ราบีปราโซล
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ชื่อทางการค้า | Aciphex |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
MedlinePlus | a699060 |
ข้อมูลทะเบียนยา | |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ |
|
ช่องทางการรับยา | ปาก |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | |
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | 52% |
การเปลี่ยนแปลงยา | mostly non-enzymatic, partly hepatic (CYP2C19) |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 1 - 1.5 hours |
การขับออก | 90% ไต |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.123.408 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C18H21N3O3S |
มวลต่อโมล | 359.444 g/mol g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
| |
(verify) | |
ราบีปราโซล (อังกฤษ: Rabeprazole) หรือ ราบีปราโซล โซเดียม มีชื่อทางการค้าว่า Pariet เป็นยาในกลุ่มยายับยั้งการหลั่งกรด เพื่อยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร [1] ใช้รักษาโรคระบบทางเดินอาหาร หรือความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร[2] เช่น โรคกระเพาะ โรคกรดไหลย้อน ภาวะกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป หรือ ใช้ร่วมกับยาอื่นเพื่อกำจัดแบคทีเรีย Helicobacter pylori ในกระเพาะอาหาร [3] ผลิตโดย บริษัท Eisai จำกัด แห่งประเทศญี่ปุ่น
กลไกออกฤทธิ์
[แก้]กลไกการออกฤทธิ์ของยาราเบปราโซลคือยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ H+/K+ ATPase (proton pump) ซึ่งอยู่ที่ในสมองส่วน parietal cell เอนไซม์ชนิดนี้จะผลิตกรดสู่ลูเมนในกระเพาะอาหาร การยับยั้งเอนไซม์จึงส่งผลต่อการยับยั้งการหลั่งกรด[4]
การใช้ยา
[แก้]เป็นยาชนิดเม็ดใช้สำหรับรับประทาน การหยุดใช้ยาต้องปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อน ไม่ควรแบ่งหรือเคี้ยวเม็ดยา ควรกลืนยาทั้งเม็ด
ในผู้จำเป็นต้องใช้ยาทั่วไปรับประทานวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 4-8 สัปดาห์ ส่วนการใช้เพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ควรใช้ยาหลังอาหารเช้า
การใช้ยาร่วมกับยาอื่น ๆ เพื่อกำจัดเชื้อHelicobacter pylori ในกระเพาะอาหาร รับประทานวันละ 2 ครั้ง หรือให้ใช้ยาตามที่ระบุไว้ในฉลาก[3]
ผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์
[แก้]- อาการที่ต้องแจ้งต่อแพทย์หรือเภสัชกรทันที
- ใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก ลิ้น คอ บวม กลืนอาหารลำบาก มีผื่นบริเวณผิวหนังไม่หาย เป็นไข้ เจ็บคอ เลือดออก หรือมีรอยฟกช้ำผิดปกติ ตัวหรือตาเหลือง
- อาการอื่นที่อาจเกิดได้ระหว่างการใช้ยา
- หากเป็นอย่างต่อเนื่อง หรือ รบกวนชีวิตประจำวัน ให้ แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทราบ เช่น สับสน ปวดท้อง ท้องเสีย หรือท้องผูก ปวดศีรษะ คลื่นไส้[3]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Rabeprazole". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-28. สืบค้นเมื่อ 2012-05-08.
- ↑ Rabeprazole มีผลเทียบเท่ากับ omeprazole
- ↑ 3.0 3.1 3.2 (20+MG) &drugtype=t ยากับคุณ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ถามเรื่องยา rabeprazole ชื่อการค้า pariet". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-05-10.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รายละเอียดยา Omeprazole เก็บถาวร 2012-03-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ยายับยั้งการขับโปรตอน (proton pump inhibitor - PPI) เก็บถาวร 2012-08-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน