ข้ามไปเนื้อหา

ฮัมมิงเบิร์ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮัมมิงเบิร์ด
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Rupelian 30–0Ma
นกฮัมมิงเบิร์ดสี่สายพันธุ์จากประเทศตรินิแดดและโตเบโก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
โดเมน: Eukaryota
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Apodiformes
วงศ์: Trochilidae
Vigors, 1825
Subfamilies

Phaethornithinae
Trochilinae

ฮัมมิงเบิร์ด (อังกฤษ: hummingbird) เป็นนกซึ่งมีถิ่นที่อยู่ ในทวีปอเมริกา ประกอบเป็นวงศ์ Trochilidae จัดเป็นนกที่มีขนาดเล็ก ที่สุดวงศ์หนึ่ง โดยชนิดส่วนใหญ่มีความยาวได้ 7.5–13 เซนติเมตร ฮัมมิงเบิร์ดผึ้งเป็นนกชนิดเล็กที่สุดเท่าที่มีอยู่ มีขนาด 5 เซนติเมตร และน้ำหนักน้อยกว่า 2.0 กรัม ฮัมมิงเบิร์ดได้ชื่อนี้เพราะเสียงฮัมที่เกิดจากปีกที่ตีกันซึ่งกระพือด้วยความถี่สูงที่มนุษย์ได้ยิน พวกมันลอยอยู่กลางอากาศโดยมีอัตรากระพือปีกสูงตั้งแต่ 12 ครั้งต่อวินาทีในชนิดขนาดใหญ่ จนถึงกว่า 80 ครั้งต่อวินาทีในชนิดขนาดเล็ก ในบรรดาชนิดที่เคยวัดในอุโมงค์ลม ความเร็วสูงสุดเกิน 15 เมตรต่อวินาที (54 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) และบางชนิดด้วยความเร็ว 22 เมตรต่อวินาที (79 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)[1][2]

ฮัมมิงเบิร์ดมีเมแทบอลิซึมสูงกว่าสัตว์เลือดอุ่นชนิดใด[3] เพื่ออนุรักษ์พลังงานเมื่อขาดแคลนอาหาร และในเวลากลางคืนเมื่อไม่ได้ออกหาอาหาร พวกมันสามารถเข้าสู่ภาวะกระตุ้นยาก (torpor) ซึ่งคล้ายกับการจำศีล โดยชะลออัตราเมแทบอลิซึมเหลือ 1/15 ของอัตราปกติ[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Clark, C. J.; Dudley, R. (2009). "Flight costs of long, sexually selected tails in hummingbirds". Proceedings of the Royal Society B: Biological Sciences. 276 (1664): 2109–2115. doi:10.1098/rspb.2009.0090. PMC 2677254. PMID 19324747.
  2. Ridgely RS, Greenfield PG (2001). The Birds of Ecuador, Field Guide (1 ed.). Cornell University Press. ISBN 0-8014-8721-8.
  3. Suarez, R. K. (1992). "Hummingbird flight: Sustaining the highest mass-specific metabolic rates among vertebrates". Experientia. 48 (6): 565–70. doi:10.1007/bf01920240. PMID 1612136.
  4. "Hummingbirds". Nationalzoo.si.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-16. สืบค้นเมื่อ 2013-04-01.