โทบรามัยซิน
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ชื่อทางการค้า | Tobrex |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
MedlinePlus | a682660 |
ข้อมูลทะเบียนยา | |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ |
|
ช่องทางการรับยา | ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ, ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, สูดพ่นทางจมูก, ป้ายตา |
รหัส ATC | |
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
การจับกับโปรตีน | < 30% |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
KEGG | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.046.642 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C18H37N5O9 |
มวลต่อโมล | 467.515 g/mol g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
| |
(verify) | |
โทบรามัยซิน (อังกฤษ: Tobramycin) เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งแยกได้จากเชื้อแบคทีเรีย Streptomyces tenebrarius และถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด โดยเฉพาะอย่าง การติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ทั้งนี้ โทบรามัยซินสามารถออกฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียสกุลซูโดโมแนสได้[1]
การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์
[แก้]ด้วยเหตุที่โทบรามัยซินไม่สามารถถูกดูดซึมได้จากทางเดินอาหารเหมือนกับยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ดังนั้นจึงไม่มียานี้ในรูปแบบรับประทาน โดยรูปแบบเภสัชภัณฑ์ของโทบรามัยซินที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ยาสำหรับการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (ชื่อการค้าคือ Nebcin), ยาสำหรับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, ยาใช้เฉพาะที่สำหรับป้ายตา (สูตรเดี่ยวมีชื่อการค้าคือ Tobrex; สูตรผสมเด็กซาเมทาโซนมีชื่อการค้าคือ TobraDex) และรูปแบบยาพ่นเข้าทางจมูก (ชื่อการค้าคือ Tobi) โดยในรูปแบบยาใช้ภายนอกและยาพ่นนั้น ตัวยาจะมาสารถแพร่ผ่านเข้าไปยังหลอดเลือดได้น้อย โดยยาในรูปแบบฉีดและพ่นมีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาการกำเริบของการติดเชื้อ Pseudomonas aeruginosa เรื้อรังในผู้ป่วยซิสติก ไฟโบรซิส นอกเหนือจากนั้นโทบรามัยซินในรูปแบบพ่นละอองฝอยยังได้รับการทดสอบว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโพรงอากาศอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียได้[2] สำหรับยาใช้เฉพาะที่สำหรับดวงตานั้น ได้แก่ Tobrex ซึ่งมีความเข้มข้นของโทบรามัยซิน 0.3% ที่ผลิตโดยบอช แอนด์ ลอมบ์ นั้นมีการผสมเบนซาลโคเนียมคลอไรด์ 0.01% เพื่อเป็นสารกันเสีย แต่อย่างไรก็ตาม ยานี้มีวางตลาดในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาในฐานะยาที่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ในการซื้อยาเท่านั้น แต่ในหลายประเทศ เช่น อิตาลี ยานี้จัดเป็นยาจำหน่ายหน้าเคาเตอร์ (over the counter; OTCs) โดย Tobrex และ TobraDex นั้นมีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่ตา เช่น โรคเยื่อบุตาอักเสบจากแบคทีเรีย (Bacterial conjunctivitis) เป็นต้น ส่วนโทบรามัยซินในรูปแบบยาฉีดจะมีข้อบ่งใช้สำหรับการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่มีความรุนแรงมากหรือมีความเสี่ยงต่อชีวิต เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบในทารก, บรูเซลโลสิส, การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน, การติดเชื้อ Yersinia pestis (กาฬโรค).[ต้องการอ้างอิง] ยิ่งไปกว่านั้น โทบรามัยซินยังถือเป็นทางเลือกที่ดีกว่าเจนตามัยซินในการรักษาโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa เนื่องจากโทบรามัยซินสามารถแพร่ผ่านเข้าไปยังเนื้อเยื่อปอดได้ดีกว่า[ต้องการอ้างอิง].
ขอบเขตการออกฤทธิ์
[แก้]โทบรามัยซินมีขอตเขตการออกฤทธิ์ที่แคบ ส่วนใหญ่แบคทีเรียแกรมลบ มีเพียงแบคทีเรียแกรมบวกสายพันธุ์เดียวที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยโทบรามัยซินได้เป็นอย่างดี คือ Staphylococcus aureus แต่ในทางคลินิกจะนิยมใช้โทบรามัยซินในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa ในผู้ป่วยซิสติก ไฟโบรซิส โดยค่าความเข้มข้นของโทบรามัยซินต่ำสุด (ในหลอดทดลอง) ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa และ Klebsiella pneumoniae ดังแสดงด้านล่าง:
- Pseudomonas aeruginosa - <0.25 µg/mL - 92 µg/mL[3]
- Pseudomonas aeruginosa (non-mucoid) - 0.5 µg/mL - >512 µg/mL[3]
- Pseudomonas aeruginosa (ATCC 27853) - 0.5 µg/mL - 2 µg/mL[3]
- Klebsiella pneumoniae, KP-1, เท่ากับ 2.3±0.2 µg/mL ที่อุณหภูมิ 25 °C
อาการไม่พึงประสงค์
[แก้]โทบรามัยซินมีอาการไม่พึงประสงค์ที่คล้ายคลึงกับยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ได้แก่ การเกิดพิษต่อหู ซึ่งจะทำให้เกิดพยาธิสภาพในส่วนคอเคลีย และนำไปสู่การสูญเสียการได้ยินได้ในที่สุด หรือในบางรายอาจเกิดการสูญเสียการทำงานของระบบเวสติบูล จนทำให้สูญเสียสมดุลการทรงตัว อย่างไรก็ตาม อาการไม่พึงประสงค์ดังข้างต้นอาจเกิดทั้งสองอย่างร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความไวต่อยาของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม การเกิดพิษต่อหูจากกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์นั้นนสามารถกลับเป็นปกติได้หลังจากการหยุดใช้ยา[4]
นอกจากนี้แล้ว โทบรามัยซินยังก่อให้เกิดพิษต่อไตได้เช่นเดียวกันกับยาอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ โดยยาจะทำให้เกิดความเสียหายแก่เนื้อเยื่อชั่นนอกของไต โดยอาการจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีการใช้ยาในขนาดสูงหรือต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเกินกว่าที่แนะนำไว้ในแนวทางการรักษา หรือการที่มีความเข้มข้นของปัสสาวะสูงในขณะหลับ การได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอระหว่างการรักษาด้วยโทบรามัยซินจะช่วยลดความเสี่ยงและความรุนแรงของอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดต่อไตได้ นอกจากนี้ เนื่องจากโทบรามัยซินเป็นาที่มีช่วงการรักษาแคบ (therapeutic index) การคำนวณขนาดยาที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละรายและการเฝ้าติดตามระดับความเข้มข้นของยาในกระแสเลือดอย่างใกล้ชิดจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดพิษหรือความรุนแรงของการเกิดพิษจากยานี้ได้[4]
กลไกการออกฤทธิ์
[แก้]โทบรามัยซินออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย โดยเข้าจับกับหน่วยย่อย 30 เอส และหน่วยย่อย 50 เอสของไรโบโซมแบคทีเรียเพื่อรวมกันเป็น 70 เอสไรโบโซม ทำให้เอ็มอาร์เอ็นเอไม่สามารถแปลรหัสพันธุกรรมเพื่อสร้างโปรตีนที่จำเป็นต้องการดำรงชีวิตและการเพิ่มจำนวนได้ ส่งผลให้เซลล์แบคทีเรียนั้นๆตายในที่สุด จากการศึกษาของ Kotra และคณะ พบว่ายากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ ซึ่งรวมถึงโทบรามัยซินจะมีหมู่เอมีนที่มีการรับโปรตอนเข้ามาจนเกิดเป็นประจุบวกจำนวนมากในโมเลกุล ซึ่งประจุที่เกิดขึ้นนี้จะมีความจำเพาะในการจับกับนิวคลีโอไทด์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซลล์โพรแคริโอต นอกจากนี้แล้วยากลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ยังสมารถจับกับไรโบไซม์หัวค้อน (hammerhead ribozyme), เฟนิลอะลานีน—ทีอาร์เอ็นเอ (Phenylalanine—tRNA), HIV Rev response element, ไรโบไซม์จากไวรัสตับอักเสบ ดี, และ Group I catalytic intron ได้ด้วย[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Tobramycin" (PDF). Toku-E. 2010-01-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2013-12-17. สืบค้นเมื่อ 2012-06-11.
- ↑ "Nebulized Tobramycin in treating bacterial Sinusitis" (Press release). July 22, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-06. สืบค้นเมื่อ 2009-12-06.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Toku-E. "Susceptibility and Resistance Data" (PDF). สืบค้นเมื่อ 11 January 2018.
- ↑ 4.0 4.1 Bernard D, Davis (1987). Mechanism of bactericidal action of aminoglycosides (3 ed.). Microbiological Reviews. p. 341.
- ↑ Lakshmi P., Kotra; Jalal, Haddad; Shahriar, Mobashery (2000). "Aminoglycosides: perspectives on mechanisms of action and resistance and strategies to counter resistance". Antimicrobial agents and chemotherapy. 14 (12): 3249–56.