โอเมปราโซล
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
การอ่านออกเสียง | /oʊˈmɛprəzoʊl/ |
ชื่อทางการค้า | Losec, Prilosec, Zegerid, อื่น ๆ[1] |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
ข้อมูลทะเบียนยา |
|
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | ปาก หลอดเลือดดำ |
ประเภทยา | ยายับยั้งการหลั่งกรด |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | 35-76%[2][3] |
การจับกับโปรตีน | 95% |
การเปลี่ยนแปลงยา | ตับ (CYP2C19, CYP3A4) |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 1-1.2 ชม. |
การขับออก | 80% (ปัสสาวะ) 20% (อุจจาระ) |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
IUPHAR/BPS | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
KEGG | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
PDB ligand | |
ECHA InfoCard | 100.122.967 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C17H19N3O3S |
มวลต่อโมล | 345.42 กรัม/โมล g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
ไครัลลิตี | Racemic mixture |
ความหนาแน่น | 1.4±0.1[4] g/cm3 |
จุดหลอมเหลว | 156 องศาเซลเซียส (313 องศาฟาเรนไฮต์) |
| |
| |
(verify) | |
โอเมปราโซล (อังกฤษ: omeprazole) ซึ่งขายในยี่ห้อต่าง ๆ เช่น Prilosec และ Losec เป็นยารักษาโรคกรดไหลย้อน โรคแผลเปื่อยเพปติก/แผลในกระเพาะอาหาร (peptic ulcer disease) และภาวะกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป (Zollinger-Ellison syndrome)[1] ทั้งยังใช้ป้องกันเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนสำหรับผู้ที่เสี่ยงมาก[1] เป็นยาที่ใช้รับประทานหรือฉีดเข้าในเส้นเลือด[1][5]
ผลข้างเคียงโดยทั่วไป เป็นต้นว่า คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ และลมในทางเดินอาหาร/ท้องอืด[1] ส่วนผลข้างเคียงอย่างหนัก เป็นต้นว่า ลำไส้ใหญ่อักเสบเนื่องจากเชื้อโรค Clostridium difficile ความเสี่ยงเกิดปอดบวมสูงขึ้น ความเสี่ยงกระดูกแตก/หักสูงขึ้น และมะเร็งกระเพาะอาหารถูกการอำพราง[1] นอกจากนี้ ไม่ชัดเจนว่า ยานี้ปลอดภัยเมื่อใช้ตอนตั้งครรภ์หรือไม่[1] และเนื่องจากเป็นยายับยั้งการหลั่งกรด (PPI) จึงมีฤทธิ์ระงับการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร[1]
ยานี้ได้รับการค้นพบใน ค.ศ. 1979[6] เป็นยาจำเป็นในรายการขององค์การอนามัยโรค ถือเป็นยาที่มีประสิทธิผลและปลอดภัยที่สุดที่จำเป็นในระบบสาธารณสุข[7] และเป็นยาที่หมดอายุสิทธิบัตรแล้ว[1] สำหรับราคาขายส่งในประเทศกำลังพัฒนานั้น ใน ค.ศ. 2014 อยู่ที่ 0.01-0.07 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 0.32-2.27 บาท) ต่อเม็ด[8] ในสหรัฐอเมริกา ราคาขายปลีกโดยเฉลี่ยใน ค.ศ. 2016 อยู่ที่ 0.50 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 18 บาท)[9]
การใช้ในการแพทย์
[แก้]ยาสามารถใช้รักษาโรคกรดไหลย้อน (GERD), แผลเปื่อยเพปติก/แผลในกระเพาะอาหาร (peptic ulcers), หลอดอาหารอักเสบเหตุกร่อน (erosive esophagitis), Zollinger-Ellison syndrome, และหลอดอาหารอักเสบแบบชอบอีโอซิโนฟิล (eosinophilic esophagitis)[10][1]
การใช้ยา
[แก้]เป็นยาชนิดเม็ดใช้สำหรับรับประทาน การหยุดใช้ยาต้องปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อน ไม่ควรแบ่งหรือเคี้ยวเม็ดยา ควรกลืนยาทั้งเม็ด
ในผู้จำเป็นต้องใช้ยาทั่วไปรับประทานวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 4-8 สัปดาห์ ส่วนการใช้เพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ควรใช้ยาหลังอาหารเช้า
การใช้ยาร่วมกับยาอื่น ๆ เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย H. Pylori ในกระเพาะอาหาร รับประทานวันละ 2 ครั้ง หรือให้ใช้ยาตามที่ระบุไว้ในฉลาก
การใช้ยาควรระมัดระวังกับผู้ป่วยโรคตับ สตรีมีครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร นอกจากนี้ฤทธิ์ของยายังอาจบดบังอาการของมะเร็งกระเพาะอาหารจึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ และควรมีการวินิจฉัยแยกโรคมะเร็งกระเพาะอาหารก่อนการรักษาด้วยยานี้
แผลเปื่อยเพปติก/แผลในกระเพาะอาหาร
[แก้]แผลเปื่อยเพปติก/แผลในกระเพาะอาหารสามารถรักษาได้ด้วยยานี้ การรักษาการติดเชื้อ Helicobacter pylori ทำได้ด้วยยา 3 อย่าง คือ ยานี้ อะม็อกซีซิลลิน และคลาริโทรมัยซินเป็นเวลา 7-14 วัน[11] แต่ก็อาจแทนอะม็อกซีซิลลินด้วย metronidazole สำหรับคนไข้ที่แพ้เพนิซิลลิน[12]
ผลไม่พึงประสงค์
[แก้]ผลไม่พึงประสงค์สำคัญซึ่งเกิดบ่อยที่สุดโดยเกิดในคนไข้อย่างน้อย 1% รวมทั้ง[13]
- ระบบประสาทกลาง - ปวดศีรษะ (7%) เวียนศีรษะ (2%)
- ระบบทางเดินลมหายใจ - ติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน (2%) ไอ (1%)
- ระบบทางเดินอาหาร - ปวดท้อง (5%) ท้องร่วง (4%) คลื่นไส้ (4%) อาเจียน (3%) ลมในท้อง/ท้องอืด (3%) ขย้อนกรดกระเพาะอาหาร (2%) ท้องผูก (2%)
- ปัญหาทางกระดูก กล้ามเนื้อ และประสาท - ปวดหลัง (1%) ไม่มีแรง (1%)
- ปัญหาทางผิวหนัง - ผื่น (2%)
ปัญหาอื่น ๆ ที่เนื่องกับผลที่ไม่พึงประสงค์รวมทั้ง
- การเกิดอาการท้องร่วงเนื่องจากเชื้อ Clostridium difficile ซ้ำ ๆ[14]
- กระดูกหัก/แตกเนื่องกับภาวะกระดูกพรุน[15][16]
- ภาวะแมกนีเซียมในเลือดน้อยเกิน (hypomagnesemia)[17]
มีงานศึกษาที่ยกประเด็นเรื่องการดูดซึมวิตามินบี12[18] และธาตุเหล็กได้ไม่ดี[19] แต่ผลดูเหมือนจะไม่มาก โดยเฉพาะเมื่อให้อาหารเสริมเพิ่ม[20]
ตั้งแต่ได้เริ่มใช้ ยายับยั้งการหลั่งกรด (PPI) โดยเฉพาะยานี้ ได้สัมพันธ์กับกรณีไตอักเสบ (acute interstitial nephritis) หลายกรณี[21] ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์ต่อยา
การใช้ PPI ในระยะยาวสัมพันธ์อย่างมีกำลังกับการเกิดติ่งเนื้อเมือกที่ไม่ร้าย (benign polyp) จากต่อมส่วนกระพุ้งกระเพาะ (fundic gland) (ซึ่งต่างจาก fundic gland polyposis) ติ่งเหล่านี้ไม่ได้ก่อมะเร็งและจะหายไปเองเมื่อหยุดใช้ยา ยังไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ PPI กับมะเร็ง แต่การใช้ยาก็อาจอำพรางมะเร็งกระเพาะอาหารหรือปัญหากระเพาะปัญหาที่หนักอื่น ๆ ซึ่งแพทย์จะต้องคอยระวัง[22]
งานทบทวนวรรณกรรมปี 2017 พบความสัมพันธ์ของการใช้ยา PPI ระยะยาวกับสภาวะต่าง ๆ ในระดับไม่เท่ากันคือ[23]
- สม่ำเสมอ - ติ่งเนื้อเมือกไม่ร้าย (benign polyp) จากต่อมส่วนกระพุ้งกระเพาะ (fundic gland) (ซึ่งต่างจาก fundic gland polyposis)[A]
- ปานกลาง - โรคไต[B]
- อ่อน - ความเสี่ยงกระดูกหักที่สูงขึ้น (OR<22,3)[C], ภาวะแมกนีเซียมในเลือดน้อยเกิน (hypomagnesemia, OR<24)[D], การขาดวิตามินบี12[E], ความเสี่ยงโรคหัวใจสูงขึ้น (OR<2)[F], การติดเชื้อ Clostridium difficile (OR<26-8)[G], ปอดบวม (OR<29) [H]
- ไม่ชัดเจน - ภาวะสมองเสื่อม, มะเร็งกระเพาะอาหาร (OR<2 สำหรับมะเร็งและไม่มีนัยสำคัญสำหรับ pre-neoplastic lesion)
- ไม่มีความสัมพันธ์ทางคลินิกที่ชัดเจน - มะเร็งลำไส้ใหญ่
การตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
[แก้]ข้อมูลทางวิทยาการระบาดไม่แสดงความเสี่ยงพิการที่สูงขึ้นของทารก[24] ยังไม่มีการทดลองทางคลินิกซึ่งประเมินผลที่อาจเป็นไปได้อย่างถ้วนถี่สำหรับการใช้ยาเมื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่เภสัชพลวัต (pharmacokinetics) ของโมเลกุลยา แสดงนัยอย่างมีกำลังว่า ปลอดภัยสำหรับใช้เมื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือ
- ยาจับกับโปรตีนพลาสมาในอัตราที่สูง (95%)[25] ซึ่งแสดงว่า จะถ่ายโอนไปยังท่อหลั่งน้ำนม (milk duct) น้อยมาก เมื่อร่างกายผลิตนม
- ยาต้องเคลือบกันกรดกระเพาะอาหาร (enteric coating) เพราะสลายอย่างรวดในภาวะกรดภายในกระเพาะ ซึ่งแสดงนัยว่า ทารกจะย่อยสลายโมเลกุลอิสระของยาโดยมากก่อนที่จะดูดซึมเข้าร่างกาย[ต้องการอ้างอิง]
ดังนั้น ยาในขนาดธรรมดาน่าจะปลอดภัยในช่วงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่[26]
ปฏิสัมพันธ์
[แก้]ปฏิสัมพันธ์ที่สำคัญกับยาอื่น ๆ เกิดน้อยมาก[27][28] แต่ปัญหาสำคัญสุดเป็นการลดฤทธิ์ของยาลดความเสี่ยงโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง คือ clopidogrel เมื่อรับประทานพร้อม ๆ กับโอเมปราโซล[29] แม้ผลที่เกิดจะยังเป็นเรื่องไม่ยุติ[30] แต่ก็อาจเพิ่มโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวายสำหรับคนที่รับประทานยา clopidogrel เพื่อป้องกันเหตุการณ์เช่นนี้
ปฏิสัมพันธ์เยี่ยงนี้เป็นไปได้ก็เพราะยาเป็นสารยับยั้งเอนไซม์ CYP2C19 และ CYP3A4[31] และยา clopidogrel อยู่ในรูปแบบที่ไม่มีฤทธิ์ซึ่งต้องผ่านเมแทบอลิซึมอาศัย CYP2C19 เพื่อเปลี่ยนให้เป็นรูปแบบที่มีฤทธิ์ ดังนั้น การยับยั้ง CYP2C19 จึงอาจระงับฤทธิ์ของ clopidogrel ซึ่งก็จะลดผลของมัน[32][33]
อนึ่ง เบ็นโซไดอาเซพีนเกือบทั้งหมดก็ต้องผ่านผ่านเมแทบอลิซึมอาศัยเอนไซม์ CYP3A4 และ CYP2D6 และการยับยั้งเอนไซมเหล่านี้จะมีผลเพิ่ม AUC ของเบ็นโซไดอาเซพีน ซึ่งก็คือเพิ่มผลรวมของยาตามเวลาสำหรับขนาดยาหนึ่ง ๆ ตัวอย่างยาที่อาศัย CYP3A4 เพื่อเมแทบอลิซึมอีกอย่างก็คือยาแก้ซึมเศร้า escitalopram[34], สารกันเลือดเป็นลิ่มคือวาร์ฟาริน,[35] ยาแก้ปวดต่าง ๆ รวมทั้งออกซิโคโดน ทรามาดอล และ oxymorphone คือ ความเข้นข้นของยาเหล่านี้อาจเพิ่มเมื่อใช้ร่วมกับโอเมปราโซล[36]
ยายังระงับการทำงานของโปรตีน p-glycoprotein เหมือนกับยายับยั้งการหลั่งกรด (PPI) อื่น ๆ[37]
ยาที่อาศัยสภาพกรดในกระเพาะอาหาร (เช่น คีโตโคนาโซลและ atazanavir) อาจดูดซึมได้ไม่ดี และยาปฏิชีวนะที่ไม่เสถียรเนื่องจากสภาพกรด (เช่น อิริโทรมัยซิน ซึ่งเป็นสารยับยั้ง CYP3A4 ที่มีฤทธิ์สูงมาก) อาจดูดซึมได้มากกว่าปกติเนื่องจากสภาวะที่เป็นด่างมากกว่าปกติของกระเพาะเมื่อรับประทานยานี้[36] สมุนไพร Hypericum perforatum (St. John's wort) และ Gingko biloba สามารถลดความเข้มข้นของโอเมปราโซลในพลาสมาอย่างสำคัญผ่านกระบวนการเหนี่ยวนำ (induction) ของ CYP3A4 และ CYP2C19[38]
PPI ต่าง ๆ เช่น โอเมปราโซล พบว่า เพิ่มความเข้มข้นในพลาสมาของสารเคมีบำบัดและสารระงับภูมิคุ้มกันคือ methotrexate[39]
เภสัชวิทยา
[แก้]กลไกการทำงาน
[แก้]ยาเป็นสารยับยั้งการหลั่งกรด (PPI) ที่จำเพาะเจาะจง (selective) และผันกลับไม่ได้ (irreversible) คือมันยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ H+/K+-ATPase ซึ่งพบที่ผิวของ parietal cell ในกระเพาะโดยเฉพาะ ระบบเอนไซม์นี้มองได้ว่า เป็นปัมพ์ของการหลั่งกรด (proton หรือ H+) ในเยื่อเมือกกระเพาะ ดังนั้น ยาจึงยับยั้งขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร[ต้องการอ้างอิง] โดยระงับทั้งการหลั่งกรดพื้นฐานและการหลั่งกรดเมื่อได้อาหารเป็นตัวกระตุ้น[40]
ยามีผลยับยั้งภายในหนึ่ง ชม. หลังได้ยา โดยให้ผลสูงสุดภายใน 2 ชม. และอาจมีฤทธิ์นานถึง 72 ชม. ผลยับยั้งกรดของยาจะไม่เพิ่มอีกหลังจาก 4 วันที่รับประทานยาซ้ำ ๆ เมื่อหยุดใช้ยา การหลั่งกรดกระเพาะอาหารจะกลับคืนปกติภายใน 3-5 วัน[41]
เภสัชพลวัต (Pharmacokinetics)
[แก้]ลำไส้เล็กเป็นจุดดูดซึม ซึ่งเสร็จภายใน 3-6 ชม. เมื่อได้ใช้ยาแล้วอย่างซ้ำ ๆ สภาพพร้อมใช้ทางชีวภาพ (bioavailability) จะอยู่ที่ 60%[ต้องการอ้างอิง] เหมือนกับยายับยั้งการหลั่งกรดอื่น ๆ ยาจะมีผลต่อระบบเอนไซม์ H+/K+-ATPase ซึ่งมีสภาพกัมมันต์เท่านั้น อาหารเป็นตัวกระตุ้นให้เอนไซม์เริ่มทำงานเพื่อช่วยย่อยอาหาร เพราะเหตุนี้ จึงแนะนำให้คนไข้รับประทานยาเมื่อท้องว่าง[42] เช่นผู้ผลิตรายหนึ่งแนะนำให้รับประทานพร้อมกับน้ำเปล่าแก้วหนึ่งโดยไม่รวมน้ำอื่น ๆ หรืออาหาร[43]
อนึ่ง แหล่งอ้างอิงโดยมากแนะนำว่า หลังจากรับประทานยา ให้รอ 30 นาทีก่อนรับประทานข้าว[44][45] (อย่างน้อย 60 นาทีสำหรับยาที่ไม่ได้เคลือบกันกรดแต่ใช้บวกกับสารทำให้เป็นด่างในกลุ่มโซเดียมไบคาร์บอเนต[43]) แม้ก็มีบางแห่งที่กล่าวว่า มีรูปแบบแคปซูลที่รับประทานพร้อมกับอาหารได้เลย[46]
เมแทบอลิซึมของยาจะเกิดผ่านอาศัยเอนไซม์ cytochrome P450 อย่างสิ้นเชิง โดยหลักในตับ เมแทบอไลต์ที่ได้ระบุแล้วรวมทั้ง sulfone, sulfide, และ hydroxy-omeprazole ซึ่งล้วนแต่ไม่มีผลต่อการหลั่งกรด ยาประมาณ 80% ที่รับประทานจะขับออกเป็นเมแทบอไลต์ในปัสสาวะ และที่เหลือจะพบในอุจจาระโดยหลักจากน้ำดี[ต้องการอ้างอิง]
เคมี
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ค่าวัดในร่างกาย
[แก้]ยาสามารถวัดในน้ำเลือดหรือในซีรั่มเพื่อตรวจผลการรักษา หรือเพื่อยืนยันการวินิจฉัยว่าคนไข้ที่ได้ยาเกิน ความเข้มข้นของยาในเลือดปกติจะอยู่ระหว่าง 0.2-1.2 มิลลิกรัม/ลิตร ในคนไข้ผู้ได้ยาปกติและ 1-6 มก./ลิตร สำหรับคนไข้ที่ได้ยาเกิน มีวิธีการทางโครมาโทกราฟี (enantiomeric chromatography) ต่าง ๆ ที่สามารถใช้แยก esomeprazole จากโอเมปราโซล[47]
ประวัติ
[แก้]บริษัท Astra AB (ปัจจุบัน AstraZeneca) ได้วางขายยาในตลาดเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาในปี 1989 โดยมียี่ห้อว่า Losec ในปี 1990 องค์กรอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ให้บริษัทเปลี่ยนยี่ห้อเป็น Prilosec เพื่อไม่ให้สับสนกับยาขับปัสาวะคือ Lasix[48] แต่ก็ยังสับสนกับยาแก้ซึมเศร้า คือ Prozac อยู่ดี[48] เมื่ออายุสิทธิบัตรของยาหมดในเดือนเมษายน 2001 บริษัทก็เริ่มวางขาย esomeprazole (ยี่ห้อ Nexium) เป็นยาทดแทนโดยยังมีสิทธิบัตร[49] บริษัทจำนวนมากได้วางตลาดขายยาที่หมดสิทธิบัตรทั่วโลก โดยมียี่ห้อต่าง ๆ มากมาย
รูปแบบยา
[แก้]ยามีขายเป็นเม็ดและแคปซูล (ซึ่งมีโอเมปราโซล หรือยาในรูปแบบแมกนีเซียม) ในขนาดต่าง ๆ รวมทั้ง 10, 20, 40, และในบางที่ 80 มก. และเป็นยาผง (omeprazole sodium) เพื่อใช้ฉีดในเส้นเลือด ยาสำหรับรับประทานโดยมากจะเคลือบกันกรดกระเพาะอาหาร (enteric coating) เนื่องจากยาจะสลายไปอย่างรวดเร็วเมื่อเจอสภาพกรดในกระเพาะ คือปกติจะเคลือบเป็นเม็ดเล็ก ๆ แล้วบรรจุภายในแคปซูล หรือเป็นยาเม็ดเคลือบ หรือใช้ระบบ MUPS[50] มีรูปแบบยาที่ปล่อยทันที (immediate release) โดยประกอบกับสารบัฟเฟอร์[51] จึงไม่จำเป็นต้องเคลือบกันกรดกระเพาะ
มีแพ็คยาสำหรับฉีดเข้าเส้นเลือดด้วยโดยมียาขวดหนึ่งและหลอดสารละลายอีกหลอดหนึ่ง ในขวดจะมียาเป็นผงออกสีขาว ๆ ซึ่งมี omeprazole sodium 42.6 มก. ซึ่งเท่ากับโอเมปราโซล 40 มก.
อนึ่ง มียาน้ำแบบเป็นสารแขวนลอย โดยสารจะเป็นเม็ดยาเคลือบกันกรดกระเพาะ เป็นยาที่โดยหลักให้แก่เด็ก แต่คนไข้ที่มีปัญหาการกลืนก็สามารถใช้ยานี้ได้
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ จากงานศึกษาแบบสังเกต อาจมีเหตุจาก gastrin ระดับสูงซึ่งมีผลทำให้เยื่อเมือกทางเดินอาหารงอกขึ้น
- ↑ จากงานศึกษาแบบสังเกต อาจมีเหตุจาก gastrin ระดับสูงซึ่งมีผลทำให้เยื่อเมือกทางเดินอาหารงอกขึ้น เหตุไม่ชัดเจน แต่อาจจะากการสะสม PPI และเมแทบอไลต์ของมันในไตแล้วทำให้ภูมิคุ้มกันตอบสนอง
- ↑ จากงานทดลองแบบสุ่ม งานศึกษาแบบสังเกต งานทบทวนเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน อาจมีเหตุจากการลดการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้เล็กส่วนต้นและลำไส้เล็กส่วนกลางต้น ๆ โดยเป็นผลของภาวะไร้กรดเกลือ (achlorhydria)
- ↑ งานทบทวนเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานของการศึกษาแบบสังเกต เหตุไม่กำหนดอย่างชัดเจน อาจมาจากการดูดซึมได้ไม่ดี หรือไตเสีย
- ↑ จากงานศึกษาแบบสังเกต มีเหตุจากดูดซึมได้น้อยลงเนื่องจากการย่อยโปรตีนอาศัยสภาพกรดภายในกระเพาะได้ลดลง
- ↑ การวิเคราะห์อภิมานของงานศึกษาแบบสังเกตและการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม มีเหตุจากการอาศัยเมแทบอลิซึมในระบบ cytochrome P450 ร่วมกัน
- ↑ จากการวิเคราะห์อภิมานงานศึกษาแบบสังเกต มีเหตุจากการเพิ่มเชื้อในทางเดินอาหารเพราะกรดกระเพาะลดลง
- ↑ จากการวิเคราะห์อภิมานงานศึกษาแบบสังเกต จาก case-control studies มีเหตุจากการสูดหรือการเคลื่อนย้ายของเชื้อโรคจากทางเดินอาหารส่วนบนเข้าในปอด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 "Omeprazole". The American Society of Health-System Pharmacists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 1 December 2015.
- ↑ "Prilosec Prescribing Information" (PDF). AstraZeneca Pharmaceuticals. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 February 2010.
- ↑ Vaz-Da-Silva, M; Loureiro, AI; Nunes, T; Maia, J; Tavares, S; Falcão, A; Silveira, P; Almeida, L; Soares-Da-Silva, P (2005). "Bioavailability and bioequivalence of two enteric-coated formulations of omeprazole in fasting and fed conditions". Clinical Drug Investigation. 25 (6): 391–9. doi:10.2165/00044011-200525060-00004. PMID 17532679. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2013.
- ↑ "omeprazole_msds".
- ↑ "Omeprazole 40 mg Powder for Solution for Infusion". EMC. 10 February 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2016. สืบค้นเมื่อ 29 March 2016.
- ↑ Fischer, edited by János; Ganellin, C. Robin (2006). Analogue-based drug discovery. Weinheim: Wiley-VCH. p. 88. ISBN 9783527607495. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016.
{{cite book}}
:|first1=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ "WHO Model List of Essential Medicines (19th List)" (PDF). World Health Organization. April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 December 2016. สืบค้นเมื่อ 8 December 2016.
- ↑ "Omeprazole". International Drug Price Indicator Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2017. สืบค้นเมื่อ 1 December 2015.
- ↑ "NADAC as of 2016-11-16 Data.Medicaid.gov". Centers for Medicare and Medicaid Services. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2016.
- ↑ Cheng, Edaire (July 2013). "Proton Pump Inhibitors for Eosinophilic Esophagitis". Current Opinion in Gastroenterology. 29 (4): 416–420. doi:10.1097/MOG.0b013e32835fb50e. ISSN 0267-1379. PMC 4118554. PMID 23449027.
- ↑ Fuccio, L; Minardi, M. E.; Zagari, R. M.; Grilli, D; Magrini, N; Bazzoli, F (2007). "Meta-analysis: Duration of first-line proton-pump inhibitor based triple therapy for Helicobacter pylori eradication". Annals of Internal Medicine. 147 (8): 553–62. doi:10.7326/0003-4819-147-8-200710160-00008. PMID 17938394.
- ↑ Malfertheiner, P; Megraud, F; O'Morain, C; Bazzoli, F; El-Omar, E; Graham, D; Hunt, R; Rokkas, T; Vakil, N; Kuipers, EJ (June 2007). "Current concepts in the management of Helicobacter pylori infection: the Maastricht III Consensus Report". Gut. 56 (6): 772–81. doi:10.1136/gut.2006.101634. PMC 1954853. PMID 17170018.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ McTavish, D; Buckley, MM; Heel, RC (1991). "Omeprazole. An updated review of its pharmacology and therapeutic use in acid-related disorders". Drugs. 42 (1): 138–70. doi:10.2165/00003495-199142010-00008. PMID 1718683.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Abou Chakra, CN; และคณะ (June 2014). "Risk factors for recurrence, complications and mortality in Clostridium difficile infection: a systematic review". PLoS ONE. 9 (6): e98400. Bibcode:2014PLoSO...998400A. doi:10.1371/journal.pone.0098400. PMC 4045753. PMID 24897375.
- ↑ Yang, Yu-Xiao; และคณะ (2006). "Long-term proton pump inhibitor therapy and risk of hip fracture". JAMA. 296 (24): 2947–2953. doi:10.1001/jama.296.24.2947. PMID 17190895.
- ↑ Yu, Elaine W.; และคณะ (2011). "Proton pump inhibitors and risk of fractures: a meta-analysis of 11 international studies". The American Journal of Medicine. 124 (6): 519–526. doi:10.1016/j.amjmed.2011.01.007. PMC 3101476. PMID 21605729.
- ↑ Hess, M. W.; และคณะ (2012). "Systematic review: hypomagnesaemia induced by proton pump inhibition". Alimentary pharmacology & therapeutics. 36 (5): 405–413. doi:10.1111/j.1365-2036.2012.05201.x.
- ↑ Neal, Keith; Logan, Richard (2001). "Potential gastrointestinal effects of long‐term acid suppression with proton pump inhibitors". Alimentary pharmacology & therapeutics. 15 (7): 1085–1085. doi:10.1046/j.1365-2036.2001.0994a.x. PMID 11421886.
- ↑ Sarzynski, Erin; และคณะ (2011). "Association between proton pump inhibitor use and anemia: a retrospective cohort study". Digestive diseases and sciences. 56 (8): 2349–2353. doi:10.1007/s10620-011-1589-y. PMID 21318590.
- ↑ McColl, Kenneth EL (2009). "Effect of proton pump inhibitors on vitamins and iron". The American Journal of Gastroenterology. 104: S5–S9. doi:10.1038/ajg.2009.45. PMID 19262546.
- ↑ Härmark, Linda; และคณะ (2007). "Proton pump inhibitor‐induced acute interstitial nephritis". British Journal of Clinical Pharmacology. 64 (6): 819–823. doi:10.1111/j.1365-2125.2007.02927.x. PMC 2198775. PMID 17635502.
- ↑ Corleto, V.D. (February 2014). "Proton pump inhibitor therapy and potential long-term harm". Curr Opin Endocrinol Diabetes Obes. 21 (1): 3–8. doi:10.1097/med.0000000000000031. PMID 24310148.
- ↑ Eusebi, LH; Rabitti, S; Artesiani, ML; Gelli, D; Montagnani, M; Zagari, RM; Bazzoli, F (July 2017). "Proton pump inhibitors: Risks of long-term use". Journal of Gastroenterology and Hepatology. 32 (7): 1295–1302. doi:10.1111/jgh.13737. PMID 28092694.
- ↑ Pasternak, Björn; Hviid, Anders (2010). "Use of Proton-Pump Inhibitors in Early Pregnancy and the Risk of Birth Defects". New England Journal of Medicine. 363 (22): 2114–23. doi:10.1056/NEJMoa1002689. PMID 21105793.
- ↑ "Omeprazole drug summary". PDR.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2014. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.
- ↑ "LACTMED: OMEPRAZOLE". 10 March 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2017. สืบค้นเมื่อ 1 December 2015.
- ↑
Fitzakerley, Janet (2014-01-05). "2014 Treatments for Acid-Peptic Diseases: PPIs Side Effects". University of Minnesota Medical School Duluth. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2014.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "Proton Pump Inhibitor: Use in Adults" (PDF). CMS Medicaid Integrity Program. August 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 December 2013.
- ↑ Douglas, I. J.; Evans, S. J.; Hingorani, A. D.; Grosso, A. M.; Timmis, A; Hemingway, H; Smeeth, L (2012). "Clopidogrel and interaction with proton pump inhibitors: comparison between cohort and within person study designs". BMJ. 345: e4388. doi:10.1136/bmj.e4388. PMC 3392956. PMID 22782731.
- ↑ Focks, J. J.; Brouwer, M. A.; Van Oijen, M. G. H.; Lanas, A.; Bhatt, D. L.; Verheugt, F. W. A. (2012). "Concomitant use of clopidogrel and proton pump inhibitors: Impact on platelet function and clinical outcome- a systematic review". Heart. 99 (8): 520–7. doi:10.1136/heartjnl-2012-302371. PMID 22851683.
- ↑ Shirasaka, Y; Sager, J. E.; Lutz, J. D.; Davis, C; Isoherranen, N (July 2013). "Inhibition of CYP2C19 and CYP3A4 by Omeprazole Metabolites and Their Contribution to Drug-Drug Interactions". Drug Metab. Dispos. 41 (7): 1414–24. doi:10.1124/dmd.113.051722. PMC 3684819. PMID 23620487.
- ↑
Lau, WC; Gurbel, PA (March 2009). "The drug-drug interaction between proton pump inhibitors and clopidogrel". CMAJ. 180 (7): 699–700. doi:10.1503/cmaj.090251. PMC 2659824. PMID 19332744.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Norgard, NB; Mathews, KD; Wall, GC (July 2009). "Drug-drug interaction between clopidogrel and the proton pump inhibitors". Ann Pharmacother. 43 (7): 1266–1274. doi:10.1345/aph.1M051. PMID 19470853.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Torkamani, Ali. "Selective Serotonin Reuptake Inhibitors and CYP2D6". Medscape.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2015.
- ↑ Daly, AK; King, BP (May 2003). "Pharmacogenetics of oral anticoagulants". Pharmacogenetics. 13 (5): 247–52. doi:10.1097/00008571-200305000-00002. PMID 12724615.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 36.0 36.1 Stedman, CA; Barclay, ML (August 2000). "Review article: comparison of the pharmacokinetics, acid suppression and efficacy of proton pump inhibitors". Aliment Pharmacol Ther. 14 (8): 963–978. doi:10.1046/j.1365-2036.2000.00788.x. PMID 10930890.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Pauli-Magnus, C; Rekersbrink, S; Klotz, U; Fromm, MF (December 2001). "Interaction of omeprazole, lansoprazole and pantoprazole with P-glycoprotein". Naunyn Schmiedebergs Arch Pharmacol. 364 (6): 551–557. doi:10.1007/s00210-001-0489-7. PMID 11770010.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Izzo, AA; Ernst, E (2009). "Interactions between herbal medicines and prescribed drugs: an updated systematic review". Drugs. 69 (13): 1777–1798. doi:10.2165/11317010-000000000-00000. PMID 19719333.
- ↑ Brayfield, A, บ.ก. (2014-01-06). "Methotrexate". Martindale: The Complete Drug Reference. Pharmaceutical Press. สืบค้นเมื่อ 12 April 2014.
- ↑ "DrugBank: Omeprazole (DB00338)". Drugbank.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2014. สืบค้นเมื่อ 24 February 2014.
- ↑ "Omeprazole [package insert]". India: Dr. Reddy's Laboratories Limited. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2014. Revised: 0613.
- ↑ Katz, PO; Gerson, LB; Vela, MF (2013). "Guidelines for the diagnosis and management of gastroesophageal reflux disease". Am J Gastroenterol. 108 (3): 308–28. doi:10.1038/ajg.2012.444. PMID 23419381.
- ↑ 43.0 43.1 "Zegerid (Omeprazole, Sodium Bicarbonate) Patient Information, Side Effects". RxList. 14 February 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2010. สืบค้นเมื่อ 26 July 2018.
- ↑ "Omeprazole, in The Free Medical Dictionary". สืบค้นเมื่อ 11 November 2010.
- ↑ "Omeprazole". Drugs.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2011. สืบค้นเมื่อ 11 November 2010.
- ↑ "Omeprazole". MIMS Malaysia. สืบค้นเมื่อ 30 July 2018.
Cap: Should be taken with food. Take immediately before a meal. Mups Tab: May be taken with or without food.
- ↑ Baselt, RC (2008). Disposition of Toxic Drugs and Chemicals in Man (8th ed.). Foster City, CA: Biomedical Publications. pp. 1146-7.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 48.0 48.1 Farley, D (July–August 1995). "Making it easier to read prescriptions". FDA Consum. 29 (6): 25–7. PMID 10143448. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2012.
{{cite journal}}
: CS1 maint: date format (ลิงก์) - ↑ Harris, Gardiner (6 June 2002). "Prilosec's Maker Switches Users To Nexium, Thwarting Generics". The Wall Street Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2017.
- ↑ Aubert, Jerome; Mulder, Chris JJ; Schrör, Karsten; Vavricka, Stephan R (2011). "Omeprazole MUPS®: An Advanced Formulation offering Flexibility and Predictability for Self Medication". SelfCare Journal. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 June 2016. สืบค้นเมื่อ 11 June 2016.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "Santarus Receives FDA Approval for Immediate-Release Omeprazole Tablet with Dual Buffers". Santarus (Press release). 4 December 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2014.