โพโรโระ เพนกวินป่วน ก๊วนขั้วโลก
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โพโรโระ เพนกวินป่วน ก๊วนขั้วโลก | |
---|---|
ประเภท | เด็ก |
ประเทศแหล่งกำเนิด | เกาหลีใต้ และ เกาหลีเหนือ [1] |
ภาษาต้นฉบับ | เกาหลี อังกฤษ |
จำนวนฤดูกาล | 6 |
จำนวนตอน | 52 ตอนต่อซีซัน (จนถึงซีซัน 3) 26 ตอนต่อซีซัน (ซีซัน 4 - ปัจจุบัน) |
การผลิต | |
ความยาวตอน | 5 นาที ต่อ 1 ตอน (จนถึงซีซัน 3) 11 นาที ต่อ 1 ตอน (ซีซัน 4 - ปัจจุบัน) |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | อีบีเอส |
ออกอากาศ | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 |
โพโรโระ เพนกวินป่วน ก๊วนขั้วโลก (เกาหลี: 뽀롱뽀롱 뽀로로) เป็นการ์ตูนแอนิเมชันคอมพิวเตอร์ เป็นผลงานของ ไอโคนิกเอนเตอร์เทนเมนท์, เอสเคบอร์ดแบนด์, โอคอนและอีบีเอส และยังถือเป็นผลผลิตแห่งความร่วมมือจาก Samchŏlli บริษัทผลิตแอนิเมชัน ที่ตั้งอยู่ในแคซ็อง เกาหลีเหนือด้วย โดยเริ่มสร้างแอนิเมชันเรื่องนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 และเริ่มออกอากาศในเกาหลีใต้ทางช่อง อีบีเอส ในปี พ.ศ. 2546
ในปัจจุบันแอนิเมชันเรื่องนี้ยังออกอากาศในหลายประเทศเช่น ออสเตรเลีย, ฝรั่งเศส, ไต้หวัน, อินเดีย, อิตาลี, เปอร์โตริโก, สิงคโปร์และเวียดนาม และยังออกอากาศทางช่องโทรทัศน์ของ นอร์เวย์, ช่องบูมเมอแรงและการ์ตูนนิโต ของสหราชอาณาจักร และช่องดิสนีย์จูเนียร์เอเชีย
ในประเทศเกาหลีใต้ โพโรโระเป็นที่มีชื่อเสียงในกลุ่มเด็กวัยก่อนอนุบาลและเด็กทั่วไป และมีชื่อเล่นที่เรียกกันว่า "ท่านประธานโพโรโระ" (เกาหลี: 뽀통령) และในกลุ่มวัยรุ่นก็เรียกกันว่า "ศาสดาโพโรโระ" (เกาหลี: 뽀느님)
แอนิเมชันเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการผจญภัยของโพโรโระและผองเพื่อนซึ่งอาศัยอยู่ในป่าหิมะแห่งป่าโพรง โพรง ซึ่งมักจะเผชิญกับความท้าทาย, บทเรียนต่างๆและเรื่องของศีลธรรมในแต่ละตอน
ตัวละคร
[แก้]ตัวละครหลัก
[แก้]- Pororo - เพนกวินน้อยตัวผู้
- Crong - เฮอร์รีราซอรัสตัวผู้
- Eddy - หมาจิ้งจอกเฟนเนกตัวผู้
- Poby - หมีขาวตัวผู้
- Loopy - บีเวอร์ตัวเมีย
- Petty - เพนกวินน้อยตัวเมีย
- Harry - ฮัมมิงเบิร์ดตัวผู้
- Rody - หุ่นยนต์ตัวผู้
- Tong Tong - มังกรตัวผู้
- Pipi - มนุษย์ต่างดาวสีม่วง
- Popo - มนุษย์ต่างดาวสีฟ้า
ข้อมูลเพิ่มเติม
[แก้]- Iconix Official Website (English)
- Pororo The Little Penguin Official Site เก็บถาวร 2005-12-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (outdated)
- Pororo in Netherlands (Dutch)
- Mini-Site[ลิงก์เสีย] at Playhouse Disney Channel Asia
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Editorial, Reuters. "Iconic South Korean penguin character actually half-North Korean". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-05. สืบค้นเมื่อ 18 November 2016.