวิธีบำบัดด้วยอาหารหลายอย่างที่อ้างว่า ได้ผลในการป้องกันรักษามะเร็ง รวมทั้ง Breuss diet, Gerson therapy, Budwig protocol และอาหารแมคโครไบโอติก ซึ่งล้วนแต่ไม่มีประสิทธิผล และมีบางอย่างที่อาจเป็นอันตราย[12] นอกจากนั้นแล้ว ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนให้ใช้ ketogenic diet (อาหารไขมันสูง โปรตีนพอประมาณ และคาร์โบไฮเดรตต่ำ ซึ่งมักใช้ในโรคลมชักวัยเด็ก) เป็นการบำบัดมะเร็งแบบมาตรฐาน[13]
รูปแบบอาหาร
[แก้]นักวิทยาการระบาดโภชนาการใช้การวิเคราะห์หลายตัวแปร เช่น principal components analysis และ การวิเคราะห์ปัจจัย (factor analysis) เพื่อวัดว่ารูปแบบการบริโภคอาหารเช่นใดมีอิทธิพลต่อความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็ง[14] (ซึ่งรูปแบบการทานอาหารที่มีงานศึกษามากที่สุดก็คืออาหารเมดิเตอร์เรเนียน) โดยขึ้นอยู่กับคะแนนที่ได้เกี่ยวกับอาหารที่บุคคลบริโภค นักวิทยาการระบาดก็จะจัดคนนั้นเข้ากลุ่มเป็น quantile และเพื่อที่จะประเมินอิทธิพลที่อาหารมีต่อความเสี่ยงมะเร็ง นักวิทยาการระบาดก็จะวัดความสัมพันธ์ระหว่าง quantile กับการแจกแจงความน่าจะเป็นของความชุกมะเร็ง (cancer prevalence) โดยใช้งานศึกษาแบบ case-control study (หรืองานศึกษาตามรุ่นย้อนหลัง) และกับอุบัติการณ์ของมะเร็ง (cancer incidence) โดยใช้งานศึกษาตามยาว นักวิทยาการระบาดปกติจะต้องรวมตัวแปรอื่น ๆ ในแบบจำลองเชิงสถิติเพื่อควบคุมความแตกต่างอื่น ๆ ระหว่างบุคคลที่มีและไม่มีโรคมะเร็ง (คือควบคุมตัวแปรกวน)
งานทบทวนวรรณกรรมปี 2553 พบว่า หญิงที่รับประทานอาหาร "ที่ระมัดระวังและดีต่อสุขภาพ" มากกว่า ซึ่งก็คือ มีผักผลไม้มากกว่า มักจะมีความเสี่ยงต่อมะเร็งน้อยกว่า[15] ส่วนหญิงที่มีรูปแบบอาหารแบบชอบดื่มเหล้า สัมพันธ์กับความเสี่ยงมะเร็งเต้านมที่สูงกว่า แต่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างอาหารแบบชาวตะวันตกกับความเสี่ยงมะเร็งเต้านมที่สูงขึ้นยังไม่ชัดเจน
ส่วนประกอบอาหาร
[แก้]แอลกอฮอล์
[แก้]แอลกอฮอล์ (เช่นในสุรา) สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อโรคมะเร็งต่าง ๆ[16] คือ 3.6% ของผู้มีโรคมะเร็งทั้งหมด และ 3.5% ของความตายจากมะเร็งทั้งหมด มีเหตุมาจากการดื่มสุรา[17] มะเร็งเต้านมในหญิงก็สัมพันธ์กับการดื่มแอลกอฮอล์ด้วย[2][18] นอกจากนั้นแล้ว แอลกอฮอล์ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปาก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งคอหอย มะเร็งกล่องเสียง[19] มะเร็งลำไส้ใหญ่[20][21] มะเร็งตับ[22] มะเร็งกระเพาะอาหาร[23] และมะเร็งรังไข่[24] สำนักงานวิจัยมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer) ขององค์การอนามัยโลก ได้จัดแอลกอฮอล์เป็นสารก่อมะเร็งกลุ่มที่ 1 โดยกล่าวว่า "มีหลักฐานเพียงพอสำหรับการก่อมะเร็งในมนุษย์ของแอลกอฮอล์... คือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ (กลุ่ม 1)"[25]
เนื้อแดงและที่ผ่านกรรมวิธีการผลิต
[แก้]ในวันที่ 26 ตุลาคม 2558 สำนักงานวิจัยมะเร็งนานาชาติขององค์การอนามัยโลกรายงานว่า การบริโภคเนื้อที่ผ่านกรรมวิธีการผลิต (รวมทั้งเบคอน แฮม ฮอตดอก และไส้กรอก) และเนื้อแดง (เนื้อที่มีสีแดงเมื่อดิบรวมทั้งเนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อหมู ยกเว้นบางส่วนของไก่และเนื้อปลา) สัมพันธ์กับมะเร็งประเภทต่าง ๆ[26][27][28]
ใยอาหาร ผักและผลไม้
[แก้]ส่วนหลักฐานเกี่ยวกับใยอาหารกับความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ไม่ชัดเจน คือ หลักฐานบางอย่างแสดงว่ามีประโยชน์ และบางอย่างแสดงว่าไม่มี[3] การกินผักผลไม้แม้จะมีประโยชน์ แต่ดูเหมือนจะมีประโยชน์ในการลดโรคมะเร็งน้อยกว่าที่เคยคิด[3] คือ งานศึกษาปี 2557 พบว่าผลไม้ แต่ไม่ใช่ผัก มีผลป้องกันโรคมะเร็งทางเดินอาหารส่วนบน[29] แต่ผลไม้ ผัก และใยอาหารล้วนแต่ป้องกันมะเร็งลำไส้ (colorectal cancer) และใยอาหารป้องกันมะเร็งตับ[29]
ฟลาโวนอยด์
[แก้]ฟลาโวนอยด์ (โดยเฉพาะ catechin) เป็น "สารประกอบโพลิฟีนอล (polyphenolic) กลุ่มที่สามัญที่สุดในอาหารมนุษย์และพบโดยทั่วไปในพืช"[30] แม้ว่าจะมีงานศึกษาที่แสดงว่า ฟลาโวนอยด์อาจมีบทบาทในการป้องกันมะเร็ง แต่งานศึกษาอื่น ๆ ก็ไม่แสดงผลที่ชัดเจนหรือแม้แต่แสดงว่าอาจมีอันตราย[31][32]
เห็ด
[แก้]ตามองค์กร Cancer Research UK ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลทำการเพื่อลดอัตราความตายจากมะเร็ง "ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่ามีเห็ดหรือสารสกัดจากเห็ดที่สามารถป้องกันหรือรักษาโรคมะเร็งได้" แม้ว่าก็ยังมีงานวิจัยที่กำลังดำเนินการตรวจสอบเห็ดพันธุ์ต่าง ๆ[33]
สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในอาหาร
[แก้]ตามสมาคมมะเร็งอเมริกัน (American Cancer Society) แม้ว่าจะมีงานวิจัยในแล็บที่แสดงว่าถั่วเหลืองอาจมีความสัมพันธ์กับมะเร็ง แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าถั่วเหลืองมีฤทธิ์ต้านมะเร็งในมนุษย์[34] และก็มีงานในแล็บอีกที่แสดงว่า ขมิ้นอาจมีฤทธิ์ต่อต้านมะเร็ง[35] แม้ว่าจะมีงานทดลองที่ยังเป็นไปอยู่ แต่เพื่อจะให้มีผลก็จะต้องทานเป็นจำนวนมาก โดยปี 2555 ก็ยังไม่รู้ว่า ขมิ้นมีผลบวกอย่างไรกับผู้ป่วยโรคมะเร็งหรือไม่[36] และแม้จะมีการโปรโหมตว่าชาเขียวมีผลต่อต้านมะเร็ง แต่งานศึกษาก็แสดงผลที่ไม่ชัดเจน โดยปี 2555 ก็ยังไม่รู้ว่ามันช่วยป้องกันหรือบำบัดมะเร็งได้หรือไม่[37][38] งานทบทวนปี 2554 ที่ทำโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐสรุปว่า มีโอกาสน้อยที่ชาเขียวจะช่วยป้องกันมะเร็งอะไร ๆ ในมนุษย์ได้[38] ฟีนอล Resveratrol มีฤทธิ์ต่อต้านมะเร็งในการทดลองในแล็บ แต่โดยปี 2552 ก็ยังไม่มีหลักฐานว่ามีผลต่อมะเร็งในมนุษย์[39][40] มีการโฆษณาขายวิตามินดีอย่างกว้างขวางว่า ต่อต้านมะเร็ง[41] แต่ก็ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะแนะนำให้จ่ายวิตามินดีต่อคนไข้ แม้ว่าจะมีหลักฐานบ้างว่า การขาดวิตามินดีสัมพันธ์กับอาการที่แย่ลงสำหรับโรคมะเร็งบางอย่าง[42] การปริทัศน์เป็นระบบปี 2557 ขององค์การความร่วมมือคอเครนพบว่า "ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าการบริโภคอาหารเสริมคือวิตามินดี จะเพิ่มหรือจะลดการเกิดขึ้นของมะเร็งในกลุ่มหญิงชราที่อยู่เป็นชุมชน"[43]
กลไกการออกฤทธิ์
[แก้]กระบวนการสร้างและสลายเมทิโอนีน
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e0/CancerDietPathway-wiki.jpg/220px-CancerDietPathway-wiki.jpg)
แม้ว่าจะมีกลไกในระดับเซลล์มากมายที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร การตรวจสอบในทศวรรษที่ผ่าน ๆ มาชี้ว่า วิถีกระบวนการสร้างและสลายเมทิโอนีน (methionine metabolic pathway) เป็นเหตุการก่อมะเร็ง[44][45] ยกตัวอย่างเช่น การขาดสารประกอบหลักจากอาหารที่เป็นตัวบริจาคกลุ่มอนุมูลเมทธิล (methyl donor) คือ เมทิโอนีน (methionine) และโคลีน (choline) นำไปสู่การเกิดมะเร็งตับในหนู[46][47]
เมทิโอนีนเป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ได้จากสารอาหารที่เป็นตัวบริจาคโปรตีนและเมทธิล เช่นโคลีนและ betaine ที่พบในเนื้อวัว ไข่ และพืชบางอย่าง เมทิโอนีนที่ได้จะแปลงเป็น S-adenosyl methionine (SAM) ซึ่งเป็นเมแทบอไลต์กุญแจสำคัญในการสังเคราะห์โพลีเอมีน เช่น spermidine และ cysteine (ดูรูป) หลังจากนั้นผลสลายตัวของเมทิโอนีน ก็จะเวียนกลับไปเป็นเมทิโอนีนอีก โดยกระบวนการ remethylation และ methylthioadenosine conversion (ดูรูป) ของ homocysteine วิตามินบี6 วิตามินบี12 กรดโฟลิก และโคลีนเป็นปัจจัยร่วมจำเป็น (essential cofactor) ในปฏิกิริยาเหล่านี้ SAM เป็นซับสเตรตของปฏิกิริยา methylation ที่มีตัวเร่งปฏิกิริยาเป็นเอนไซม์ methyltransferase
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/3/3d/PRMTpathway.jpg/300px-PRMTpathway.jpg)
ผลปฏิกิริยาเหล่านี้ก็คือ โปรตีนที่ได้กลุ่มเมทธิล (methylated) และ S-adenosylhomocysteine (SAH) โดย SAH มีผลป้อนกลับเชิงลบในการผลิตตัวมันเอง คือเป็นตัวยับยั้งเอนไซม์ methyltransferase ดังนั้นอัตรา SAM:SAH จะเป็นตัวควบคุมกระบวนการ methylation ของเซลล์โดยตรง ส่วนระดับวิตามินบี6 วิตามินบี12 กรดโฟลิก และโคลีน เป็นตัวควบคุมกระบวนการ methylation โดยอ้อมคือผ่านวงจรเมแทบอลิซึมของเมทิโอนีน[48][49]
ลักษณะทั่วไปอย่างหนึ่งของมะเร็งก็คือการปรับตัวผิดพลาด (maladaption) ของวิถีการสร้างและสลายเมทิโอนีน โดยเป็นผลจากพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการพร่อง SAM และ/หรือการพร่องกระบวนการ methylation ที่อาศัย SAM ไม่ว่าจะเป็นเพราะการขาดเอนไซม์เช่น methylthioadenosine phosphorylase, การพึ่งพาอาศัยเมทิโอนีนของเซลล์มะเร็ง, การสังเคราะห์โพลีเอมีนในระดับสูงเมื่อเกิดมะเร็ง, หรือการเหนี่ยวนำให้เกิดมะเร็งเพราะทานอาหารที่ไม่มีตัวบริจาค methyl หรืออาหารที่มีตัวยับยั้งกระบวนการ methylation ที่เพิ่มขึ้น การเกิดเนื้องอกมีสหสัมพันธ์อย่างสูงกับระดับ SAM ที่ต่ำลงในหนูและมนุษย์[50][51] แต่ตามงานทบทวนวรรณกรรมปี 2555 ยังไม่มีการศึกษาในมนุษย์โดยตรงว่าการจำกัดเมทิโอนีนมีผลต่อมะเร็งหรือไม่ และ "ยังไม่มีความรู้เพียงพอที่จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารที่เชื่อถือได้"[52]
Signaling pathways
[แก้]signaling pathway ที่ก่อเนื้องอกหลายกระบวนการ มีส่วนร่วมในการแพร่ขยายเซลล์มะเร็ง (invasion และ metastasis) ในกระบวนการเหล่านั้น Wnt signaling pathway และ Hedgehog signaling pathway มีส่วนร่วมในการพัฒนาเซลลมะเร็งในระยะเริ่มแรก (embryonic development) ในระบบชีวภาพของ cancer stem cell (CSCs) และในการเกิดกระบวนการ epithelial to mesenchymal transition (EMT)[35]
ดูเพิ่ม
[แก้]- การรักษามะเร็งแบบทางเลือก
- รายงานอาหาร โภชนาการ กิจกรรมทางกาย และการป้องกันมะเร็ง: ทัศนมิติโลก
- หนังสือ The China Study ที่สอบสวนความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับโรคต่าง ๆ รวมทั้งมะเร็ง
- ศ.ดร. ที. คอลิน แคมป์เบลล์ - ศาสตราจารย์ผู้ทำงานวิจัยที่สัมพันธ์โภชนาการและอัตราของโรคในประเทศจีน
- ดร. สาทิส อินทรกำแหง ผู้ริเริ่มและเผยแพร่การแพทย์ผสมผสาน เป็นผู้เริ่มต้นแนวทางสุขภาพแบบชีวจิต
- ชีวจิต เป็นแนวคิดการดูแลสุขภาพเริ่มต้น
- อาหารมังสวิรัติแบบเคร่งครัด
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ Anand, P; Kunnumakkara, AB; Sundaram, C; Harikumar, KB; และคณะ (September 2008). "Cancer is a preventable disease that requires major lifestyle changes". Pharmaceutical Research. 25 (9): 2097–116. doi:10.1007/s11095-008-9661-9. PMC 2515569. PMID 18626751.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Wicki, A; Hagmann, J (9 September 2011). "Diet and cancer". Swiss Medical Weekly. 141: w13250. doi:10.4414/smw.2011.13250. PMID 21904992. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2016. สืบค้นเมื่อ 24 May 2016.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Stewart, Bernard W.; Wild, Christopher P., บ.ก. (2014). "Ch. 2: Cancer Etiology § 6 Diet, obesity and physical activity". World Cancer Report 2014. World Health Organization. pp. 124-33. ISBN 9789283204299.
- ↑ Key, TJ (2011-01-04). "Fruit and vegetables and cancer risk". British Journal of Cancer. 104 (1): 6–11. doi:10.1038/sj.bjc.6606032. PMC 3039795. PMID 21119663.
- ↑ Joshi, AD; Corral, R; Catsburg, C; Lewinger, JP; และคณะ (2012). "Red meat and poultry, cooking practices, genetic susceptibility and risk of prostate cancer: Results from a multiethnic case-control study". Carcinogenesis. 33 (11): 2108–18. doi:10.1093/carcin/bgs242. PMC 3584966. PMID 22822096.
- ↑ Zheng, W; Lee, SA (2009). "Well-done meat intake, heterocyclic amine exposure, and cancer risk". Nutrition and Cancer. 61 (4): 437–46. doi:10.1080/01635580802710741. PMC 2769029. PMID 19838915.
- ↑ Ferguson, LR (February 2010). "Meat and cancer". Meat Science. 84 (2): 308–13. doi:10.1016/j.meatsci.2009.06.032. PMID 20374790.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Park, S; Bae, J; Nam, BH; Yoo, KY (2008). "Aetiology of cancer in Asia" (PDF). Asian Pacific Journal of Cancer Prevention. 9 (3): 371–80. PMID 18990005.
- ↑ Larsson, SC; Wolk, A (2007). "Coffee consumption and risk of liver cancer: A meta-analysis". Gastroenterology. 132 (5): 1740–5. doi:10.1053/j.gastro.2007.03.044. PMID 17484871.
- ↑ Brenner, H; Rothenbacher, D; Arndt, V (2009). "Epidemiology of Stomach Cancer". ใน Verma, Mukesh (บ.ก.). Cancer Epidemiology: Volume 2: Modifiable Factors. Methods in Molecular Biology. Vol. 472. pp. 467–77. doi:10.1007/978-1-60327-492-0_23. ISBN 9781603274913. PMID 19107449.
- ↑ Buell, P; Dunn, JE (May 1965). "Cancer mortality among Japanese Issei and Nisei of California". Cancer. 18 (5): 656–64. doi:10.1002/1097-0142(196505)18:5<656::AID-CNCR2820180515>3.0.CO;2-3. PMID 14278899.
- ↑ Hübner, J; Marienfeld, S; Abbenhardt, C; Ulrich, CM; และคณะ (2012). "How useful are diets against cancer?". Deutsche Medizinische Wochenschrift. 137 (47): 2417–22. doi:10.1055/s-0032-1327276. PMID 23152069.
- ↑ Kossoff, EH; Zupec-Kania, BA; Amark, PE; Ballaban-Gil, KR; และคณะ (February 2009). "Optimal clinical management of children receiving the ketogenic diet: Recommendations of the International Ketogenic Diet Study Group". Epilepsia. 50 (2): 304–17. doi:10.1111/j.1528-1167.2008.01765.x. PMID 18823325.
- ↑ Edefonti, V; Randi, G; La Vecchia, C; Ferraroni, M; และคณะ. "Dietary patterns and breast cancer: A review with focus on methodological issues". Nutrition Reviews. 67 (6): 297–314. doi:10.1111/j.1753-4887.2009.00203.x.
- ↑ Brennan, SF; Cantwell, MM; Cardwell, CR; Velentzis, LS; และคณะ (May 2010). "Dietary patterns and breast cancer risk: A systematic review and meta-analysis". The American Journal of Clinical Nutrition. 91 (5): 1294–302. doi:10.3945/ajcn.2009.28796. PMID 20219961.
- ↑ "Alcohol and Cancer". Alcohol Alert. NIAAA: National Institutes of Health: United States Department of Health and Human Services. 21: PH 345. July 1993. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 December 2005.
- ↑ Boffetta, P; Hashibe, M; La Vecchia, C; Zatonski, W; และคณะ (August 2006). "The burden of cancer attributable to alcohol drinking". International Journal of Cancer. 119 (4): 884–7. doi:10.1002/ijc.21903. PMID 16557583.
- ↑
Seitz, HK; Pelucchi, C; Bagnardi, V; La Vecchia, C (May–June 2012). "Epidemiology and pathophysiology of alcohol and breast cancer: Update 2012". Alcohol and Alcoholism. 47 (3): 204–12. doi:10.1093/alcalc/ags011. PMID 22459019.
{{cite journal}}
: CS1 maint: date format (ลิงก์) - ↑ Marmot, M; Atinmo, T; Byers, T; Chen, J; และคณะ (2007). "Ch. 4: Food and Drinks §8: Alcoholic drinks" (PDF). Food, Nutrition, Physical Activity, and the Prevention of Cancer: A Global Perspective (PDF). World Cancer Research Fund / American Institute for Cancer Research (AICR) Expert Reports. Vol. 2. Washington, DC: AICR. pp. 157–71. ISBN 9780972252225. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 May 2016. สืบค้นเมื่อ 24 May 2016.
- ↑ Su, LJ; Arab, L (2004). "Alcohol consumption and risk of colon cancer: Evidence from the National Health and Nutrition Examination Survey I Epidemiologic Follow-up Study". Nutrition and Cancer. 50 (2): 111–9. doi:10.1207/s15327914nc5002_1. PMID 15623458.
- ↑ Cho, E; Smith-Warner, SA; Ritz, J; van den Brandt, PA; และคณะ (20 April 2004). "Alcohol intake and colorectal cancer: A pooled analysis of 8 cohort studies". Annals of Internal Medicine. 140 (8): 603–13. doi:10.7326/0003-4819-140-8-200404200-00007. PMID 15096331.
- ↑ Voigt, MD (February 2005). "Alcohol in hepatocellular cancer". Clinics in Liver Disease. 9 (1): 151–69. doi:10.1016/j.cld.2004.10.003. PMID 15763234.
- ↑ Benedetti, A; Parent, ME; Siemiatycki, J (2009). "Lifetime consumption of alcoholic beverages and risk of 13 types of cancer in men: Results from a case-control study in Montreal". Cancer Detection and Prevention. 32 (5): 352–62. doi:10.1016/j.canep.2009.03.001. PMID 19588541.
- ↑ Bagnardi, V; Blangiardo, M; La Vecchia, C; Corrao, G (2001). "Alcohol consumption and the risk of cancer: A meta-analysis". Alcohol Research & Health. 25 (4): 263–70. PMID 11910703. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2019. สืบค้นเมื่อ 24 May 2016.
- ↑ IARC Working Group on the Evaluation of Carcinogenic Risks to Humans: Alcohol Drinking; Berrino, F; Grant, M; Griciute, L; และคณะ (1988). "Ch. 6: Summary of Data Reported and Evaluation §5: Evaluation" (PDF). Alcohol Drinking (PDF). IARC Monographs on the Evaluation of Carcinogenic Risks to Humans. Vol. 44. Lyon: International Agency for Research on Cancer (IARC) : World Health Organization. pp. 258–9. ISBN 9283212444.
- ↑ "World Health Organization - IARC Monographs evaluate consumption of red meat and processed meat" (PDF). International Agency for Research on Cancer. 26 October 2015. สืบค้นเมื่อ 26 October 2015.
- ↑ Hauser, Christine (26 October 2015). "W.H.O. Report Links Some Cancers With Processed or Red Meat". New York Times. สืบค้นเมื่อ 26 October 2015.
- ↑ "Processed meats do cause cancer - WHO". BBC News. 26 October 2015. สืบค้นเมื่อ 26 October 2015.
- ↑ 29.0 29.1 Bradbury, KE; Appleby, PN; Key, TJ (July 2014). "Fruit, vegetable, and fiber intake in relation to cancer risk: findings from the European Prospective Investigation into Cancer and Nutrition (EPIC)". The American Journal of Clinical Nutrition. 100 Suppl 1: 394S–8S. doi:10.3945/ajcn.113.071357. PMID 24920034.
- ↑ Spencer, JP (May 2008). "Flavonoids: Modulators of brain function?". British Journal of Nutrition. 99 (E Suppl 1): ES60–ES77. doi:10.1017/S0007114508965776. PMID 18503736.
- ↑ Romagnolo, DF; Selmin, OI (2012). "Flavonoids and cancer prevention: A review of the evidence". Journal of Nutrition in Gerontology and Geriatrics. 31 (3): 206–38. doi:10.1080/21551197.2012.702534. PMID 22888839.
- ↑ Jin, H; Leng, Q; Li, C (15 August 2012). "Dietary flavonoid for preventing colorectal neoplasms". Colorectal Cancer Group. Cochrane Database of Systematic Reviews. 8 (8): Art. No. CD009350. doi:10.1002/14651858.CD009350.pub2. PMID 22895989.
- ↑ "Mushrooms in cancer treatment § Mushrooms and cancer". www.cancerresearchuk.org. Cancer Research UK. 2013-01-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2014.
- ↑ "Soybean". www.cancer.org. American Cancer Society. 2013-01-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 August 2014.
- ↑ 35.0 35.1 Sarkar, FH; Li, Y; Wang, Z; Kong, D (2010). "The role of nutraceuticals in the regulation of Wnt and Hedgehog signaling in cancer". Cancer and Metastasis Reviews. 29 (3): 383–94. doi:10.1007/s10555-010-9233-4. PMC 2974632. PMID 20711635.
- ↑ "Turmeric". www.cancer.org. American Cancer Society. 7 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2014.
- ↑ Boehm, K; Borrelli, F; Ernst, E; Habacher, G; และคณะ (8 July 2009). "Green tea (Camellia sinensis) for the prevention of cancer". Gynaecological Cancer Group. Cochrane Database of Systematic Reviews (3): Art. No. CD005004. doi:10.1002/14651858.CD005004.pub2. PMID 19588362.
- ↑ 38.0 38.1 "Green Tea". www.cancer.org. American Cancer Society. 4 May 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 August 2014.
- ↑ Athar, M; Back, JH; Tang, X; Kim, KH; และคณะ (November 2007). "Resveratrol: A review of preclinical studies for human cancer prevention". Toxicology and Applied Pharmacology. 224 (3): 274–83. doi:10.1016/j.taap.2006.12.025. PMC 2083123. PMID 17306316.
- ↑ Bishayee, A (May 2009). "Cancer prevention and treatment with resveratrol: From rodent studies to clinical trials". Cancer Prevention Research. 2 (5): 409–18. doi:10.1158/1940-6207.CAPR-08-0160. PMID 19401532.
- ↑ Byers, T (July 2010). "Anticancer vitamins du Jour--The ABCED's so far". American Journal of Epidemiology. 172 (1): 1–3. doi:10.1093/aje/kwq112. PMC 2892535. PMID 20562190.
- ↑ Buttigliero, C; Monagheddu, C; Petroni, P; Saini, A; และคณะ (2011). "Prognostic role of vitamin D status and efficacy of vitamin D supplementation in cancer patients: A systematic review". The Oncologist. 16 (9): 1215–27. doi:10.1634/theoncologist.2011-0098. PMC 3228169. PMID 21835895.
- ↑ Bjelakovic, G; Gluud, LL; Nikolova, D; Whitfield, K; และคณะ (23 June 2014). "Vitamin D supplementation for prevention of cancer in adults". Metabolic and Endocrine Disorders Group. Cochrane Database of Systematic Reviews. 6 (6): Art. No. CD007469. doi:10.1002/14651858.CD007469.pub2. PMID 24953955.
- ↑ Mikol, YB; Hoover, KL; Creasia, D; Poirier, L (December 1983). "Hepatocarcinogenesis in rats fed methyl-deficient, amino acid-defined diets". Carcinogenesis. 4 (12): 1619–29. doi:10.1093/carcin/4.12.1619. PMID 6317218.
- ↑ Ghoshal, AK; Farber, E (1984). "The induction of liver cancer by dietary deficiency of choline and methionine without added carcinogens". Carcinogenesis. 5 (10): 1367–70. doi:10.1093/carcin/5.10.1367. PMID 6488458.
- ↑ Newmark, HL; Yang, K; Lipkin, M; Kopelovich, L; และคณะ (2001). "A Western-style diet induces benign and malignant neoplasms in the colon of normal C57Bl/6 mice". Carcinogenesis. 22 (11): 1871–5. doi:10.1093/carcin/22.11.1871. PMID 11698351.
- ↑ Henning, SM; Swendseid, ME; Coulson, WF (1997). "Male rats fed methyl- and folate-deficient diets with or without niacin develop hepatic carcinomas associated with decreased tissue NAD concentrations and altered poly (ADP-ribose) polymerase activity". Journal of Nutrition. 127 (1): 30–6. PMID 9040540.
- ↑ Caudill, MA; Wang, JC; Melnyk, S; Pogribny, IP; และคณะ (2001). "Intracellular S-adenosylhomocysteine concentrations predict global DNA hypomethylation in tissues of methyl-deficient cystathionine ß-synthase heterozygous mice". Journal of Nutrition. 131 (11): 2811–8. PMID 11694601.
- ↑ Poirier, LA; Wise, CK; Delongchamp, RR; Sinha, R (June 2001). "Blood determinations of S-adenosylmethionine, S-adenosylhomocysteine, and homocysteine: Correlations with diet". Cancer Epidemiology, Biomarkers & Prevention. 10 (6): 649–55. PMID 11401915.
- ↑ Prinz-Langenohl, R; Fohr, I; Pietrzik, K (2001). "Beneficial role for folate in the prevention of colorectal and breast cancer". European Journal of Nutrition. 40 (3): 98–105. doi:10.1007/PL00007387. PMID 11697447.
- ↑ Van den Veyver, IB (2002). "Genetic effects of methylation diets". Annual Review of Nutrition. 22: 255–82. doi:10.1146/annurev.nutr.22.010402.102932. PMID 12055346.
- ↑ Cavuoto, PI; Fenech, MF (October 2012). "A review of methionine dependency and the role of methionine restriction in cancer growth control and life-span extension". Cancer Treatment Reviews. 38 (6): 726–36. doi:10.1016/j.ctrv.2012.01.004. PMID 22342103.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Diet, healthy eating and cancer". info.cancerresearchuk.org. Cancer Research UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 February 2012. สืบค้นเมื่อ 24 May 2016.
- "EPIC (European Prospective Investigation into Cancer and Nutrition) Study". epic.iarc.fr. International Agency for Research on Cancer: World Health Organization.