ข้ามไปเนื้อหา

วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม
สถาบันการอาชีวศึกษา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓
ชื่อย่อวอ.มค. / MVC
คติพจน์ทักษะเยี่ยม เปี่ยมความรู้
คู่คุณธรรม นำวิถีชีวิตอย่างพอเพียง
ประเภทรัฐบาล - วิทยาลัย
สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓
สถาปนาพ.ศ. 2479
ผู้อำนวยการนางทิพย์วรรณ อู่ทรัพย์
ที่ตั้ง
เลขที่ 579 ถนนนครสวรรค์
ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม
จังหวัดมหาสารคาม 44000
เว็บไซต์www.mvc.ac.th

วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม (อังกฤษ : Mahasarakham Vocational College ) เป็นวิทยาลัยด้านคหกรรมพานิชย์ ในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓ ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม และเปิดสอน 3 หลักสูตร คือ ปวช., ปวส. และปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)

ประวัติ

[แก้]

วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม แรกเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2479 โดยได้มีการก่อตั้งโรงเรียนเล็กๆ แห่งหนึ่งชื่อ “โรงเรียนประถมอาชีพการช่างปั้น อำเภอเมือง มหาสารคาม” โดยความคิดเห็นของหลวงอังคณานุรักษ์ ข้าหลวงประจำจังหวัด รับนักเรียนที่จบประถมศึกษาปีที่ 4 เข้าเรียนหลักสูตร 2 ปี มีนาย เที่ยง ภวภูตานนท์ เป็นครูใหญ่ ต่อมาได้เปิดแผนกช่างจักสานและแผนกช่างเย็บผ้าขึ้นมาอีก 2 แผนก เรียกว่า ประโยคอาชีพศึกษาเบื้องต้น กำหนดหลักสูตรเท่าเดิม พ.ศ. 2480 ได้ยกฐานะเป็นโรงเรียนรัฐบาล สังกัดกรมวิชาการ ต้นปี พ.ศ. 2482 แผนกช่างจักสานและแผนกช่างปั้นได้ย้ายออกไปรวมกับแผนกช่างไม้ (ซึ่งเป็นวิทยาลัยเทคนิคมหาสารคามในปัจจุบัน) เหลือเพียงแผนกช่างเย็บ เสื้อผ้าแผนกเดียว และเปิดแผนกช่างทอผ้าขึ้นมาอีกแผนกหนึ่ง ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนเย็บเสื้อผ้ามหาสารคาม” มีนายอุ่น ภวภูตานนท์ เป็นครูใหญ่

ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 ได้ขยายหลักสุตรออกเป็น 3 ปี เรียกว่าประโยคอาชีวศึกษาชั้นกลางและได้ยุบแผนกทอผ้า เพราะไม่อยู่ในความนิยมของท้องถิ่น โดยมีนางมะลิ หนโชติ เป็นครูใหญ่ เปลี่ยนชื่อมาเป็น “โรงเรียนการช่างสตรมหาสารคาม”

พ.ศ. 2500 ได้เปิดสอนอาชีวศึกษาชั้นสูง รับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาปีที่ 6 เข้าเรียนหลักสูตร 3 ปี สำเร็จแล้วได้รับประกาศนียบัตรประโยดอาชีวศึกษาชั้นสูง โดยเปิดสอนแผนกผ้าและเครื่องแต่งกาย และแผนกอาหารและโภชนาการ อีก 7 ปีต่อมา โรงเรียนได้เข้าโครงการยูนิเซฟ เปิดสอนแผนกวิชาคหกรรมศาสตร์ แผนกวิชาอาหารและโภชนาการและวิชาศิลปหัตถกรรม (ช่างเครื่องเคลือบดินเผา) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนอาชีวศึกษา”

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2519 ได้ร่วมกับโรงเรียนการช่างมหาสารคาม ยกฐานะเป็นวิทยาลัย มีชื่อเรียกว่า “วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม” วิทยาเขต 2 และได้แยกมาเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นมา[1]

หลักสูตร

[แก้]

วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม เปิดสอนระดับดังนี้

  • ปริญญาตรี
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
หลักสูตรที่เปิดสอนในวิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓[2]
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)[3]
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
  • คหกรรมศาสตร์
  • ผ้าและเครื่องแต่งกาย
  • พณิชยการ
  • ศิลปกรรม
  • เสริมสวย
  • อาหารและโภชนาการ
หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง
  • การโฆษณาและประชาสัมพันธ์
  • การเงินและการธนาคาร
  • การจัดการผลิตภัณฑ์
  • การตลาด
  • การบริหารงานคหกรรมศาสตร์
  • การบัญชี
  • การโรงแรมและบริการ
  • การเลขานุการ
  • การออกแบบ
  • คอมพิวเตอร์กราฟิก
  • คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • เทคโนโลยีการถ่ายภาพและวิดีทัศน์
  • เทคโนโลยีผ้าและเครื่องแต่งกาย
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • เทคโนโลยีอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม
  • วิจิตรศิลป์
  • อาหารและโภชนาการ
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
  • สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน
  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-20. สืบค้นเมื่อ 2017-05-12.
  2. "สถานศึกษาในสังกัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-04. สืบค้นเมื่อ 2017-05-12.
  3. "http://ivec.vec.go.th/" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 2017-05-12. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |title= (help)