ข้ามไปเนื้อหา

โนะฮ์ อาลัม ชะฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โนห์ อลัม ชาห์)
โนะฮ์ อาลัม ชะฮ์
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม Mohd Noh Alam Shah
วันเกิด (1980-09-03) 3 กันยายน ค.ศ. 1980 (44 ปี)
สถานที่เกิด สิงคโปร์
ส่วนสูง 1.78 m (5 ft 10 in)
ตำแหน่ง กองหน้า
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1998–2000 เซิมบาวังเรนเจอส์ 14 (3)
2001 สิงคโปร์อาร์มฟอร์ซ 20 (5)
2001–2002 เซิมบาวังเรนเจอส์ 47 (19)
2003–2009 แทมพินีสโรเวอส์ 162 (84)
2007–2008พีดีอาร์เอ็มเอฟเอ(ยืมตัว) 28 (12)
2009–2011 อเรม่าโครนัส 73 (32)
2012 แทมพินีสโรเวอส์ 26 (8)
2013 เปเอ็ซเอ็ซ ซเลมัน 30 (11)
2014–2016 แทมพินีสโรเวอส์ 62 (17)
รวม 433 (171)
ทีมชาติ
2001–2010 สิงคโปร์ 84 (35)
จัดการทีม
2020– ตันจง ปาการ์ ยูไนเต็ด
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 11 July 2012
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด
ณ วันที่ 8 December 2010

โมฮาเม็ด โนะฮ์ อาลัม ชะฮ์ (เกิด 3 กันยายน ค.ศ. 1980) เป็นนักฟุตบอลทีมชาติสิงคโปร์ซึ่งเลิกเล่นแล้ว ลงเล่นให้ทีมชาติสิงคโปร์ 84 นัดยิงไป 35 ประตู

ประวัติการลงเล่น

[แก้]

เซิมบาวังเรนเจอส์

[แก้]

เริ่มต้นอาชีพการค้าแข้งกับทีม เซิมบาวังเรนเจอส์ เขาลงเล่นไป 14 นัด ยิงไป 3 ประตู

และกลับมาหลังจากย้ายไปสิงคโปร์อาร์มฟอร์ซ รอบสองเขาลงเล่น 47 นัดยิง 19 ประตู

สิงคโปร์อาร์มฟอร์ซ

[แก้]

เขาย้ายมาเล่นที่สิงคโปร์อาร์มฟอร์ซในปี 2001 ลงเล่น 20 นัด ยิง 5 ประตู

แทมพินีสโรเวอส์

[แก้]

เขาย้ายมากจากเซิมบาวังเรนเจอส์ในปี 2003 ลงเล่น 164 นัด ยิงไป 89 ประตู เป็นตำนานสโมสร

และย้ายกลับมาจากอาเรม่า โครนัส ในปี 2012 ลงเล่น 26 นัด ยิง 8 ประตู

และย้ายกลับมาแทมพินีสโรเวอส์ในปี 2014 จากพีเอสเอสสเลมัน ลงเล่น 62 นัด ยิง 17 ประตู และแขวนสตั๊ดที่นี่

พีดีอาร์เอ็มเอฟเอ

[แก้]

เขาย้ายมาเล่นที่มาเลเซียให้กับ พีดีอาร์เอ็มเอฟเอ ด้วยสัญญายืมตัวหนึ่งฤดูกาล ลงเล่นไป 28 นัด ยิง 12 ประตู

อาเรม่า โครนัส

[แก้]

เขาย้ายไปที่อาเรม่า โครนัส ในอินโดนีเซีย ลงเล่น 73 นัด ยิง 32 ประตู

พีเอสเอส สเลมัน

[แก้]

เขาย้ายมาที่พีเอสเอส สเลมันหนึ่งฤดูกาลในปี 2013 ลงเล่น 30 นัด ยิง 11 ประตู

แขวนสตั๊ด

[แก้]

ชะฮ์ประกาศแขวนสตั๊ดในปี 2015 ด้วยสถิติทั้งอาชีพลงเล่น 433 นัด ยิง 171 ประตู

ในนามทีมชาติ

[แก้]

เขาเคยยิง 7 ประตูใส่ทีมชาติลาวในฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน ในปี 2007 โดยลูกที่ 7 เป็นการจักรยานอากาศ และพาทีมคว้าแชมป์ได้ในปีนั้น ด้วยการเป็นนักเตะยอดเยี่ยมของทัวร์นาเม้นต์

เขายังได้พาทีมชนะอิรัก 2-0 ในศึกฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก ปี 2006

เขาเป็นกัปตันทีมครั้งแรกในปี 2009 ในนัดพบกับทีมชาติจีนที่เสมอไป 1-1 ปีต่อมาเขาทำผลงานได้น่าผิดหวังในเอเอฟเอฟซูซูกิคัพ 2010 ด้วยการตกรอบแรกด้วยคะแนน 4 คะแนน และเขายิงประตูไม่ได้เลย

เขาเลิกเล่นทีมชาติในปี 2010 ด้วยผลงาน 84 นัด 35 ประตู และได้รับการยกย่องจากเอเอฟเอฟ ว่าเป็นหนึ่งในกองหน้าที่ดีที่สุดตลอดกาลของอาเซียนและเป็นกองหน้าที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์สิงคโปร์

ประตูในนามทีมชาติ

[แก้]
ประตูที่ วันที่ สถานที่แข่ง คู่แข่ง คะแนน ผล รายการแข่งขัน
1 6 กุมภาพันธ์ 2001 สิงคโปร์ ธงชาติคูเวต คูเวต 1-1 1-1 ฟุตบอลโลก 2002 รอบคัดเลือก
2 20 ธันวาคม 2002 สิงคโปร์ ธงชาติลาว ลาว 1–0 2-0 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2002
3 25 มีนาคม 2003 ปากีสถาน ธงชาติปากีสถาน ปากีสถาน 0-3 0-3 เอเชียนคัพ 2004 รอบคัดเลือก
4 19 ตุลาคม 2003 สิงคโปร์ ธงชาติรัฐปาเลสไตน์ ปาเลสไตน์ 2-0 2-0 เอเชียนคัพ 2004 รอบคัดเลือก
5 4 กันยายน 2004 สิงคโปร์ ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 1-0 2-0 กระชับมิตร
6 27 พฤศจิกายน 2004 สิงคโปร์ ธงชาติประเทศพม่า พม่า 1–0 1-0 กระชับมิตร
7 29 ธันวาคม 2004 กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย ธงชาติประเทศพม่า พม่า 3-2 4-3 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2004
8 2 มกราคม 2005 สิงคโปร์ ธงชาติประเทศพม่า พม่า 1-2 4-2 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2004
9 2 มกราคม 2005 สิงคโปร์ ธงชาติประเทศพม่า พม่า 2-2 4-2 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2004
10 2 มกราคม 2005 สิงคโปร์ ธงชาติประเทศพม่า พม่า 3–2 4-2 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2004
11 4 มิถุนายน 2005 สิงคโปร์ ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย 1-0 2-0 กระชับมิตร
12 4 มิถุนายน 2005 สิงคโปร์ ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย 2-0 2-0 กระชับมิตร
13 8 มิถุนายน 2005 ปีนัง, มาเลเซีย ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย 0-1 1-2 กระชับมิตร
14 15 กุมภาพันธ์ 2006 ฮ่องกง, จีน ธงชาติฮ่องกง ฮ่องกง 1-1 1-1 กระชับมิตร
15 22 กุมภาพันธ์ 2006 สิงคโปร์ ธงชาติอิรัก อิรัก 2–0 2-0 เอเชียนคัพ 2007 รอบคัดเลือก
16 12 สิงหาคม 2006 ฮ่องกง, จีน ธงชาติฮ่องกง ฮ่องกง 0-1 1-2 กระชับมิตร
17 15 มกราคม 2007 สิงคโปร์ ธงชาติลาว ลาว 2–0 11-0 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2007
18 15 มกราคม 2007 สิงคโปร์ ธงชาติลาว ลาว 3–0 11-0 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2007
19 15 มกราคม 2007 สิงคโปร์ ธงชาติลาว ลาว 5–0 11-0 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2007
20 15 มกราคม 2007 สิงคโปร์ ธงชาติลาว ลาว 7–0 11-0 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2007
21 15 มกราคม 2007 สิงคโปร์ ธงชาติลาว ลาว 9–0 11-0 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2007
22 15 มกราคม 2007 สิงคโปร์ ธงชาติลาว ลาว 10–0 11-0 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2007
23 15 มกราคม 2007 สิงคโปร์ ธงชาติลาว ลาว 11–0 11-0 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2007
24 17 มกราคม 2007 สิงคโปร์ ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 1-0 2-2 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2007
25 23 มกราคม 2007 กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย 1–1 1-1 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2007
26 31 มกราคม 2007 สิงคโปร์ ธงชาติไทย ไทย 1-0 2-1 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2007
27 8 ตุลาคม 2007 โดฮา, กาตาร์ ธงชาติรัฐปาเลสไตน์ ปาเลสไตน์ 0-4 0-4 ฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก
28 18 พฤศจิกายน 2007 ดูชานเบ, ทาจิกิสถาน ธงชาติทาจิกิสถาน ทาจิกิสถาน 1-1 1-1 ฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก
29 5 ธันวาคม 2008 จาการ์ตา, อินโดนีเซีย ธงชาติกัมพูชา กัมพูชา 5–0 5-0 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2008
30 7 ธันวาคม 2008 จาการ์ตา, อินโดนีเซีย ธงชาติประเทศพม่า พม่า 1-0 3-1 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2008
31 28 มกราคม 2009 สิงคโปร์ ธงชาติจอร์แดน จอร์แดน 2–1 2-1 เอเชียนคัพ 2011 รอบคัดเลือก
32 12 สิงหาคม 2009 สิงคโปร์ ธงชาติจีน จีน 1-1 1-1 กระชับมิตร
33 3 พฤศจิกายน 2009 สิงคโปร์ ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 2-1 3-1 กระชับมิตร
34 6 มกราคม 2010 สิงคโปร์ ธงชาติอิหร่าน อิหร่าน 1–2 1-3 เอเชียนคัพ 2011 รอบคัดเลือก
35 3 มีนาคม 2010 อัมมาน, จอร์แดน ธงชาติจอร์แดน จอร์แดน 1–1 2-1 เอเชียนคัพ 2011 รอบคัดเลือก

อ้างอิง

[แก้]