โรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร
โรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร | |
---|---|
Mahachai Pittayakarn School | |
ที่ตั้ง | |
พิกัด | 16°10′59″N 103°12′37″E / 16.183118°N 103.210242°E |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ม.ช. M.Y. |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล - โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง |
คติพจน์ | ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต (ปัญญาเป็นแสงสว่างแห่งโลก) |
สถาปนา | 10 เมษายน พ.ศ. 2528 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1044410582 |
ผู้อำนวยการ | นายบัณฑิต วิเท่ห์ |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษา |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย อังกฤษ |
สี | ขาว - แดง |
เพลง | มาร์ชมหาชัยพิทยาคาร |
เว็บไซต์ | mahachaipit.thai.ac |
โรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาแบบสหศึกษา ขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26 กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ ณ ถนนมหาสารคาม - โกสุมพิสัย ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบันเปิดสอนในช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ภายใต้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 กระทรวงศึกษาธิการ สหวิทยาเขตเจริญราชเดช
ประวัติโรงเรียน
[แก้]โรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร ตั้งเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2528 ในระยะ 2 ปีการศึกษาแรกได้รับความอนุเคราะห์จากวิทยาลัยครูมหาสารคาม (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม) ให้ใช้อาคารบานบุรีเป็นอาคารเรียน ต่อมาได้รับบริจาคที่ดินจาก นายจิระศักดิ์ คณาสวัสดิ์ ผู้อำนวยการ วิทยาลัยคณาสวัสดิ์ จำนวน 30 ไร่ อยู่ตรงข้ามสถานีวิทยุกระจายเสียง กรมการรักษาดินแดน เอฟ.เอ็ม.รด.มหาสารคาม แต่เนื่องจาก มีปัญหาเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จึงต้องหาที่ดินแปลงใหม่ จังหวัดมหาสารคามได้จัดหาที่ดินแปลงใหม่มีเนื้อที่ประมาณ 61 ไร่ 3 งาน อยู่ตรงข้ามสถานีทดลองพืชไร่จังหวัดมหาสารคาม (ปัจจุบันคือ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมหาสารคาม) และวัดป่าสันติวันพันชาติ ติดกับสำนักงานพัฒนาและเผยแพร่พลังงานส่วนภูมิภาคจังหวัดมหาสารคาม เป็นสถานที่จัดตั้งโรงเรียน และได้ย้ายออกมาจัดการเรียนการสอนในสถานที่ดังกล่าว เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2530 จนถึงปัจจุบัน[1]
สัญลักษณ์
[แก้]ตราและสีประจำโรงเรียน
[แก้]-
สีประจำโรงเรียน
- ตราโรงเรียน รูปดาบวางอยู่บนหนังสือ หมายถึง การใฝ่หาความรู้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เพื่อความเฉลียวฉลาดหลักแหลมแห่งปัญญา ดาบที่วางอยู่บนหนังสือเป็นดาบของท่านท้าวมหาชัย หรือพระเจริญราชเดช (กวด ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) อดีตเจ้าเมืองมหาสารคามและโรงเรียนได้รับเกียรติใช้ชื่อ “มหาชัย” เป็นชื่อของโรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร)
- สีประจำโรงเรียน ขาว - แดง
- สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์และมีจรรยามารยาทงาม
- สีแดง หมายถึง ความเข้มแข็ง อดทนและกล้าหาญ
คำขวัญ ปรัชญาและอัตลักษณ์
[แก้]- คำขวัญของโรงเรียน ลูกมหาชัยเป็นคนดี มีวินัย
- ปรัชญาของโรงเรียน ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต ปัญญาเป็นแสงสว่างแห่งโลก
- อัฒลักษณ์ของโรงเรียน ศีล สมาธิ ปัญญา [2]
ทำเนียบผู้บริหาร
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อาคาร สถานที่
[แก้]โรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร มีเนื้อที่ 61 ไร่ 3 งาน ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 ถนนมหาสารคาม - โกสุมพิสัย ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 44000 ตั้งอยู่ตรงข้ามศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมหาสารคาม และวัดป่าสันติวันพันชาติ ติดกับสำนักงานพัฒนาและเผยแพร่พลังงานส่วนภูมิภาคจังหวัดมหาสารคาม ภายในประกอบด้วยอาคารเรียนถาวร 3 หลัง อาคารเอนกประสงค์ 1 หลัง หอประชุม โรงอาหารและสนามฟุตบอล[3]
การจัดการศึกษา
[แก้]หลักสูตร
[แก้]โรงเรียนมหาชัยพิทยาคารเปิดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ช่วงชั้นที่ 3-4) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนการศึกษาแห่งชาติ ปัจจุบัน องค์กรหลักของสถานศึกษาที่มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมแปดกลุ่ม คือ
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
- กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
- กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
- กลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษาและสุขศึกษา
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
- กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
แผนการเรียน
[แก้]- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติโรงเรียน[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สัญลักษณ์โรงเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-24. สืบค้นเมื่อ 2017-10-12.
- ↑ "ข้อมูลสิ่งก่อสร้างในโรงเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-24. สืบค้นเมื่อ 2017-10-12.
ข้อมูลเพิ่มเติม
[แก้]- เว็บไซต์โรงเรียนมหาชัยพิทยาคาร เก็บถาวร 2017-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน