โคเพตดาก
โคเพตดาก | |
---|---|
کپهداغ | |
โคเพตดาก มองจากที่ราบอาฮัล | |
จุดสูงสุด | |
ยอด | Kuh-e Quchan |
ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล | 3,191 เมตร (10,469 ฟุต) |
ข้อมูลเชิงขนาด | |
ยาว | 650 กม. (404 ไมล์) |
ชื่อ | |
ชื่อท้องถิ่น | Köpetdag; کپهداغ |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
ประเทศ | เติร์กเมนิสถาน และ อิหร่าน |
พิกัดเทือกเขา | 38°4′N 57°22.4′E / 38.067°N 57.3733°E |
โคเพตดาก (อังกฤษ: Kopet Dag, Kopet Dagh, Koppeh Dagh; เติร์กเมน: Köpetdag; เปอร์เซีย: کپهداغ) หรือ เทือกเขาเติร์กเมน-โคราซาน (Turkmen-Khorasan Mountain Range)[1] เป็นเทือกเขาที่ตั้งอยู่ระหว่างพรมแดนอิหร่าน–เติร์กเมนิสถาน มีความยาวประมาณ 650 กิโลเมตร (400 ไมล์) วางตัวอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลแคสเปียนเรื่อยไปจนถึงแม่น้ำฮารีในอัฟกานิสถาน[2] ยอดเขาที่สูงที่สุดฝั่งเติร์กเมนิสถานอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงอาชกาบัต มีความสูง 2,940 เมตร (9,646 ฟุต) ส่วนฝั่งอิหร่านคือภูเขาคูชาน (Mount Quchan) มีความสูง 3,191 เมตร (10,469 ฟุต)[3]
คำว่า "kopet" หรือ "koppeh" ในภาษาเปอร์เซีย แปลว่า "กอง" ส่วนคำว่า "dag" หรือ "dagh" ในภาษาตุรกี แปลว่า "ภูเขา" "Kopet Dagh" หรือ "Koppeh Dagh" จึงมีความหมายว่า "ภูเขาที่เป็นกอง"
ในทางธรณีวิทยา โคเพตดากก่อตัวขึ้นในสมัยไพลโอซีนกับสมัยไมโอซีน เกิดจากการชนกันของแผ่นอาระเบียกับแผ่นอิหร่าน ก่อนจะชนกับแผ่นยูเรเชียอีกที หินของเทือกเขาส่วนใหญ่เป็นหินตะกอนยุคครีเทเชียสตอนต้น มีส่วนน้อยมาจากยุคจูแรสซิก[4][5] เทือกเขาแห่งนี้ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาและเกิดแผ่นดินไหวหลายครั้งที่มีขนาด 7.0[6]
พื้นที่ป่าของเทือกเขาโคเพตดากมีพืชพรรณหลายชนิดที่สำคัญกับมนุษย์ เช่น ทับทิม องุ่น มะเดื่อ แอปเปิล ลูกแพร์ เชอร์รี ลูกพรุน และอัลมอนด์
มีการขุดค้นเมืองนิซา (Nisa) ซึ่งเป็นเมืองโบราณของชาวพาร์เธียใกล้กับกรุงอาชกาบัต ในปัจจุบันมีการเปิดรีสอร์ตสกีที่ฝั่งประเทศเติร์กเมนิสถาน โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่สมัยซาปาร์มูรัต นียาซอฟ (Saparmurat Niyazov) อดีตประธานาธิบดีเติร์กเมนิสถาน[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ,"خرِبِت كُپِتدَگ: Iran". สืบค้นเมื่อ 2010-09-09..
- ↑ Microsoft Encarta World Atlas, 2001, Microsoft Corporation
- ↑ Kopet-Dag Range, Encyclopedia Britannica, www.britannica.com
- ↑ Geological Map of Iran, National Geoscience Database of Iran, www.ngdir.ir
- ↑ Geological Map of the Middle East, published by Geological Survey of Iran, Second Edition, 1993
- ↑ Oct. 5, 1948 - More than 110,000 people were killed by 7.3 quake. Staff (11 January 2005) "World's worst natural disasters since 1900" CBS News
- ↑ Turkmen government announces new construction projects เก็บถาวร 2014-01-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Universal Newswires, accessed on November 15, 2012.