ข้ามไปเนื้อหา

ลำเชิงไกร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลำเชิงไกร
ระบบอุทกวิทยา
แอ่งสมุทรมหาสมุทรแปซิฟิก
ระบบแม่น้ำระบบแม่น้ำโขง
ลุ่มน้ำประธานลุ่มน้ำมูล
ชื่อแหล่งน้ำลำเชิงไกร
ข้อมูลทั่วไป
ไหลผ่านอำเภอเทพารักษ์ อําเภอด่านขุนทด อำเภอโนนไทย อำเภอเมืองนครราชสีมา และอําเภอโนนสูง
ความยาว184 กม.
พื้นที่ลุ่มน้ำ2,958 ตร.กม[1]
ต้นน้ำเขาคันตูม
ที่ตั้งของต้นน้ำอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา
ท้ายน้ำแม่น้ำมูล
ที่ตั้งของท้ายน้ำอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

ลำเชิงไกร[2] หรือ ลำเชียงไกร เป็นลำน้ำสายสำคัญสายหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา มีต้นกําเนิดจากเทือกเขาสันปันน้ำระหว่างลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำป่าสัก โดยมีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 2,948 ตร.กม. และมีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติประมาณปีละ 263 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณร้อยละ 1.35 ของปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติทั้งหมดของลุ่มน้ำมูล[1]

เขื่อนและอ่างเก็บน้ำ

[แก้]

เขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำที่สำคัญในลุ่มน้ำลำเชิงไกร ได้แก่

อ่างเก็บน้ำ ระดับกักเก็บ
(ล้าน ลบ.ม.)
ที่ตั้ง
อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร 27.70 อำเภอด่านขุนทด อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา
อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรตอนบน 8.40 อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
อ่างเก็บน้ำห้วยปราสาทใหญ่ 8.70 อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
อ่างเก็บน้ำหนองกก 2.97 อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา
บึงรัตนเศรษฐ 0.50 อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

เหตุการณสำคัญ

[แก้]

น้ำท่วมใหญ่ ปี 2564

[แก้]

ปลายปี พ.ศ. 2564 เกิดพายุฝนตกหนัก จนมีปริมาณน้ำฝนจำนวนมากบริเวณลุ่มน้ำลำเชียงไกร ทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และพื้นที่การเกษตร และเกิดน้ำล้นอ่างเก็บน้ำหลักของลุ่มน้ำ

  • อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร ตอนบน อำเภอด่านขุนทด มีปริมาณน้ำในอ่าง 11.924 ล้าน ลบ.ม. หรือ 141.95 % จากระดับเก็บกัก 8.40 ล้าน ลบ.ม.
  • อ่างเก็บน้ำห้วยปราสาทใหญ่ อำเภอด่านขุนทด มีปริมาณน้ำในอ่าง 9.029 ล้าน ลบ.ม. หรือ 103.78 % จากระดับเก็บกัก 8.70 ล้าน ลบ.ม.
  • อ่างเก็บน้ำหนองกก อำเภอพระทองคำ มีปริมาณน้ำในอ่าง 3.50 ล้าน ลบ.ม. หรือ 117.96 % จากระดับเก็บกัก 2.97 ล้าน ลบ.ม.
  • อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร ตอนล่าง อำเภอโนนไทย มีปริมาณน้ำในอ่าง 41.96 ล้าน ลบ.ม. หรือ 151.49 % จากระดับเก็บกัก 27.70 ล้าน ลบ.ม.[3]

จนกระทังวันที่ 26 กันยายน 2564 บริเวณอาคารระบายน้ำล้นปกติของอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร ตอนล่าง ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้างได้ถูกกระแสน้ำกัดเซาะกำแพงปีกด้านขวาจนชำรุดทำให้มวลน้ำไหลเข้าท่วมท้ายลำน้ำอย่างรวดเร็ว เกิดความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง และทำให้น้ำในอ่างเก็บน้ำลดลงอย่างรวดเร็ว[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "ข้อมูลลุ่มน้ำลำเชิงไกร" (PDF). ข้อมูลพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา "โบราณคดีอีสานใต้ : โบราณวัตถุสถานและงานศิลปกรรม (พอสังเขป)".
  2. ราชบัณฑิตยสถาน. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๑ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2557, หน้า 127.
  3. "ปริมาณน้ำอ่างเก็บน้ำในลุ่มน้ำลำเชียงไกร วันที่ 26 กันยายน 2564".
  4. "น้ำท่วมใหญ่ ปี 2564 บริเวณลุ่มน้ำลำเชียงไกร".

ดูเพิ่ม

[แก้]