โยบ 7
โยบ 7 | |
---|---|
← โยบ 6 โยบ 8 → | |
หนังสือโยบทั้งเล่มในฉบับเลนินกราด (ค.ศ. 1008) จากฉบับสำเนาเก่า | |
หนังสือ | หนังสือโยบ |
ภาคในคัมภีร์ฮีบรู | เคทูวีม |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู | 3 |
หมวดหมู่ | Sifrei Emet |
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | พันธสัญญาเดิม |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | 18 |
โยบ 7 (อังกฤษ: Job 7) เป็นบทที่ 7 ของหนังสือโยบในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1][2] ไม่ทราบว่าผู้เขียนหนังสือโยบเป็นใคร นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าเขียนขึ้นราวศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสกาล[3][4] บทที่ 7 ของหนังสือโยบบันทึกคำกล่าวของโยบ เป็นส่วนหนึ่งของส่วนบทสนทนาของหนังสือที่ประกอบด้วยโยบ 3:1-31:40[5][6]
ต้นฉบับ
[แก้]บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 21 วรรค
พยานต้นฉบับ
[แก้]บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[7]
ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK: S; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[8]
วิเคราะห์
[แก้]โครงสร้างของหนังสือเป็นดังต่อไปนี้:[9]
- บทนำ (บทที่ 1–2)
- บทสนทนา (บทที่ 3–31)
- การตัดสิน (32:1–42:6)
- บทส่งท้าย (42:7–17)
ในโครงสร้างนี้ บทที่ 7 ถูกรวมอยู่ในส่วนบทสนทนาที่มีโครงสร้างดังต่อไปนี:[10]
- การแช่งตนเองและการคร่ำครวญให้ตนเองของโยบ (3:1–26)
- รอบที่หนึ่ง (4:1–14:22)
- เอลีฟัส (4:1–5:27)
- โยบ (6:1–7:21)
- โยบกล่าวกับเพื่อน ๆ (6:1–30)
- เค้าโครงคำบ่นของโยบ (6:1–7)
- คำร้องขอของโยบ (6:8–13)
- ความล้มเหลวของเพื่อน ๆ ในการดูแล (6:14–23)
- คำท้าทายถึงเพื่อน ๆ (6:24–30)
- โยบทูลต่อพระเจ้า (7:1–21)
- ความยากลำบากของชีวิตมนุษย์ (7:1–8)
- ความมีอายุสั้นของชีวิตมนุษย์ (7:9–16)
- ทำไม? นานเท่าใด? (7:17–21)
- โยบกล่าวกับเพื่อน ๆ (6:1–30)
- บิลดัด (8:1–22)
- โยบ (9:1–10:22)
- โศฟาร์ (11:1–20)
- โยบ (12:1–14:22)
- รอบที่สอง (15:1–21:34)
- รอบที่สาม (22:1–27:23)
- บทคั่น – บทกวีสรรเสริญปัญญา (28:1–28)
- การสรุปของโยบ (29:1–31:40)
ส่วนบทสนทนาเขียนด้วยรูปแบบบทกวีที่มีวากยสัมพันธ์และไวยากรณ์ที่มีลักษณะเฉพาะตัว[5] บทที่ 6 และ 7 บันทึกคำตอบของโยบหลังคำพูดแรกของเอลีฟัส (ในบทที่ 4 และ 5) ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลัก:[11]
- โยบ 6: โยบตอบคำพูดที่เข้าใจผิดของเอลีฟัส
- โยบ 7: โยบทูลต่อพระเจ้า[11]
รูปแบบที่สนทนากับเพื่อน ๆ ก่อนและจึงหันไปทูลต่อพระเจ้าเป็นรูปแบบการพูดของโยบต่อทั้งบทสนทนา[11]
บทที่ 7 เป็น 'กวีนิพนธ์ที่สมดุล' ประกอบด้วย 3 ส่วน แต่ละส่วนประกบหน้าหลังด้วยคำกล่าวเปิดเกี่ยวกับสภาวะของมนุษย์และคำกล่าวปิดที่ทูลคร่ำครวญต่อพระเจ้า:[12]
ส่วน# | วรรค | คำกล่าวเปิด | คำกล่าวปิด |
---|---|---|---|
1 | 1–8 | 1–2 | 7–8 |
2 | 9–16 | 9–10 | 15–16 |
3 | 17–21 | 17–18 | 21 |
การเปลี่ยนจุดเน้นของคำกล่าวของโยบปรากฏชัดเจนในวรรค 7-8 ดังนั้น "พระองค์" ในวรรค 12, 14, 16 และ 21 จึงเป็นที่ชัดเจนว่าเป็นสรรพนามบุรุษที่ 2 ที่หมายถึงพระยาห์เวห์[13]
ความยากลำบากของชีวิตมนุษย์ (7:1–8)
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ความมีอายุสั้นของชีวิตมนุษย์ (7:9–16)
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คำถามว่าทำไม? และนานเท่าใด? (7:17–21)
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Halley 1965, pp. 243–244.
- ↑ Holman Illustrated Bible Handbook. Holman Bible Publishers, Nashville, Tennessee. 2012.
- ↑ Kugler & Hartin 2009, p. 193.
- ↑ Crenshaw 2007, p. 332.
- ↑ 5.0 5.1 Crenshaw 2007, p. 335.
- ↑ Wilson 2015, p. 18.
- ↑ Würthwein 1995, pp. 36–37.
- ↑ Würthwein 1995, pp. 73–74.
- ↑ Wilson 2015, pp. 17–23.
- ↑ Wilson 2015, pp. 18–21.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Wilson 2015, p. 55.
- ↑ Wilson 2015, pp. 59–60.
- ↑ Wilson 2015, p. 59.
บรรณานุกรม
[แก้]- Alter, Robert (2010). The Wisdom Books: Job, Proverbs, and Ecclesiastes: A Translation with Commentary. W.W. Norton & Co. ISBN 978-0393080735.
- Coogan, Michael David (2007). Coogan, Michael David; Brettler, Marc Zvi; Newsom, Carol Ann; Perkins, Pheme (บ.ก.). The New Oxford Annotated Bible with the Apocryphal/Deuterocanonical Books: New Revised Standard Version, Issue 48 (Augmented 3rd ed.). Oxford University Press. ISBN 9780195288810.
- Crenshaw, James L. (2007). "17. Job". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 331–355. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
- Estes, Daniel J. (2013). Walton, John H.; Strauss, Mark L. (บ.ก.). Job. Teach the Text Commentary Series. United States: Baker Publishing Group. ISBN 9781441242778.
- Farmer, Kathleen A. (1998). "The Wisdom Books". ใน McKenzie, Steven L.; Graham, Matt Patrick (บ.ก.). The Hebrew Bible Today: An Introduction to Critical Issues. Westminster John Knox Press. ISBN 978-0-66425652-4.
- Halley, Henry H. (1965). Halley's Bible Handbook: an abbreviated Bible commentary (24th (revised) ed.). Zondervan Publishing House. ISBN 0-310-25720-4.
- Kugler, Robert; Hartin, Patrick J. (2009). An Introduction to the Bible. Eerdmans. ISBN 978-0-8028-4636-5.
- Walton, John H. (2012). Job. United States: Zondervan. ISBN 9780310492009.
- Wilson, Lindsay (2015). Job. United States: Wm. B. Eerdmans Publishing Company. ISBN 9781467443289.
- Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คำแปลในศาสนายูดาห์:
- Iyov - Job - Chapter 7 (Judaica Press) translation [with Rashi's commentary] at Chabad.org
- คำแปลในศาสนาคริสต์:
- Online Bible at GospelHall.org (ESV, KJV, Darby, American Standard Version, Bible in Basic English)
- Book of Job Chapter 7. Various versions
- Book of Job หนังสือเสียงสาธารณสมบัติที่ LibriVox Various versions
- โยบ 7. ยูเวอร์ชัน