โพ
โพ | |
---|---|
ใบและกิ่งของโพ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง |
เคลด: | พืชดอก |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ |
เคลด: | โรสิด |
อันดับ: | กุหลาบ |
วงศ์: | วงศ์ขนุน |
สกุล: | โพ |
สกุลย่อย: | F. subg. Urostigma L. 1753 not Forssk. 1775 |
สปีชีส์: | Ficus religiosa |
ชื่อทวินาม | |
Ficus religiosa L. 1753 not Forssk. 1775 | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
โพ (มาจากภาษาสิงหล)[2] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus religiosa) เป็นต้นไม้สปีชีส์หนึ่งของไทรหรือมะเดื่อ เป็นพืชพื้นเมืองของอินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา, ตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และอินโดจีน เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน สูงได้ถึง 30 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 3 เมตร
ใบมีรูปหัวใจปลายยาว ยาว 10–17 เซนติเมตร กว้าง 8–12 เซนติเมตร ก้านใบยาว 6–10 เซนติเมตร ผลมีขนาดเล็กมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1–1.5 เซนติเมตร สีเขียวเมื่อสุกมีสีม่วง
โพเป็นต้นไม้ที่ได้รับการสักการะในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนาเชน และพระพุทธศาสนา พระโคตมพุทธเจ้าก็ได้ตรัสรู้เมื่อนั่งอยู่ใต้ต้นโพเช่นกัน โดยต้นโพที่พระโคตมพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นชื่อ "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" ปัจจุบันยังคงมีชีวิตอยู่ที่ประเทศอินเดีย จึงเชื่อกันว่าโพเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุข ความสำเร็จ อายุยืน และความโชคดี[3][4] และเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดปราจีนบุรี[5]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แม่แบบ:Ppn
- Encyclopedia Americana. 1920. .