ข้ามไปเนื้อหา

โฮโจ (อาหาร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โฮโจ (ญี่ปุ่น: 鮑腸 / ほうちょうโรมาจิhōchō) แปลว่า ลำไส้หอยเป๋าฮื้อ เป็นอาหารท้องถิ่นที่คล้ายกับอูดง ที่สืบทอดกันในเขตเฮ็ตสึงิของเมืองโออิตะ จังหวัดโออิตะ[1][2] เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2018 ได้ถูกกำหนดให้เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมพื้นบ้านที่จับต้องไม่ได้ของเมืองโออิตะในชื่อ "เฮ็ตสึงิโนะโฮโจสึกุริ" (戸次のほうちょう作り)[3][4]

ภาพรวม

[แก้]

ใช้เส้นยาวที่ทำด้วยแป้งสาลีปั้นด้วยมือ ต้มผสมกับนิโบชิ, คมบุ และ เห็ดหอม ผสมกับ โชยุ หรือ มิริง แล้วจุ่มในซุปที่ทำด้วย คาโบสึ แล้วก็ใช้ขิงและต้นหอมเป็นเครื่องปรุงรส[1]

เส้นบะหมี่นั้นทำโดยการนวดแป้ง น้ำ และเกลืออย่างทั่วถึง จากนั้นพักแป้งไว้ครู่หนึ่ง แล้วจึงนำไปกลิ้งบนเขียง โดยระวังอย่าเส้นขาด มีความหนากว่าโซเม็งหรือฮิยามุงิ และมีลักษณะแบนและยาวเหมือน คิชิเม็ง เส้นก๋วยเตี๋ยวแต่ละเส้นยาวเกิน 2 เมตร[1]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ว่ากันว่าที่มาของอาหารชนิดนี้มาจากการที่โอโตโมะ โซริง ผู้ครองแคว้นบุงโงะในยุคเซ็งโงกุชอบหอยเป๋าฮื้อมาก แต่มีอยู่ปีหนึ่งที่การเก็บเกี่ยวหอยเป๋าฮื้อนั้นย่ำแย่ และไม่มีหอยเป๋าฮื้อให้รับประทาน ดังนั้น ข้าราชบริพาร จึงได้คิดวิธีทำโดยการนวดแป้งและทำให้มันมีลักษณะคล้ายกับลำไส้ของหอยเป๋าฮื้อ[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "麺は口ほどにものを言う~ご当地ヌードル探訪~ 鮑だけどアワビ料理じゃないよ! 大分県大分市戸次「鮑腸」|at home VOX". アットホーム株式会社. 2014-11-18. สืบค้นเมื่อ 2017-05-24.
  2. "大分県の候補料理一覧|農山漁村の郷土料理百選". 一般財団法人農村開発企画委員会. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-22. สืบค้นเมื่อ 2017-05-24.
  3. "大分市戸次地区の「鮑腸」作りの技 市無形民俗文化財に". 大分合同新聞. 2018-12-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-18.
  4. "市指定文化財の新規指定についてお知らせします" (Press release). 大分市. 2018-12-05.