ข้ามไปเนื้อหา

โอยันตา อูมาลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โอยันตา อูมาลา
อูมาลาใน พ.ศ. 2559
ประธานาธิบดีเปรู คนที่ 58
ดำรงตำแหน่ง
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
นายกรัฐมนตรี
รองประธานาธิบดีมารีซัล เอสปิโนซา
โอมาร์ เชฮาร์เด (2554-2555)
ก่อนหน้าอาลัน การ์ซีอา
ถัดไปเปรโต พาโบล คุซชินสกี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 มิถุนายน พ.ศ. 2505 (62 ปี)
ลิมา, เปรู
เชื้อชาติเปรู เปรู
พรรคการเมืองพรรคชาตินิยมเปรู
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
เปรู วินส์ (2553–2554)
พรรคสหภาพแห่งเปรู (2549)
คู่สมรสนาดีน เฮอร์เลนเดีย (สมรส 2542)
บุตร3 คน
ศิษย์เก่าโรงเรียนทหารชอร์ลินลอส
มหาวิทยาลัยคาทอลิกแห่งเปรู (ปริญญาโท)
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ เปรู
สังกัด กองทัพบกเปรู
ประจำการ2524–2548
ยศพันโท
ผ่านศึกความขัดแย้งภายในเปรู
สงครามเซเนปา

โอยันตา โมเซส อูมาลา ตัสโซ (สเปน: Ollanta Moisés Humala Tasso, เกิด 27 มิถุนายน พ.ศ. 2505 –) เป็นนักการเมืองและอดีตทหารชาวเปรู เคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเปรูระหว่างปี พ.ศ. 2554 จนถึง พ.ศ. 2559 เดิมเขามีแนวคิดทางการเมืองไปทางสังคมนิยมและชาตินิยมฝ่ายซ้าย ต่อมาเขามีแนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่และมีจุดยืนแบบการเมืองสายกลางเมื่อเขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี[1][2]

เขาเกิดในครอบครัวที่เป็นนักการเมืองและนักเคลื่อนไหว บิดาของเขาชื่อไอแซก อูมาลา เป็นนักกฎหมายและทนายความ อูมาลาเข้ารับรัฐการเป็นทหารประจำกองทัพเปรูเมื่อ พ.ศ. 2524 และได้รับยศพันโท ในช่วงที่เขาเป็นทหารนั้น เขามีบทบาทอย่างมากในเหตุการณ์ความขัดแย้งภายในเปรู และเคยร่วมรบในสงครามเซเนปาซึ่งเกิดจากความขัดแย้งระหว่างประเทศเอกวาดอร์กับประเทศเปรู ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 เขาพยายามกระทำรัฐประหารรัฐบาลของอัลเบร์โต ฟูฆิโมริ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ[3] ต่อมาเมื่อฟูฆิโมริหมดวาระ เขาจึงได้รับการนิรโทษกรรมและได้เข้ามารับรัฐการทหารอีกครั้ง

ใน พ.ศ. 2548 เขาเข้าสู้เส้นทางการเมืองและได้ก่อตั้งพรรคชาตินิยมเปรูและลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปของเปรู พ.ศ. 2549 แต่ได้แพ้อาลัน การ์ซีอา นโยบายและการหาเสียงของเขาได้เป็นที่สนใจของนานาชาติและสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก และถือเป็นความสำเร็จของการเมืองฝ่ายซ้ายในละตินอเมริกา[4] ซึ่งเขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งใน พ.ศ. 2554 และได้รับชัยชนะการเลือกตั้ง โดยสามารถเอาชนะเกย์โก ฟูฆิโมริ และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจนถึงปี พ.ศ. 2559

ชัยชนะในการเลือกตั้งของเขาถูกมองว่ามีการแทรกแซงจากนายทุน และมีความกังวลว่าเขาจะดำเนินนโยบายแบบอูโก ชาเบซซึ่งเป็นอดีตประธานาธิบดีของประเทศเวเนซุเอลาและอาจดำเนินนโยบายแบบซ้ายจัดได้ ดังนั้นอูมาลาจึงเปลี่ยนจุดยืนทางการเมืองเป็นสายกลางเมื่อดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี[5] อย่างไรก็ดี ระหว่างเขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีนั้นมีเรื่องอื้อฉาวและพบว่ามีการทุจริตทางการเมืองโดยเขาและภรรยาคือนาดีน เฮอร์เลเดีย[6][7] ทั้งนี้เขายังถูกวิจารณ์จากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากนโยบายการสร้างเหมืองแร่อีกด้วย โดยวิจารณ์ว่าเขาไม่ได้ทำตามสัญญาที่หาเสียงไว้ว่าจะดำเนินนโยบายควบคุมการทำเหมืองแร่ในเปรูรวมถึงบริษัทผู้สัมปทาน[8][9]

หลังพ้นตำแหน่งประธานาธิบดี ใน พ.ศ. 2560 เขาถูกทางการเปรูจับกุมข้อหาทุจริตทางการเมือง[10] ต่อมาอูมาลากลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปของเปรู พ.ศ. 2564 แต่เขาได้รับคะแนนเสียงเพียงร้อยละ 1.5 และไม่ได้รับเลือกตั้ง[11][12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Cruz, Diego Sánchez dela (2014-07-06). "Ollanta Humala consolida el modelo liberal en Perú". Libre Mercado (ภาษาสเปนแบบยุโรป). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
  2. Staff, Reuters (2013-10-30). "Peru's Humala reshuffling Cabinet in investor-friendly move". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
  3. Peru.com, Redacción (2012-10-04). "Ollanta Humala recibió perdón del Congreso por levantamiento en Locumba". Peru.com (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-21. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
  4. "Peru's Humala is Washington's next "Worst Nightmare"". Institute for Policy Studies (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2006-04-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-16. สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
  5. Staff, Reuters (2011-07-21). "Leftist Humala picks centrists for Peru Cabinet". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
  6. "First lady drags Peru's President to new public approval low". Perú Reports (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2015-06-16. สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
  7. "The Prosecutor Investigating Peru's Powerful First Lady Has Been Fired". www.vice.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
  8. Staff, Reuters (2016-07-27). "Anti-mining politician freed from jail in Peru slams government". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
  9. "Peru: Humala Submits to the United States and the Mining Industry". NACLA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
  10. McDonnell, Adriana Leon and Patrick J. "Another former Peruvian president is sent to jail, this time as part of growing corruption scandal". latimes.com.
  11. PERÚ, NOTICIAS EL COMERCIO (2021-04-14). "Conteo rápido Ipsos al 100% de Elecciones 2021: Pedro Castillo y Keiko Fujimori disputarían segunda vuelta de Elecciones Generales de Perú del 2021 | Perú Libre | Fuerza Popular | Ganadores | Lima | Callao | Departamentos | Regiones | presidente | congresistas | Resultados Elecciones 2021 | pandemia Covid-19 | Presidente del Perú | Congreso | Parlamento Andino | | ELECCIONES-2021". El Comercio Perú (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-23.
  12. CORREO, NOTICIAS (2021-04-12). "Flash electoral | Ipsos resultados boca de urna | Conteo rápido | Elecciones generales de Perú de 2021 | ganadores segunda vuelta | Candidatos presidenciales | PERU". Correo (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-23.