ข้ามไปเนื้อหา

แอโทรพาทีนี

พิกัด: 37°N 48°E / 37°N 48°E / 37; 48
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอโทรพาทีนี
Ātṛpātakāna

ประมาณ 323 ปีก่อนคริสต์ศักราช–ค.ศ. 226
แอโทรพาทีนีในฐานะรัฐบริวารของจักรวรรดิซิลูซิดใน 221 ปีก่อนคริสต์ศักราช
แอโทรพาทีนีในฐานะรัฐบริวารของจักรวรรดิซิลูซิดใน 221 ปีก่อนคริสต์ศักราช
สถานะรัฐปกครองตนเอง มักเป็นรัฐบริวารของจักรวรรดิพาร์เธีย (148/7 ปีก่อนคริสต์ศักราช–ค.ศ. 226)
เมืองหลวงแกนซัก
ศาสนา
โซโรอัสเตอร์[1]
การปกครองราชาธิปไตย
กษัตริย์ 
ยุคประวัติศาสตร์สมัยโบราณ
• ก่อตั้ง
ประมาณ 323 ปีก่อนคริสต์ศักราช
• สิ้นสุด
ค.ศ. 226
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชอาณาจักรมาเกโดนีอา
Adurbadagan

แอโทรพาทีนี (อังกฤษ: Atropatene; เปอร์เซียเก่า: Ātṛpātakāna; กรีกโบราณ: Ἀτροπατηνή) เดิมเรียก อาโตรปัตกัน (Atropatkan) หรือ อาตอร์ปัตกัน (Atorpatkan) เป็นอาณาจักรโบราณที่ปกครองโดยกลุ่มชนอิหร่านท้องถิ่น ดำรงอยู่ระหว่างศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราชถึงคริสต์ศตวรรษที่ 3 ครอบคลุมพื้นที่ในอาเซอร์ไบจานของอิหร่าน[2] เคอร์ดิสถานของอิหร่าน[3] และบางส่วนของประเทศอาเซอร์ไบจานในปัจจุบัน

ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชในปีที่ 323 ก่อนคริสต์ศักราช จักรวรรดิของพระองค์ถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ที่การประชุมในบาบิโลนโดยไดแอโดไค (diadochi) ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่ใกล้ชิดกับพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ภูมิภาคมีเดียถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ มีเดียแมกนา (Media Magna) ทางใต้ และมีเดียแอโทรพาทีนี (Media Atropatene) ทางเหนือ โดยแอโทรพาทีนีมาจากชื่อผู้ปกครองคนแรกคือ แอโทรพาทีส (Atropates) ซึ่งเป็นอดีตขุนนางของพระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด ต่อมาแอโทรพาทีสปฏิเสธที่จะสวามิภักดิ์ต่อจักรวรรดิซิลูซิด (Seleucid Empire) และประกาศแยกตัวเป็นอิสระ ชื่ออาณาจักรจึงถูกตัดเหลือแค่ "แอโทรพาทีนี" ราชวงศ์ของแอโทรพาทีสปกครองอย่างเป็นอิสระนานหลายศตวรรษ ก่อนจะตกอยู่ใต้อำนาจของจักรวรรดิพาร์เธีย ซึ่งเรียกดินแดนแถบนี้ว่า "อาตูร์ปาตากัน" (Aturpatakan) และถูกผนวกเข้ากับจักรวรรดิแซสซานิดในเวลาต่อมา ระหว่างปี ค.ศ. 639–643 จักรวรรดิรอชิดีนในรัชสมัยของเคาะลีฟะฮ์อุมัรได้ยึดครองดินแดนแถบนี้ และเรียกอาตูร์ปาตากันด้วยภาษาอิหร่านกลางว่า "อาเซอร์ไบจาน" (Azerbaijan)[4]

ชื่อ

[แก้]

สตราโบบันทึกในหนังสือ “ภูมิศาสตร์” ไว้ว่า ชื่อแอโทรพาทีนีมีที่มาจากชื่อ Atropates ผู้บัญชาการของจักรวรรดิอะคีเมนิด[5][6] ข้อมูลหลายแหล่งใช้ชื่อ Atropates เป็นชื่อของประเทศ เช่น Atropatene, Atropatios Mēdia, Tropatene, Aturpatakan และ Adarbayjan ถึงกระนั้น นักภูมิศาสตร์ชาวอาหรับสมัยกลางกล่าวแนะถึงชื่อนี้ว่ามีส่วนเชื่อมโยงกับ Adorbador (ชื่อนักบวช) ที่หมายถึง “ผู้พิทักษ์ไฟ”[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Boyce & Grenet 1991, p. 71.
  2. Benson, Douglas S. (1995), Ancient Egypt's warfare: a survey of armed conflict in the chronology of ancient Egypt, 1600 BC-30 BC, D. S. Benson
  3. Media Atropatene, Compiled by S.E. Kroll, 1994 in Barrington Atlas of the Greek and Roman World: Map-by-map Directory, Richard J. A. Talbert, Princeton University Press, 2000. Volume 2. pg 1292: "The map approximates the region called by Greek authors Media Atropatene after Atropates, the satrap of Alexander who governed there and later became an independent ruler. The modern name Azerbaijan derives from Atropatene. Originally, Media Atropatene was the northern part of greater Media. To the north, it was separated from Armenia by the River Araxes. To the east, it extended as far as the mountains along the Caspian Sea, and to the west as far as Lake Urmia (ancient Matiane Limne) and the mountains of present-day Kurdistan. The River Amardos may have been the southern border.". pg 1293: "Another important site (but not as large as the places just noted) is the famous fire-temple Adur Gushnasp, situated high in the Kurdish mountains at the holy lake of Takht-i Suleiman, and never mentioned by any ancient western source. It"[1]
  4. Yarshater, Ehsan (1983), The Cambridge history of Iran, Cambridge University Press, p. 1408, ISBN 978-0-521-20092-9, Atropatene see Azarbaijan
  5. "Strabo, Geography, Book 11". www.perseus.tufts.edu. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
  6. 6.0 6.1 de Planhol 1987, pp. 205–215.

บรรณานุกรม

[แก้]

ผลงานสมัยโบราณ

[แก้]

ผลงานสมัยใหม่

[แก้]

37°N 48°E / 37°N 48°E / 37; 48