ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม
Chiangyuen Pittayakom School
ตราประจำโรงเรียน
ที่ตั้ง
109 หมู่ 13 ถนนขอนแก่น - ยางตลาด ตำบลเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม 44160
ข้อมูล
ชื่ออื่นช.ค. C.Y.P
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล - โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
คำขวัญสุวิชาโน ภวํ โหติ
(ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ)
สถาปนา17 พฤษภาคม พ.ศ. 2516
(51 ปี 172 วัน)
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1044410601
ผู้อำนวยการชัดสกร พิกุลทอง
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษา
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาไทย
สี   เขียว - เหลือง
เพลงมาร์ชเชียงยืนพิทยาคม
เว็บไซต์http://www.cyp.ac.th/

โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม เป็นโรงเรียนประจำอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม เดิมชื่อว่าโรงเรียนสารคามพิทยาคม (สาขาอำเภอเชียงยืน) ปัจจุบันเปิดสอนในช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ภายใต้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สหวิทยาเขต สะดืออิสาน

ประวัติโรงเรียน

[แก้]

โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2516 มีชื่อชั่วคราวว่า โรงเรียนสารคามพิทยาคม (สาขาอำเภอเชียงยืน) โดยอาศัยโรงเรียนบ้านเชียงยืน (เชียงยืนวิทยา) เป็นสถานที่ชั่วคราวมี นายบุญเพ็ง คำแท่ง รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ปีการศึกษา 2516 เปิดทำการสอนมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียน

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2517 กระทรวงศึกษาธิการ โดย นายอภัย จันทวิมล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงชื่อในประกาศแต่งตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2517 ให้โรงเรียนนี้มีชื่อว่า โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม โดยมี นายสำเริง วรรณศรี ปฏิบัติหน้าที่เป็นครูใหญ่

วันที่ 1 พฤษภาคม 2518 ได้ย้ายสถานที่มาตั้งอยู่ในที่ดินราชพัสดุซึ่งเป็นที่ตั้งในปัจจุบัน

ในปีการศึกษา 2519 ถึง 2524 โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนถาวร หลังที่ 1 2 3 และ 4 และในปีการศึกษา 2543 โรงเรียนได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษาก่อสร้างอาคารหอประชุม โรงอาหาร

วันที่ 13 พฤษภาคม 2545 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้อนุมัติการจัดตั้งสมาคมศิษย์เก่าเชียงยืนพิทยาคม อีก 1 สมาคม

ปี 2546 ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนในฝัน และได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนเร่งสู่ฝัน ในปี พ.ศ. 2547 จึงได้รับการประเมินรับรอง จากกระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันตามโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝันในปีถัดมา

ปี 2551 เป็นโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

และได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ร่วมโครงการ UNIT NET โดยการร่วมมือของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยขอนแก่น เชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงสุด 100 MB มาที่โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม เพื่อรองรับการใช้บริการของนักเรียนและชุมชน

ในปีการศึกษา 2556 ได้เข้าร่วมโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ สำหรับพัฒนาและส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตามแนวทาง สสวท. และ สอวน. และได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นโรงเรียนต้นแบบในฝันพัฒนาสู่มาตรฐานสากล อีกทั้งในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 โรงเรียนได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ปกครอง นักเรียน และครู สมาคมศิษย์เก่า สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ร่วมกันจัดผ้าป่าในงานครบรอบ 40 ปี ของโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม เพื่อจัดสร้างหอประชุมอิสานอาเซียน[1]

ป้ายหน้าโรงเรียน

ทำเนียบผู้บริหาร

[แก้]
ลำดับที่ รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง ตำแหน่ง
1 บุญเพ็ง คำแท่ง 2516 - 2517 รักษาการครูใหญ่
2 ประยงค์ ไชยบัง 2517 - 2517 รักษาการครูใหญ่
3 สำเริง วรรณศรี 2517 - 2524 รักษาการครูใหญ่ รักษาการผู้อำนวยการ
4 บวร สุวรรณธาดา 2524 - 2524 รักษาการผู้อำนวยการ
5 คง โพธิบัณฑิต 2524 - 2528 ผู้อำนวยการ
6 สายเดิร บุญตา 2528 - 2535 ผู้อำนวยการ
7 ธรรมรัตน์ ประเสริฐ 2535 - 2543 ผู้อำนวยการ
8 เงิน ชิวปรีชา 2543 - 2545 ผู้อำนวยการ
9 วิศุทธิ์ ทะวิลา 2546 - 2555 ผู้อำนวยการ
10 มนูญชัย ทัพเจริญ 2555 - 2556 ผู้อำนวยการ
11 ทรงรัตน์ ธนมาลาพงศ์ 2556 - ผู้อำนวยการ
12 เทพโกศล มูลไธสง 2557-2565 ผู้อำนวยการ
13 ปรีชา การสอาด 2565-2566 ผู้อำนวยการ
14 ชัดสกร พิกุลทอง 2566-ปัจจุบัน ผู้อำนวยการ

อาคาร สถานที่

[แก้]
แผนผังอาคารเรียน

ประกอบด้วยอาคารเรียนถาวร 4 หลัง อาคารหอประชุม โรงอาหาร อนุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 สนามฟุตบอล สนามบาสเกตบอล สนามตะกร้อ ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมไทย ศูนย์ ICT สวนป่าและศาลาปฏิบัติธรรม

การจัดการศึกษา

[แก้]

หลักสูตร

[แก้]

โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคมเปิดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ช่วงชั้นที่ 3-4) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนการศึกษาแห่งชาติ ปัจจุบัน องค์กรหลักของสถานศึกษาที่มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมแปดกลุ่ม คือ

  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษาและสุขศึกษา
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

แผนการเรียน

[แก้]
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]