ข้ามไปเนื้อหา

มังกร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มังกร

มังกร (อังกฤษ: dragon; จากละติน: draco) เป็นสัตว์วิเศษที่รู้จักกันในวรรณคดีของจีนและตะวันตก แม้จะใช้คำว่ามังกร (dragon) เหมือนกัน แต่มังกรของจีนและตะวันตกนั้นสื่อถึงสัตว์ต่างชนิดกัน มังกรของจีนมีรูปร่างลักษณะจัดอยู่ในประเภทสัตว์เลื้อยคลานหรืองู ไม่มีปีก แต่สามารถบินไปในอากาศได้ ส่วนมังกรของตะวันตกจะมีขา มีปีกและสามารถพ่นไฟได้

ในตำนานยุโรป มังกรเป็นสัตว์อันตรายและน่าสะพรึงกลัวสำหรับมนุษย์ มังกรจึงเป็นศัตรูตัวฉกาจของเหล่าวีรบุรุษทั้งหลาย การฆ่ามังกรและขึ้นเถลิงราชย์เป็นกษัตริย์. มังกรจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ ทั้งที่มีตัวตนจริง ๆ และในตำนานต่าง ๆ เช่น กษัตริย์อาเธอร์ ซึ่งมีนามสกุลว่า Pendragon มีความหมายว่า 'ศีรษะของมังกร' หรือ 'หัวหน้ามังกร' และมงกุฎของกษัตริย์อาเธอร์ ก็เป็นรูปมังกร ส่วนในตำนานจีน มังกรเป็นสัตว์มงคลและมีสถานะเป็นเทพเจ้า เสื้อคลุมมังกร 5 เล็บเป็นเครื่องทรงของที่กษัตริย์สามารถใช้ได้เท่านั้น ส่วนเครื่องทรงที่มีรูปมังกร 4 เล็บจะเป็นชุดสำหรับขุนนาง และ 3 เล็บสำหรับประชาชนทั่วไป

เราพบมังกรได้ง่ายและบ่อยมาก ไม่ว่าจะเป็นในตำนานของทางยุโรปหรือเอเชียก็ตาม เรียกว่าที่ใดมีอารยธรรมและตำนาน ที่นั่นก็ต้องมีมังกรเป็นของคู่กัน. มังกรนั้นมีรูปร่างและลักษณะหลายอย่าง แตกต่างไปตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น แต่โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีจุดเด่นคือ เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ ร่างกายใหญ่โต มีพละกำลังมาก บางครั้งอาจพ่นไฟได้ หรือมีอำนาจเวทมนตร์มหาศาล และที่สำคัญคือ บินได้ (อาจจะมีปีกหรือไม่มีก็ได้) โดยขนาดรูปร่างและสีนั้น ก็แตกต่างกันไป

อย่างไรก็ตาม มังกรที่พบในตำนานของทางยุโรปและของทางเอเชียนั้น ค่อนข้างจะแตกต่างกันในแง่สัญลักษณ์ โดยเฉพาะคติของจีนที่มักจะถือว่า มังกรนั้นคือเทพเจ้า และเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นมงคล รวมถึงเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิ (ซึ่งเป็นสมมติเทพ) แต่ทางยุโรปนั้นมักจะถือมังกรเป็นสัญลักษณ์ของความชั่วร้าย (อันเป็นคติที่สืบทอดมาจากความหวาดกลัวงูของชาวยุโรป)

ดูเพิ่ม

[แก้]

หนังสืออ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Johnsgard, Paul Austin; Johnsgard, Karin (1982). Dragons and unicorns : a natural history. New York: St. Martin’s Press. ISBN 0312218958.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Knight, Peter. "Sacred Dorset – On the Path of the Dragon", 1998.
  • Manning-Sanders, Ruth (1977). A Book of Dragons. London: Methuen. ISBN 0416581102.
  • Mayor, Adrienne (2000). The First Fossil Hunters: Paleontology in Greek and Roman Times. Princeton, New Jersey: Princeton University Press. ISBN 0-691-08977-9.
  • Shuker, Karl (1995). Dragons: a natural history. New York: Simon & Schuster. ISBN 0684814439.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]