ข้ามไปเนื้อหา

แม่น้ำเมืองตราด

พิกัด: 12°11′26.1″N 102°34′14.7″E / 12.190583°N 102.570750°E / 12.190583; 102.570750
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แม่น้ำตราด)
แม่น้ำเมืองตราด
แม่น้ำตราด, คลองเขาสมิง, คลองใหญ่,
แม่น้ำเขาสมิง, คลองท่าประดู่, แม่น้ำท่าเรือจ้าง
ที่ตั้ง
ประเทศ ไทย
จังหวัดตราด
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำจุดบรรจบระหว่างคลองสะตอกับคลองแอ่ง
 • ตำแหน่งตำบลบ่อพลอย อำเภอบ่อไร่ ตำบลสะตอ และตำบลวังตะเคียน อำเภอเขาสมิง
 • พิกัด12°29′36.0″N 102°28′59.2″E / 12.493333°N 102.483111°E / 12.493333; 102.483111
ปากน้ำอ่าวตราด
 • ตำแหน่ง
ตำบลหนองคันทรงและตำบลท่าพริก อำเภอเมืองตราด
 • พิกัด
12°11′26.1″N 102°34′14.7″E / 12.190583°N 102.570750°E / 12.190583; 102.570750
ความยาว55 กิโลเมตร (34 ไมล์)
ลุ่มน้ำ
ระบบแม่น้ำลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก

แม่น้ำเมืองตราด[1] หรือ แม่น้ำตราด เป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่สุดของจังหวัดตราด เกิดจากคลองสะตอและคลองแอ่งซึ่งรับน้ำจากทิวเขาบรรทัดไหลมารวมกันที่เขตติดต่อระหว่างอำเภอบ่อไร่กับอำเภอเขาสมิง แล้วไหลลงทางใต้ ผ่านเขตอำเภอเขาสมิง วกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เข้าเขตอำเภอเมืองตราด ผ่านตัวจังหวัดไปลงอ่าวตราดในอ่าวไทย มีความยาวประมาณ 55 กิโลเมตร[1]

แม่น้ำเมืองตราดแต่ละช่วงมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ตอนต้นน้ำลงมาจนใกล้ถึงอำเภอเขาสมิงเรียกว่า คลองเขาสมิง หรือ คลองใหญ่ เมื่อไหลผ่านอำเภอเขาสมิงจนเข้าอำเภอเมืองตราดเรียกว่า แม่น้ำเขาสมิง และเมื่อไหลไปบรรจบกับคลองห้วยแร้งที่ตำบลห้วยแร้ง อำเภอเมืองตราด เรียกว่า "แม่น้ำเมืองตราด" หรือ "แม่น้ำตราด" นอกจากนี้ แม่น้ำเมืองตราดช่วงที่ไหลผ่านบ้านท่าประดู่และบ้านท่าเรือจ้าง ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมืองตราด ยังมีชื่อเรียกอีกว่า คลองท่าประดู่ และ แม่น้ำท่าเรือจ้าง[2] ตามลำดับ

น้ำในแม่น้ำเมืองตราดช่วงที่เรียกว่าคลองเขาสมิงและแม่น้ำเขาสมิงจะมีสีแดงขุ่นและไหลเชี่ยว ส่วนน้ำในคลองห้วยแร้งจะมีสีเขียวใสและไหลเอื่อย ๆ ลำน้ำทั้งสองสายมาบรรจบกันกลายเป็นแม่น้ำกว้างซึ่งใช้เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน บริเวณท่าเรือจ้างในอดีตมีเรือสำเภาแล่นเข้ามาเทียบเพื่อรับส่งสินค้า ในปัจจุบันมีท่าเทียบเรือหลายแห่งตามลำน้ำเป็นที่ชุมนุมของเรือประมงตามสะพานปลา[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ราชบัณฑิตยสถาน. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๑ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2557, หน้า 138.
  2. ศศิธร โตวินัส. "การศึกษาเพื่อจัดทำแผนที่มรดกทางสถาปัตยกรรมชุมชนรักษ์คลองบางพระ จังหวัดตราด" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
  3. "จังหวัดตราด".