ข้ามไปเนื้อหา

เชอร์รี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เชอร์รี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophyta
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: โรสิด
Rosids
อันดับ: กุหลาบ
วงศ์: กุหลาบ
สกุล: สกุลพรุน
สกุลย่อย: Prunus subg. Cerasus

(Mill.) A.Gray, 1856
สปีชีส์

ดูข้อความ

เชอร์รี เป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว ต้นเชอร์รีเป็นไม้ยืนต้นในสกุล Prunus สกุลย่อย Cerasus เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ชอบอากาศหนาวเย็น ใบเขียวเข้ม ดอกสีขาวอมชมพู ผลกลม ขนาดเล็ก เปลือกมีทั้งสีแดงเข้ม สีส้มและสีเหลือง โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือเชอร์รีหวานกับเชอร์รีหวานอมเปรี้ยว แหล่งที่ปลูกเชอร์รีมากคือทวีปอเมริกา ทวีปออสเตรเลีย ทวีปยุโรป และประเทศญี่ปุ่น

การใช้ประโยชน์

[แก้]
เชอร์รี (หวาน)
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน263 กิโลจูล (63 กิโลแคลอรี)
16 g
น้ำตาล13 g
ใยอาหาร2 g
0.2 g
1.1 g
วิตามิน
วิตามินซี
(8%)
7 มก.
แร่ธาตุ
เหล็ก
(3%)
0.4 มก.
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central

เชอร์รีเป็นผลไม้ที่นำมาปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด ทั้งกินสดเป็นผลไม้ คั้นเป็นน้ำเชอร์รี ทำขนมเช่น พายเชอร์รี แยมเชอร์รีหรือนำไปเชื่อม เชอร์รีที่นิยมนำผลมาบริโภคมากที่สุดคือเชอร์รีป่า (P. avium)

ประโยชน์ของเชอร์รี

1.ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง และช่วยยับยั้งการผลิตเมลานิน

2.ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนของร่างกาย สามารถชะลอการเกิดริ้วรอยต่าง ๆ ได้

3.ช่วยลดการสร้างอนุมูลอิสระ

4.มีสารไลโคปีนช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

5.มีสารแอนโทไซยานินสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

6.มีวิตามินซี ช่วยเสริมภูมิต้านทานลดโอกาสการติดเชื้อหวัด และบรรเทาอาการของโรคหวัด ป้องกันการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน และเพิ่มอัตราการไหลเวียนของโลหิต

[1]

อ้างอิง

[แก้]
  • นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. เชอร์รี ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 69

รวมภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]