ข้ามไปเนื้อหา

แม่น้ำสายบุรี

พิกัด: 6°43′07.5″N 101°38′23.5″E / 6.718750°N 101.639861°E / 6.718750; 101.639861
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่น้ำสายบุรี
คลองอัยยาเด๊ะ
ที่ตั้ง
ประเทศ ไทย
จังหวัดนราธิวาส, ยะลา, ปัตตานี
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำเขาบาตูตาโมง เขาลีแป และเขาอาเนาะยง
 • ตำแหน่งตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ปากน้ำอ่าวไทย
 • ตำแหน่ง
ตำบลปะเสยะวอและตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
 • พิกัด
6°43′07.5″N 101°38′23.5″E / 6.718750°N 101.639861°E / 6.718750; 101.639861
ความยาว202 กิโลเมตร (126 ไมล์)
ลุ่มน้ำ
ระบบแม่น้ำลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง

แม่น้ำสายบุรี เป็นแม่น้ำสายหนึ่งในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ต้นน้ำเกิดจากเขาบาตูตาโมง เขาลีแป และเขาอาเนาะยงในเขตอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ไหลจากทางทิศใต้ขึ้นไปทางทิศเหนือ ผ่านเขตอำเภอจะแนะ อำเภอศรีสาคร และอำเภอรือเสาะ เข้าเขตจังหวัดยะลา ผ่านเขตอำเภอรามัน จากนั้นเข้าเขตจังหวัดปัตตานี ผ่านเขตอำเภอกะพ้อ ก่อนไปลงอ่าวไทยในเขตอำเภอสายบุรี แม่น้ำมีความยาวประมาณ 202 กิโลเมตร ตอนต้นน้ำเรียกว่า คลองอัยยาเด๊ะ[1]

ลำน้ำสายบุรีมีลักษณะคดโค้ง มีตลิ่งสูงชัน มีแนวแก่งหินกลางลำน้ำ บางแห่งเป็นเวิ้งหาดทรายและในแม่น้ำมีร่องน้ำลึก ตลอดแนวทิวเขาสันกาลาคีรีเขตภูมิประเทศนี้มีลำน้ำสาขามากมายที่เกิดจากร่องลำธารต่าง ๆ บนภูเขา ลำธารเหล่านี้ไหลลงสู่แม่น้ำสายบุรี คลองสาขาที่สำคัญและมีขนาดใหญ่จะอยู่ทางทิศเหนือใกล้ชายฝั่งทะเล ได้แก่ คลองบีโฆ คลองสายบุรี คลองไม้แก่น คลองกอตอ และคลองปะดอซา[2]

ผู้คนที่อยู่อาศัยที่พื้นที่ลุ่มแม่น้ำนี้ส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนยางพาราและสวนไม้ผลเช่นทุเรียนหรือลองกอง แบ่งเขตวัฒนธรรมเป็น 2 แบบ คือ นิเวศวัฒนธรรมภูเขา ซึ่งตั้งบ้านเรือนในเขตภูเขา ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบ้านใหม่ที่คนจากภายนอกอพยพมาบุกเบิกพื้นที่ป่าเพื่อเกษตรกรรม เช่น บ้านไอร์แตแต บ้านไอร์บาลิง บ้านไอร์จูโจ๊ะ เป็นต้น อีกกลุ่มหนึ่งคือ นิเวศวัฒนธรรมที่ราบลุ่ม ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ในที่ราบลุ่มทุ่งนาระหว่างภูเขากับแม่น้ำสายบุรี มีประวัติศาสตร์อันยาวนานเกือบสองร้อยปี ได้แก่ บ้านซากอ บ้านตอแล และบ้านตามุงในอำเภอศรีสาคร[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๔ (อักษร ย-ฮ) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2561.
  2. "แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำสายบุรี". กรมพัฒนาที่ดิน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-26. สืบค้นเมื่อ 2022-09-21.
  3. งามพล จะปากิยา. "นิเวศวัฒนธรรมเทือกเขาสันกาลาคีรี-แม่น้ำสายบุรี". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-21. สืบค้นเมื่อ 2022-09-21.