Pseudomonas aeruginosa
Pseudomonas aeruginosa | |
---|---|
โคโลนีของ P. aeruginosa (ขวา) และโคโลนีของ S. aureus (ซ้าย) บนวุ้นถั่วเหลืองทริปติเคส | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | แบคทีเรีย Bacteria |
ไฟลัม: | โพรทีโอแบคทีเรีย Proteobacteria |
ชั้น: | Gammaproteobacteria |
อันดับ: | Pseudomonadales |
วงศ์: | Pseudomonadaceae |
สกุล: | Pseudomonas |
Species group: | Pseudomonas aeruginosa group (Schröter 1872) Migula 1900 |
สปีชีส์: | Pseudomonas aeruginosa |
ชื่อทวินาม | |
Pseudomonas aeruginosa (Schröter 1872) Migula 1900 | |
ชื่อพ้อง | |
|
Pseudomonas aeruginosa เป็นแบคทีเรียแกรมลบที่มีแคปซูลหุ้มรูปร่างบาซิลลัสชนิดหนึ่งที่สามารถก่อโรคในพืช สัตว์ และมนุษย์ P. aeruginosa ถือเป็นสปีชีส์ที่มีความสำคัญทางคลินิก และเป็นเชื้อโรคที่ทนทานต่อยาหลายชนิด
แบคทีเรียชนิดนี้สามารถใช้สารอินทรีย์หลายชนิดในเลือดของสัตว์เป็นอาหาร จึงช่วยให้มันสามารถติดเชื้อในผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำได้ง่าย อาการของการติดเชื้อชนิดนี้มีการบวมไปทั่ว และ เซปซิส การเกิดโคโลนีในอวัยวะสำคัญของร่างกายอย่างปอด, ท่อปัสสาวะ และ ไต ก็อาจส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้[1] แบคทีเรียชนิดนี้โตได้ดีบนพื้นผิวเปียกแฉะ จึงสามารถพบได้บนอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น สายสำหรับสอดท่อ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ในโรงพยาบาล และคลินิก แบคทีเรียนี้ยังสามารถย่อยสลายไฮโดรคาร์บอนและถูกนำมาใช้ในการสลายทาร์บอลล์และน้ำมันจากภัยพิบัติน้ำมันรั่ว[2] P. aeruginosa ไม่ได้มีความสามารถก่อโรคสูงมากนักหากเทียบกับสปีชีส์แบคทีเรียก่อโรคอื่น ๆ อย่าง Staphylococcus aureus และ Streptococcus pyogenes ถึงกระนั้น P. aeruginosa ก็สามารถเกิดโคโลนีขนาดใหญ่ และสามารถรวมกันเกิดเป็นไบโอฟิล์มได้[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Balcht A, Smith R (1994). Pseudomonas aeruginosa: Infections and Treatment. Informa Health Care. pp. 83–84. ISBN 978-0-8247-9210-7.
- ↑ Itah A, Essien J (2005). "Growth Profile and Hydrocarbonoclastic Potential of Microorganisms Isolated from Tarballs in the Bight of Bonny, Nigeria". World Journal of Microbiology and Biotechnology. 21 (6–7): 1317–22. doi:10.1007/s11274-004-6694-z. S2CID 84888286.
- ↑ Høiby N, Ciofu O, Bjarnsholt T (November 2010). "Pseudomonas aeruginosa biofilms in cystic fibrosis". Future Microbiology. 5 (11): 1663–74. doi:10.2217/fmb.10.125. PMID 21133688.