โยนาทัน เนทันยาฮู
โยนาทัน เนทันยาฮู | |
---|---|
ภาพเท่าที่ทราบล่าสุด ไม่นานก่อนที่เขาจะเสียชีวิตจากการเป็นผู้นำปฏิบัติการเอนเทบเบ[1] | |
ชื่ออื่น | โจนาธาน เนทันยาฮู |
ชื่อเล่น | โยนี |
เกิด | 13 มีนาคม ค.ศ. 1946 นครนิวยอร์ก สหรัฐ |
เสียชีวิต | กรกฎาคม 4, 1976 เอนเทบเบ ประเทศยูกันดา | (30 ปี)
รับใช้ | อิสราเอล |
แผนก/ | กองทัพบกอิสราเอล |
ประจำการ | ค.ศ. 1964–1976 |
ชั้นยศ | พันโท |
หน่วย | กองพลน้อยพลร่มที่ 35 หน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการ |
บังคับบัญชา | หน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการ |
การยุทธ์ | |
บำเหน็จ | เหรียญทหารยอดเยี่ยม |
โยนาทัน "โยนี" เนทันยาฮู (ฮีบรู: יונתן נתניהו ; อังกฤษ: Yonatan "Yoni" Netanyahu; 13 มีนาคม ค.ศ. 1946 – 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1976) เป็นนายทหารกองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) ผู้บัญชาการหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการระหว่างปฏิบัติการเอนเทบเบ ซึ่งเป็นปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือตัวประกันที่ท่าอากาศยานเอนเทบเบในประเทศยูกันดาเมื่อปี ค.ศ. 1976 ภารกิจนี้ประสบความสำเร็จ โดยตัวประกัน 102 คนจากทั้งหมด 106 คนได้รับการช่วยชีวิต แต่เนทันยาฮูเสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่—ซึ่งเป็นกองกำลังป้องกันอิสราเอลเพียงรายเดียวที่เสียชีวิตระหว่างปฏิบัติการ
เขาเป็นบุตรชายคนโตของศาสตราจารย์ชาวอิสราเอลชื่อเบนซิโยน เนทันยาฮู โดยโยนาทันเกืดในนครนิวยอร์กและใช้เวลาส่วนใหญ่ในวัยหนุ่มของเขาในสหรัฐ ที่เขาเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยม หลังจากทำหน้าที่ในกองกำลังป้องกันอิสราเอลระหว่างสงครามหกวันในปี ค.ศ. 1967 เขาเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดช่วงสั้น ๆ ก่อนที่จะย้ายไปเรียนที่มหาวิทยาลัยฮีบรูแห่งเยรูซาเลมเมื่อปี ค.ศ. 1968 หลังจากนั้นไม่นานเขาก็ออกจากการศึกษาและกลับมายังกองกำลังป้องกันอิสราเอล เขาเข้าร่วมหน่วยซาเยเรตมัตคัลในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 และได้รับรางวัลเหรียญทหารยอดเยี่ยมสำหรับการปฏิบัติของเขาในสงครามยมคิปปูร์ ค.ศ. 1973 หลังจากการเสียชีวิตของเขาในปฏิบัติการเอนเทบเบ ปฏิบัติการดังกล่าวได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น "ปฏิบัติการโยนาทัน" เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา
เขามีน้องชายชื่อเบนจามิน เนทันยาฮู ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 ถึงปี ค.ศ. 2021 และยังทำหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวระหว่างปี ค.ศ. 1996 ถึง 1999 ทั้งสองมีน้องชายคนที่สามชื่ออิดโด เนทันยาฮู ซึ่งเป็นทหารในหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการ
ประวัติ
[แก้]โยนาทัน เนทันยาฮู เกิดในนครนิวยอร์ก เขาเป็นลูกชายคนโตของซีลา (นามสกุลเดิม ซีกัล; ค.ศ. 1912–2000) และเบนซิโยน เนทันยาฮู (ค.ศ. 1910–2012) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณสาขาประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคอร์เนล เขาได้รับการตั้งชื่อตามปู่ของเขา ซึ่งเป็นอาจารย์ในศาสนายิวชื่อนาธาน ไมเลย์คาวสกี และผู้พัน จอห์น เฮนรี แพตเทอร์สัน ที่เคยบัญชากองพันยิวอาสา และดูแลชาวยิว[2] เขามีน้องชายสองคนคือเบนจามินและอิดโด ซึ่งเบนจามิน (ชื่อเล่น "บีบี") ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลในปี ค.ศ. 1996, ในปี ค.ศ. 2009 รวมทั้งการเลือกตั้งใหม่ในปี ค.ศ. 2013 และ 2015 ส่วนอิดโด น้องคนสุดท้องในสามคน เป็นทั้งรังสีแพทย์และนักเขียน ซึ่งทั้งสามพี่น้องเป็นทหารในหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการ
เนทันยาฮูเข้าศึกษาที่เชลเทนแฮมไฮสกูล ในวินโกต รัฐเพนซิลเวเนีย โดยสำเร็จการศึกษาในปี ค.ศ. 1964 ในฐานะเพื่อนร่วมชั้นของเรจจี แจ็กสัน ผู้เป็นสมาชิกหอเกียรติยศเบสบอล เมื่อครั้งที่อยู่ในไฮสกูล เขาเริ่มใคร่ครวญจุดมุ่งหมายในชีวิต เมื่อเขาเขียนหนังสือในปี ค.ศ. 1963 โดยเขียนว่า "ปัญหาต่อวัยรุ่นที่นี่คือชีวิตของพวกเขาที่ขาดแคลนความพึงพอใจ ผมควรจะพร้อมในทุกช่วงเวลาของชีวิตที่จะเผชิญหน้ากับตัวเองและกล่าว—'นี่คือสิ่งที่ผมได้ทำ'"[3][4]
เนทันยาฮูแต่งงานกับแฟนสาวชื่อเทอร์ซา ("ทูตี") ที่คบกันมาเป็นเวลานานในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1967 ไม่นานหลังจากงานแต่งงานของพวกเขา พวกเขาบินไปที่สหรัฐ โดยโยนีเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขาเรียนวิชาปรัชญาและคณิตศาสตร์ ด้วยผลการเรียนยอดเยี่ยมทั้งสองวิชา และอยู่ในรายชื่อนักเรียนที่เรียนดีมากในช่วงปลายปีแรก[5] อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าเมื่ออยู่ห่างจากประเทศอิสราเอล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออิสราเอลต่อสู้กับอียิปต์ในช่วงสงครามการบั่นทอนกำลัง ย้ายไปเรียนที่มหาวิทยาลัยฮีบรูแห่งเยรูซาเลมในปี ค.ศ. 1968 กระทั่งในช่วงต้นปี ค.ศ. 1969 เขาออกจากการศึกษาและกลับไปที่กองทัพ[6] บิดาของเขาอธิบายถึงการตัดสินใจนั้นว่า "เขาฝันที่จะกลับมาศึกษาต่อและวางแผนที่จะทำเช่นนั้นครั้งแล้วครั้งเล่า ถึงกระนั้นเขาก็ยังคงเปลี่ยนบรรยากาศอยู่เสมอที่เขากลับไปฮาร์วาร์ดเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดทางทหาร"[6]
ในปี ค.ศ. 1972 เขากับทูตีหย่าขาดจากกัน เนทันยาฮูอาศัยอยู่กับบรูเรียแฟนใหม่ของเขาเป็นเวลาสองปี ก่อนเขาเสียชีวิต[7]
อาชีพทหาร
[แก้]หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับไฮสกูล เนทันยาฮูเข้าร่วมกองกำลังป้องกันอิสราเอลในปี ค.ศ. 1964 เขาอาสาที่จะเป็นทหารในกองพลน้อยพลร่ม และสันทัดในหลักสูตรฝึกอบรมนายทหาร ในที่สุดเขาก็ได้รับคำสั่งจากกองร้อยพลร่ม
ในปี ค.ศ. 1967 เขานึกถึงวิทยาลัย แต่สงครามคุกคามอย่างต่อเนื่องทำให้เขาอยู่ในอิสราเอล: "นี่คือประเทศและบ้านเกิดเมืองนอนของฉัน ฉันมีสังกัดอยู่ที่นี่" เขาเขียน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1967 ในช่วงสงครามหกวัน กองพันของเขาต่อสู้ในยุทธการที่อุมกอเตฟในไซนาย แล้วได้เสริมกำลัง ณ ยุทธการที่ราบสูงโกลัน[7] ระหว่างยุทธการที่ราบสูงโกลัน เขาได้รับบาดเจ็บในขณะที่ช่วยเหลือเพื่อนทหารที่ได้รับบาดเจ็บหลังแนวข้าศึก เขาได้รับการติดเหรียญกล้าหาญหลังจากสงครามครั้งนั้น[3]
หลังจากได้รับบาดเจ็บ เขากลับไปสหรัฐเพื่อเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด[6] แต่หลังจากนั้นหนึ่งปี เขารู้สึกว่าจำเป็นที่จะต้องกลับไปอิสราเอลเพื่อสมทบกับกองทัพ "ณ ขณะนี้" เขาได้เขียนไว้ในจดหมาย "ฉันควรจะปกป้องประเทศของฉัน ฮาร์วาร์ดเป็นที่หรูหราที่ฉันไม่สามารถจ่ายได้"[6] เขากลับไปฮาร์วาร์ดในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1973 แต่ก็ยกเลิกชีวิตด้านวิชาการอีกครั้งเพื่อวงการทหารของอิสราเอล[6]
โดยปี ค.ศ. 1970 เขาเป็นผู้บัญชาการหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการ (หน่วยรบพิเศษกรมข่าวกรองทหารอิสราเอล) ซึ่งเป็นหน่วยลาดตระเวนพิเศษต่อต้านการก่อการร้าย และในฤดูร้อนปี ค.ศ. 1972 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้บัญชาการของหน่วย[3] ปีนั้นเขาได้รับคำสั่งให้โจมตีในปฏิบัติการใส่หีบ 3 ซึ่งเจ้าหน้าที่อาวุโสของซีเรียถูกจับในฐานะชิปต่อรองเพื่อแลกเปลี่ยนในภายหลังกับนักบินชาวอิสราเอลผู้ถูกจับกุม ในปีต่อไปเขาได้เข้าร่วมในปฏิบัติการสปริงออฟยูธ ซึ่งผู้ก่อการร้ายและผู้นำของกลุ่มกันยาทมิฬได้ถูกเลือกสังหารโดยหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการ, กองเรือ 13 และมอสสาด[7]
ในช่วงสงครามยมคิปปูร์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1973 เนทันยาฮูสั่งกองกำลังหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการในที่ราบสูงโกลันสังหารคอมมานโดซีเรียกว่า 40 คนในการต่อสู้ ซึ่งได้ขัดขวางการตีโฉบฉวยของคอมมานโดซีเรียในดินแดนส่วนกลางของโกลัน ในช่วงสงครามเดียวกัน เขายังได้ช่วยชีวิตพันโท ยอสซี เบน ฮานาน จากเทลชัมส์ ขณะที่เบน ฮานาน กำลังนอนบาดเจ็บอยู่หลังเส้นเขตซีเรีย[7]
หลังสงคราม เนทันยาฮูได้รับบำเหน็จเหรียญทหารยอดเยี่ยม (ฮีบรู: עיטור המופת) ซึ่งเป็นเครื่องยศทางทหารสูงสุดอันดับสามของอิสราเอล สำหรับการช่วยเบน ฮานาน ของเขา จากนั้น เนทันยาฮูอาสาเป็นผู้บัญชาการหุ้มเกราะ เนื่องจากความเสียหายอย่างหนักได้ก่อให้เกิดกองกำลังติดอาวุธของอิสราเอลในช่วงสงคราม ซึ่งมีจำนวนไม่มากในหมู่นายทหารเหล่านี้ เนทันยาฮูมีความสันทัดในหลักสูตรเจ้าหน้าที่ควบคุมรถถัง และได้รับคำสั่งจากกองพลหุ้มเกราะบารักซึ่งได้ถูกทำลายในช่วงสงคราม เนทันยาฮูพากองพลน้อยของเขากลับเข้าไปในหน่วยทหารนำในที่ราบสูงโกลัน[7] เขาถือว่าชาวปาเลสไตน์เป็น'สามัญชนผู้อาศัยอยู่ในคูหา'[8]
ปฏิบัติการเอนเทบเบ
[แก้]เนทันยาฮูเสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 ขณะบัญชาการภารกิจกู้ภัยในระหว่างปฏิบัติการเอนเทบเบ[9] เขาเป็นทหารอิสราเอลคนเดียวที่ถูกสังหารในระหว่างการโจมตี (พร้อมทั้งตัวประกันสามคน, สมาชิกแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ทั้งหมด และทหารยูกันดาอีกหลายสิบคน) เรื่องเล่าที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปของการเสียชีวิตของเขาคือการที่โยนาทันยิงทหารยูกันดา และถูกยิงโต้ตอบโดยชาวแอฟริกันจากหอควบคุมของท่าอากาศยาน ครอบครัวของเขาปฏิเสธที่จะยอมรับคำตัดสินนี้ และยืนยันว่าเขาถูกสังหารโดยชาวเยอรมันผู้บัญชาการสลัดอากาศ[10][11] เนทันยาฮูถูกยิงนอกอาคารแบบโหมกระหน่ำ จากนั้นไม่นานเขาก็เสียชีวิตในอ้อมแขนของเอเฟรม สเนห์ ผู้บัญชาการหน่วยแพทย์ของภารกิจ[12] ปฏิบัติการดังกล่าวประสบความสำเร็จ และได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นมิฟต์ซาโยนาทัน ("ปฏิบัติการโยนาทัน" ในภาษาไทย) เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา[9]
เนทันยาฮูได้รับการฝังอยู่ในสุสานทหารของกรุงเยรูซาเลมที่เมาต์เฮิร์ซเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม หลังจากพิธีศพทางทหาร ซึ่งมีประชาชนจำนวนมหาศาลและเจ้าหน้าที่ระดับสูงเข้าร่วม[13] ส่วนชิมอน เปเรส ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น ได้กล่าวถ้อยคำสรรเสริญช่วงนั้นว่า "กระสุนได้ฉีกหัวใจชายหนุ่ม หนึ่งในบุตรชายที่ดีที่สุดของอิสราเอล, หนึ่งในนักรบผู้กล้าหาญที่สุด, หนึ่งในผู้บัญชาการที่มีแววมากที่สุด – โยนาทัน เนทันยาฮู ผู้สง่างาม"[7]
ทั้งนี้ มีต้นไม้อนุสรณ์ซึ่งปลูกไว้เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาด้านหน้าของเชลเทนแฮมไฮสกูล ซึ่งเป็นไฮสกูลที่เขาสำเร็จการศึกษา และแผ่นโลหะอนุสรณ์ตั้งอยู่ในล็อบบี
จดหมายส่วนตัว
[แก้]ในปี ค.ศ. 1980 ได้มีการเผยแพร่จดหมายส่วนตัวของเนทันยาฮูหลายฉบับ นักประพันธ์อย่างเฮอร์แมน โวค ได้อธิบายว่าจดหมายเหล่านั้นเป็น "งานวรรณกรรมที่น่าทึ่งซึ่งอาจเป็นหนึ่งในเอกสารที่ยอดเยี่ยมในยุคของเรา"[14] จดหมายหลายฉบับของเขาถูกเขียนขึ้นอย่างเร่งรีบภายใต้สภาวะการณ์ในสนามรบ แต่จากการทบทวนในหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ ได้ยกให้เป็น "การพรรณนาที่น่าเชื่อถือของชายผู้มีความสามารถ และอ่อนไหวในยุคสมัยของเราซึ่งอาจมีความสามารถในหลาย ๆ สิ่งหลาย ๆ อย่าง แต่ก็เลือกที่จะอุทิศตนให้กับการฝึกฝนและความเชี่ยวชาญในศิลปะแห่งสงคราม ไม่ใช่เพราะเขาชอบฆ่าหรือต้องการ แต่เพราะเขารู้ว่าเช่นเคยในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ที่ความดีไม่สามารถจับคู่กับความชั่วร้ายได้หากไม่มีพลังในการปกป้องตัวเอง"[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Follow Me image gallery เก็บถาวร 2013-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "The Seven Lives of Colonel Patterson: how an Irish lion hunter led the Jewish Legion to victory" by Denis Brian (pub. 2008), pg. xiii
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Casualties: Jonathan Netanyahu (1946-1976)", The Baltimore Sun, Feb. 15, 1981
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อFilm
- ↑ Hastings (1979), p. 89.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 "Entebbe Hero Paid a Commitment With Death", UPI: The Palm Beach Post, (W. Palm Beach, Florida), March 13, 1977
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 Yonaton "Yoni" Netanyahu biography, Jewish Virtual Library
- ↑ Anshel Pfeffer,Bibi: The Turbulent Life and Times of Benjamin Netanyahu, C. Hurst & Co., 2018 p.86
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Will, George. "Entebbe's 'Jonathan' story: Israel, U.S. share sacred day", The Orlando Sentinel (Orlando, Florida), July 2, 1981
- ↑ Anshel Pfeffer,Bibi: The Turbulent Life and Times of Benjamin Netanyahu, C. Hurst & Co., 2018 pp.116-123
- ↑ Adam Shatz, 'The sea is the same sea,' The London Review of Books Vol. 40 No. 16 · 30 August 2018 pages 24-28.
- ↑ Freedland, Jonathan (25 June 2016). "'We thought this would be the end of us': the raid on Entebbe, 40 years on". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 3 July 2016.
- ↑ "Yoni’s Last Days – The Raid at Entebbe – Page 3" เก็บถาวร 2019-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Yoni.org
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อLetters
- ↑ "Words of a Fallen Soldier" New York Times, January 25, 1981.
บรรณานุกรม
[แก้]- Self-Portrait of a Hero: From the Letters of Jonathan Netanyahu 1963–1976; Netanyahu, Jonathan/Netanyahu, Benjamin/Netanyahu, Iddo (1998); Warner Books. ISBN 0-446-67461-3
- The Letters of Jonathan Netanyahu : The Commander of the Entebbe Rescue Operation; Jonathan Netanyahu (2001); Gefen Publishing House. ISBN 978-965-229-267-4 (variation of the above)
- Yoni: Hero of Entebbe; Max Hastings (1979); DoubleDay. ISBN 978-0-385-27127-1 (a biography of Yoni Netanyahu)
- Entebbe: A Defining Moment in the War on Terrorism—The Jonathan Netanyahu Story; Iddo Netanyahu (2003); Balfour Books. ISBN 978-0-89221-553-9
- Yoni's Last Battle: The Rescue at Entebbe, 1976; Iddo Netanyahu, Yoram Harzony (2001); Gefen Publishing House. ISBN 978-965-229-283-4
- Yoni Netanyahu: Commando at Entebbe; Devra Newberger Speargen (1997); Jewish Publication Society of America. ISBN 978-0-8276-0642-5
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ผลงานโดย โยนาทัน เนทันยาฮู ที่โอเพนไลบรารี
- งานโดยหรือเกี่ยวกับ โยนาทัน เนทันยาฮู ในห้องสมุดต่าง ๆ ในแคตาลอกของเวิลด์แคต