โรงเรียนศิริมาตย์เทวี
หน้าตา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนศิริมาตย์เทวี | |
---|---|
Sirimart Thevi School | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ศ.ท. (S.T.) |
ประเภท | โรงเรียนเอกชน |
สถาปนา | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2494 |
ผู้ก่อตั้ง | บาทหลวงเอ็ดมอน แวร์ดิแอร์ |
ผู้อำนวยการ | ซิสเตอร์ วราภรณ์ ชีวเรืองโรจน์ |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | อนุบาล 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 |
สี | สีแดง-สีขาว |
คำขวัญ | ประพฤติเยี่ยม เรียนดี กีฬาเด่น บำเพ็ญตนรับใช้ผู้อื่น |
ต้นไม้ | ต้นชงโค |
เว็บไซต์ | www.sirimartthevi.ac.th |
โรงเรียนศิริมาตย์เทวี (อังกฤษ: Sirimart Thevi School) เป็นเซมินารีและโรงเรียนเอกชนโรมันคาทอลิกในความดูแลของสังฆมณฑลเชียงใหม่ - เชียงราย เปิดสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย จนถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1951 โดยบาทหลวงเอ็ดมอน แวดิแอร์ ชาวเบลเยียม ซึ่งเป็นอธิการโบสถ์แม่พระองค์อุปถัมป์ พาน ในสมัยนั้น
ประวัติ
[แก้]ประวัติโรงเรียน
[แก้]- คุณพ่อแวร์ดิแอร์ อธิการโบสถ์แม่พระองค์อุปถัมป์ ได้ริเริ่มสร้างโรงเรียนแห่งแรกขึ้น ได้รับอนุญาตจากทางการให้เป็นโรงเรียนพิเศษ ใน วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2493 มีนักเรียนรุ่นแรก 7 คน[1]
- 30 สิงหาคม พ.ศ. 2494 ทางจังหวัดเชียงรายได้ส่งเรื่องขออนุญาตเปิดโรงเรียนคืน เนื่องจากว่าตามกฎหมายที่ออกใหม่ เจ้าของและผู้จัดการโรงเรียนต้องเป็นคนไทย ดังนั้นคุณพ่อจึงจัดทำเรื่องใหม่ส่งไปอีกครั้ง
- 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 ได้รับอนุญาตเปิดโรงเรียนเป็นทางการชื่อว่า “โรงเรียนสุรารักษ์” (เทวดารักษา) โดยมีนายอำเภอพาน นายกมล สุทธนะ, ศึกษาธิการอำเภอ นายสมัคร สิทธิเลิศ ผู้ใหญ่ทางอำเภอ พ่อค้า ประชาชน และนางสาวอัมพร บุรารักษ์ (ตำแหน่งนางสาวไทยปี พ.ศ. 2493) ได้มาร่วมเป็นเกียรติในการเปิดป้ายชื่อโรงเรียน [1]
- 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 เปิดเรียนเป็นวันแรก มีนักเรียนทั้งชาย-หญิง ทั้งหมด 82 คน ในจำนวนนี้มีนักเรียนคาทอลิก 37 คน และในภาคเรียนที่สองมีนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 97 คน มีคุณครู 3 ท่าน [1]
- มีนาคม พ.ศ. 2495 (ช่วงปิดเทอม) คุณพ่อแวร์ได้ซื้อโรงเรียนสิทธิศาสตร์ศึกษา เป็นโรงเรียนมัธยมของเอกชน แล้วทำการรื้ออาคารเรียนนำมาปลูกสร้างเป็นโบสถ์ไม้มุงหลังคาด้วยใบตองตึง ฝาวัดเป็นไม้ไผ่ขัดแตะ สร้างวัดใหม่ใกล้ถนนพหลโยธิน
- พ.ศ. 2596 ได้รวมโรงเรียนทั้งสองเข้าด้วยกันแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนศิริมาตย์เทวี”
- พ.ศ. 2503 ได้รับการรับรองวิทยฐานะ มีความเทียบเท่ากับโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนอื่น ๆ
- พ.ศ. 2504 คุณพ่อคาร์โล ลูซซี่ บาทหลวงหนุ่มไฟแรงจากประเทศอิตาลี ท่านเอาใจใส่ดูแลครู นักเรียน คนงานของโรงเรียนอย่างทั่วถึง สนับสนุนให้ครูไปอบรมเพิ่มเติมในภาคฤดูร้อนเพื่อเลื่อนวิทยาฐานะของตนเอง ท่านได้สร้างอาคารเรียนที่คุณพ่อแวร์ดิแอร์สร้างไม่เสร็จ จึงได้ตึกงามสองชั้น นอกจากนี้ท่านได้รื้อตึกแถวชั้นเดียวออก และได้สร้างตึกสองชั้นอีกสองหลังชื่อ “King” และ “Queen” ส่วนตึกที่สร้างต่อจากคุณพ่อแวร์ดิแอร์ชื่อ “Baby” สร้างโรงอาหารให้มีขนาดกว้างใหญ่พอเพียงแก่จำนวนนักเรียน สร้างห้องสุขาเพิ่มเติม สนามหน้าอาคารเรียนตึกคิงใช้เป็นที่ทำกิจกรรมเคารพธงชาติและให้การอบรมนักเรียนก่อนเข้าเรียน สร้างถังซีเมนต์เก็บน้ำฝนไว้ใช้ตลอดปี ต่อน้ำประปา ซื้อเครื่องดนตรี อุปกรณ์วงดุริยางค์ รับครูสอนดนตรี สนับสนุนให้มีวงโยธวาทิต ซื้อที่ดินจากสัตบุรุษที่มีอาณาเขตติดโรงเรียน 1 รายคือที่ดินของพ่ออุ้ยผง วิญญา ได้เจรจาแลกที่ดินพ่ออุ้ยแก้ว ธรรมพิชัย ทำสนามเด็กเล่นให้กว้างขึ้น พ่ออุ้ยแก้ว ได้เล็งเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่โรงเรียน ท่านจึงยินดีแลกที่ จัดที่ซึ่งสูงลาดขึ้นไปให้เป็นเป็นขั้นบันได้ใช้เป็นอัฒจันทร์ให้แก่นักเรียนเวลามีกิจกรรมกีฬาสี หรือกิจกรรมอื่น ๆ
- พ.ศ. 2520 คุณพ่อดำรง บุญรติวงศ์ (กังก๋ง) จากเขตมิสซังราชบุรีมาประจำที่โบสถ์พาน ท่านได้สร้าง “ตึกฟาติมา” “ตึกดอมินิก” สร้างสนามวอลเล่ย์บอลใหม่ ทำถนนคอนกรีต เทคอนกรีตสนามบาสเก็ตบอลหน้าตึกคิงส์ สร้างตึกอนุบาล
- พ.ศ. 2534 คุณพ่อเจษฎา บุญรติวงศ์ ผู้เจริญรอยตามคุณอา (คุณพ่อดำรง บุญรติวงศ์) ได้สร้างหอประชุมร่วมกับศิษย์เก่าไว้ให้นักเรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ
- พ.ศ. 2536 คณะอุร์สุลินแห่งประเทศไทยได้รับงานโรงเรียนศิริมาตย์เทวีของมิสซังโรมันคาทอลิกเชียงใหม่ ที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย คณะซิสเตอร์ได้เข้ามาทำการพัฒนาและดูแลโรงเรียนในสมัยนั้น
- พ.ศ. 2537 คุณพ่อ ธนัย สุวรรณใจ ท่านได้สร้างศาลาทรงไทย 3 หลังงามเด่นเป็นสง่าอยู่หน้าอาคาร King หลังหนึ่งถวายแด่ประกาศกเอลียาห์ หลังหนึ่งถวายโมเสส และอีกหลังถวายแด่พระเยซู
- พ.ศ. 2542 คุณพ่อปิยะ โรจนมารีวงศ์ บาทหลวงอาวุโส มากด้วยประสบการณ์จากมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ ท่านเป็นผู้ใหญ่ที่ใจดี พูดตรง พูดจริง ทำจริง รักเด็ก ๆ คุณพ่อเป็นคนเคร่งครัด จริงจัง ท่านบริหารโรงเรียนด้วยความเข้มงวด เคร่งครัดในระเบียบวินัย ติดตามการเรียนการสอนของครูและนักเรียน
- พ.ศ. 2544 คุณพ่อดุรงฤทธิ์ กระบวนศิริ จากเขตมิสซังเชียงใหม่ อดีตเซมินาเรียนรุ่นเล็กของโบสถ์แม่พระองค์อุปถัมภ์ และเป็นเซมินาเรียนคนแรกของที่นี่ที่ได้รับศีลบวชเป็นบาทหลวง ท่านได้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ให้พอเพียงกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น ได้สร้างอาคารเรียนชื่อว่า “ตึกพระแม่มารีย์” เปิดใช้อาคารเรียนเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ชื่อ ศิริมาตย์เทวี
[แก้]คุณพ่อแวร์ดิแอร์ ได้ขอให้คุณแม่บุญประจักษ์ ทรรทรานนท์ จากคณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมัน ตั้งชื่อโรงเรียน “ MATER DEI ” (มาแตร์เดอี) เป็นภาษาไทยว่า “ศิริมาตย์เทวี” หมายความว่า พระมารดาพระเจ้า[2]
ทำเนียบผู้บริหาร
[แก้]ผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต
[แก้]ทำเนียบผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนศิริมาตย์เทวี
| ||||
ที่ | รายนาม | เริ่มต้นวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
1. | บาทหลวง แวร์ดิแอร์ | พ.ศ. 2493 | พ.ศ. 2502 | |
2. | บาทหลวง เตรสซี่ | พ.ศ. 2502 | พ.ศ. 2504 | |
3. | บาทหลวง คาร์โล ลูซซี่ | พ.ศ. 2504 | พ.ศ. 2515 | |
4. | บาทหลวง แปร์ลินี | พ.ศ. 2516 | พ.ศ. 2518 | |
5. | บาทหลวง นิพจน์ เทียนวิหาร | พ.ศ. 2519 | (3 เดือน) | |
6. | บาทหลวง ดำรง บุญรติวงศ์ (กังก๋ง) | พ.ศ. 2520 | พ.ศ. 2529 | ดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการโรงเรียน |
7. | บาทหลวง ดำรัส ลิมาลัย | พ.ศ. 2529 | พ.ศ. 2530 | |
8. | บาทหลวง ปรีชา พลอยจินดา | พ.ศ. 2530 | พ.ศ. 2533 | ดำรงจำแหน่ง ผู้จัดการโรงเรียน |
9. | บาทหลวง เจษฎา บุญรติวงศ์ | พ.ศ. 2534 | พ.ศ. 2537 | ดำรงจำแหน่ง ผู้จัดการโรงเรียน |
10. | บาทหลวง ธนัย สุวรรณใจ | พ.ศ. 2537 | พ.ศ. 2538 | |
11. | บาทหลวง สรุสิทธิ์ ชุ่มศรีพันธ์ | พ.ศ. 2539 | พ.ศ. 2542 | |
12. | บาทหลวง ปิยะ โรจนะมารีวงศ์ | พ.ศ. 2542 | พ.ศ. 2544 | |
13. | บาทหลวง ดุรงค์ฤทธิ์ กระบวนศิริ | พ.ศ. 2544 | พ.ศ. 2550 | |
14. | บาทหลวง เจริญ นันทการ | พ.ศ. 2550 | พ.ศ. 2556 | |
15. | บาทหลวง ดุรงค์ฤทธิ์ กระบวนศิริ (สมัยที่ 2) | พ.ศ. 2556 | พ.ศ. 2558 | |
16. | บาทหลวง จินตศักดิ์ ยุชัยสิทธิกุล | พ.ศ. 2558 | พ.ศ. 2563 | |
17. | บาทหลวง ศักดิ์ชัย บวรเดชภัคดี | พ.ศ. 2564 | ถึงปัจจุบัน |
ผู้บริหาร
[แก้]ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนศิริมาตย์เทวี
| ||||
ที่ | รายชื่อ | ตำแหน่ง | ปีการศึกษา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
1. | นาย ประกิจ กิจเจริญ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2493 | |
2. | นางสาว ประเทือง เกิดสว่าง | ผู้จัดการ / ครูใหญ่ | พ.ศ. 2497 ถึง พ.ศ. 2498 | |
3. | ซิสเตอร์ สดับ พงศ์ศิริพัฒน์ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2498 ถึง พ.ศ. 2501 | คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ |
ผู้จัดการ/ครูใหญ่ | พ.ศ. 2501 ถึง พ.ศ. 2504 | |||
4. | นาย สมบูรณ์ ขันธปรีชา | ผู้จัดการ | พ.ศ. 2498 ถึง พ.ศ. 2501 | |
5. | นางสาว พิสมัย โลกามิตร | ผู้จัดการ | พ.ศ. 2504 ถึง พ.ศ. 2505 | |
6. | นาย ถวิล (ณัฐ) ทองธรรมชาติ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2504 ถึง พ.ศ. 2507 | ลาออก เพื่อไปศึกษาต่อ |
7. | ซิสเตอร์ ประพันธ์ สุจิตานันท์ | ผู้จัดการ | พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2511 | คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ |
8. | นางสาว อรพินท์ เกิดสว่าง (1) | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2511 | |
9. | ซิสเตอร์ ทองหล่อ ตระกูลเง็ก | ผู้จัดการ / ครูใหญ่ | พ.ศ. 2511 | คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ |
10. | นางสาว อรพินท์ เกิดสว่าง (2) | ผู้จัดการ / ครูใหญ่ | พ.ศ. 2511 ถึง พ.ศ. 2514 | ขอลาออกจาก ครูใหญ่ แต่ยังคงเป็น ผู้จัดการ |
ผู้จัดการ | พ.ศ. 2514 ถึง พ.ศ. 2520 | |||
11. | นาย ประยูร วิจิตรวงศ์ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2514 ถึง พ.ศ. 2519 | |
12. | นาย อนวัช พฤฒิพงศ์พิสุทธิ์ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2519 ถึง พ.ศ. 2544 | |
13. | ซิสเตอร์ อุรษา ทองอำไพ | ผู้จัดการ | พ.ศ. 2529 ถึง พ.ศ. 2531 | คณะภคินีผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมลของพระแม่มารีย์ |
14. | ซิสเตอร์ กัญญา คุวินทร์พันธุ์ | ผู้จัดการ | พ.ศ. 2537 ถึง พ.ศ. 2544 | คณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมัน |
15. | ซิสเตอร์ รัชนี ดีสุดจิต | ผู้จัดการ / ครูใหญ่ | พ.ศ. 2544 ถึง พ.ศ. 2550 | คณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมัน |
16. | ซิสเตอร์ วันเพ็ญ ไชยเผือก | ผู้จัดการ / ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2555 | คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี |
17. | บาทหลวง สันติ ยอเปย | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2556 | สังฆมณฑลเชียงใหม่ |
18. | บาทหลวง ดุรงค์ฤทธิ์ กระบวนศิริ | ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2558 | สังฆมณฑลเชียงใหม่ |
19. | ซิสเตอร์ ดร.ชวาลา เวชยันต์ | ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2563 | คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ |
20. | ซิสเตอร์ วราภรณ์ ชีวเรืองโรจน์ | ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการ | 2564 ถึงปัจจุบัน | คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ |
อาคารเรียน
[แก้]- อาคาร King เป็นอาคารเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา 1-3
- อาคาร Queen ชั้น 1 เป็นที่ตั้งสำหรับ ห้องพักครู ห้องพยาบาล และห้องผู้บริหาร ชั้น 2 เป็นห้องเรียนสำหรับ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5
- อาคาร Baby อาคารเรียน แผนกอนุบาล
- อาคารชั่วคราว ป.5 ป.6 (ชื่อเดิม) เดิม เป็นอาคารเรียนสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5-6 ปัจจุบัน เป็นห้องสาระการเรียนรู้ ทั้ง 8 สาระ
- ตึกดอมีนิก ซาวีโอ เป็นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2 และ ห้องธนาคารโรงเรียน
- โรงอาหาร เป็นที่รับประทานอาหารของครู และ นักเรียน ชั้นบน เป็นห้องสมุดแผนก ประถมฯ ส่วนของอาคารนี้รวมถึง ห้องพยาบาลกลาง
- ห้องดนตรี เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระ ดนตรี-นาฏศิลป์
- หอประชุม เป็นที่ตั้งของ หอประชุมกลาง ด้านหลังเป็นที่ตั้งของ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ส่วนของหอประชุมด้านทิศตะวันตก เป็นที่ตั้งของห้อง ศิลปะ และ ห้องพักครู
- แผนกธุรการ ตั้งอยู่ประตูทางเข้า ด้านทิศเหนือ เป็นที่ตั้งของกลุ่มบริหารงานทั่วไป และแผนกธุรการ
- อาคาร พระแม่มารีย์ เป็นอาคาร 4 ชั้น ใต้ถุงโล่ง เป็นอาคารเรียนสำหรับนักเรียนมัธยม ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องศาสนา ห้องแนะแนว
ศิษย์เก่า
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 75 ปี กลุ่มคริสตชน โบสถ์แม่พระองค์อุปถัมป์,http://emaphan.org/index.php/history/75-years?showall=1[ลิงก์เสีย]
- ↑ สาส์นแสดงความยินดี, ซิสเตอร์อรศรี มนตรี :http://emaphan.org/index.php/san เก็บถาวร 2011-11-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- โรงเรียนศิริมาตย์เทวี เก็บถาวร 2019-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน