แมฮ์มูดแห่งแฆซนี
แมฮ์มูดแห่งแฆซนี | |||||
---|---|---|---|---|---|
แมฮ์มูดแห่งแฆซนี (กลาง) ทรงรับเสื้อคลุมแห่งเกียรติยศจากเคาะลีฟะฮ์ อัลกอดิร จุลจิตรกรรมใน ญาเมียะอ์ อัตตะวารีค โดยเราะชีด-อัล-ดิน-ฮามาดานี | |||||
สุลต่านแห่งจักรวรรดิแฆซแนวีด | |||||
ครองราชย์ |
| ||||
ก่อนหน้า | อีสมออีลแห่งแฆซนี | ||||
ถัดไป | มูแฮมแมดแห่งแฆซนี | ||||
ประสูติ | 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 971 กัซนี ซอบูลิสถาน จักรวรรดิซอมอนีด (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอัฟกานิสถาน) | ||||
สวรรคต | 30 เมษายน ค.ศ. 1030 กัซนี ซอบูลิสถาน จักรวรรดิแฆซแนวีด (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอัฟกานิสถาน) | (58 ปี)||||
ฝังพระศพ | มัสยิดและสุสานสุลต่านแมฮ์มูด แฆซแนวี จังหวัดกัซนี ประเทศอัฟกานิสถาน [1] | ||||
พระราชบุตร |
| ||||
| |||||
เปอร์เซีย | یمین الدوله امینالملة ابوالقاسم محمود بن سبکتگین | ||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์แกซแนวีด | ||||
พระราชบิดา | แซบูกตีกีน | ||||
ศาสนา | อิสลามนิกายซุนนี (ชาฟิอี) | ||||
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |||||
ประจำการ | ป. 998 – 1030 | ||||
การยุทธ์ | |||||
แอบู แอล-กอซีม แมฮ์มูด บิน แซบูกตีกีน (เปอร์เซีย: ابوالقاسم محمود بن سبکتگین, อักษรโรมัน: Abu al-Qāṣim Maḥmūd ibn Sabuktigīn; 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 971 – 30 เมษายน ค.ศ. 1030) ส่วนใหญ่รู้จักในพระนาม แมฮ์มูดแห่งแฆซนี หรือ แมฮ์มูด แฆซแนวี (محمود غزنوی)[2] เป็นสุลต่านแห่งจักรวรรดิแฆซแนวีดที่ครองราชย์ใน ค.ศ. 998 ถึง 1030 ในรัชสมัยของพระองค์และข้อมูลสมัยกลาง พระองค์มักเป็นที่รู้จักด้วยพระนามฉายา ยะมีนุดเดาละฮ์ (یمین الدوله, แปลว่า พระหัตถ์ขวาแห่งรัฐ) ในช่วงที่สวรรคต อาณาจักรของพระองค์กลายเป็นจักรวรรดิทหารกว้างขวางที่มีพื้นที่จากอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือถึงปัญจาบในอนุทวีปอินเดีย ฆวอแรซม์ในทรานโซเซียนา และแมกรอน
แมฮ์มูดยังคงใช้ระบบราชการ การเมือง และวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลเปอร์เซียอย่างมาก[3]ของจักรวรรดิซอมอนีดก่อนหน้า พระองค์สถาปนรากฐานสำหรับรัฐเปอร์เซียในอนาคตที่ปัญจาบ โดยมีจุดศูนย์กลางที่ลาฮอร์ นครที่พระองค์พิชิต[4] เมืองหลวงของพระองค์ที่กัซนีพัฒนาไปเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม การค้า และภูมิปัญญาที่สำคัญในโลกอิสลามจนเกือบเทียบเท่ากับนครแบกแดด เมืองหลวงนี้ดึงดูดบุคคลสำคัญมากมาย เช่น อัลบีรูนีกับเฟร์โดว์ซี[4]
แมฮ์มูดขึ้นครองราชย์ตอนพระชนมพรรษา 27 พรรษา[5] เมื่อพระราชบิดาสวรรคต แม้จัดขึ้นหลังสงครามสืบทอดราชบัลลังก์กับอีสมออีล พระอนุชา เพียงช่วงหนึ่ง พระองค์เป็นผู้ปกครององค์แรกที่ถือตำแหน่ง สุลต่าน บ่งบอกถึงขอบเขตอำนาจของพระองค์ ในขณะเดียวกันก็รักษาความเชื่อมโยงทางอุดมการณ์กับการมีอำนาจเหนือประเทศราชของเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ ในรัชสมัยของพระองค์ พระองค์รุกรานและเข้าปล้นนครที่ร่ำรวยและเมืองที่ตั้งวิหารหลายแห่ง เช่น มถุราและโสมนาถในอินเดียสมัยกลางถึง 17 ครั้ง และใช้ทรัพย์สินที่ปล้นได้ไปสร้างเมืองหลวงของพระองค์ที่กัซนี[6][7]
พระราชสมภพและภูมิหลัง
[แก้]แมฮ์มูดเสด็จพระราชสมภพที่เมืองกัซนีในภูมิภาคซอบูลิสถาน (ปัจจุบันคือประเทศอัฟกานิสถาน) ในวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 971 แซบูกตีกีน พระราชบิดา เคยเป็นผู้บัญชาการทาสเติร์กที่วางรากฐานแก่ราชวงศ์แฆซแนวีดที่กัซนีใน ค.ศ. 977 ซึ่งพระองค์ปกครองภายใต้การปกครองของจักรวรรดิซอมอนีดที่ปกครองโฆรอซอนกับทรานโซเซียนา พระราชมาดาของแมฮ์มูดเป็นหญิงชาวอิหร่านจากตระกูลขุนนางผู้ครองที่ดินที่มั่งคั่งในภูมิภาคซอบูลิสถาน[8][9] ทำให้บางครั้งข้อมูลบางส่วนระบุตัวพระองค์เป็น Mahmud-i Zavuli ("แมฮ์มูดจากซอบูลิสถาน")[9] ไม่มีข้อมูลชีวิตช่วงแรกของแมฮ์มูดมาก นอกจากว่าพระองค์เป็นเพื่อนในชั้นเรียนและพี่/น้องชายบุญธรรมของแอฮ์แมด แมย์แมนดี ชาวเปอร์เซียในซอบูลิสถาน[10]
เหตุการณ์และความท้าทาย
[แก้]ใน ค.ศ. 1025 แมฮ์มูดเข้ารุกรานคุชราต ปล้นทรัพย์ในโสมนาถมนเทียรและทำลาย ชโยติรลึงค์ ของมณเทียร พระองค์ได้ทรัพย์สินที่ยึดมาถึง 2 ล้านดีนาร หลังการพิชิตโสมนาถจึงตามมาด้วยการรุกรานแบบลงโทษที่ Anhilwara[11][12][13] นักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีบันทึกการแสวงบุญมนเทียรใน ค.ศ. 1038 ที่ไม่ได้กล่าวถึงความเสียหายต่อมนเทียร[14] อย่างไรก็ตาม มีการพัฒนาตำนานอันทรงพลังเกี่ยวกับการจู่โจมของแมฮ์มูดพร้อมรายละเอียดที่ซับซ้อนในวรรณคดีเติร์ก-เปอร์เซีย[15] ซึ่ง Meenakshi Jain นักวิชาการ ระบุว่า "สร้างความช็อก" ต่อโลกมุสลิม[16]
ประวัติศาสตร์นิพนธ์เกี่ยวกับโสมนาถ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ความท้าทายทางการเมือง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สวรรคต
[แก้]สุลต่านแมฮ์มูดสวรรคตในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1030 สุสานของพระองค์ตั้งอยู่ที่กัซนี ประเทศอัฟกานิสถาน
มุมมองศาสนาและสงคราม
[แก้]ในรัชสมัยของแมฮ์มูดแห่งแฆซนี ภูมิภาคนี้แยกออกจากเขตอิทธิพลของซอมอนีด พระองค์ได้รับตำแหน่งสุลต่านเพื่อยอมรับการเป็นเอกราช โดยพระองค์ยอมรับให้อับบาซียะฮ์เป็นเคาะลีฟะฮ์พอเป็นพิธี
หลังได้รับการรับรองจากรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ใน ค.ศ. 999 พระองค์ให้คำปฏิญาณ ญิฮาด และรุกรานอินเดียทุกปี[17] ใน ค.ศ. 1005 แมฮ์มูดนำการทัพหลายครั้ง ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้นับถืออิสมาอีลียะฮ์แห่งมุลตานถูกสังหารหมู่[18]
หลังภารกิจญิฮาดต่อคนนอกศาสนาแห่งอินเดีย แมฮ์มูด แฆซนีไม่เพียงแต่ทำลายโสมนาถมนเทียรและปล้นทรัพย์สมบัติเท่านั้น แต่ยังฆ่าผู้ศรัทธาทุกคนในเมือง พระองค์ยังทำสิ่งเดียวกันกับผู้ศรัทธาหญิง ด้วยการฆ่าหรือลักพาตัวเพื่อไปขายในตลาดทาสที่อัฟกานิสถานในภายหลัง[19]
แมฮ์มูดใช้ทรัพย์สินที่ได้มาจากการปล้นมาใช้เป็นเงินทุนแก่กองทัพ ซึ่งรวมทหารรับจ้างด้วย ทหารอินเดียที่ Romila Thapar คาดการณ์ว่าเป็นชาวฮินดู เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของกองทัพพร้อมผู้บังคับบัญชาที่มีชื่อว่า sipahsalar-i-Hinduwan และอาศัยอยู่ในย่านของตนเองที่กัซนี โดยยังคงนับถือศาสนาของตนเอง ทหารอินเดียที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของ Suvendhray ยังคงจงรักษ์ภักดีต่อแมฮ์มูด มีการใช้พวกเขาในการปราบกบฏเติร์ก โดยบัยฮากีรายงานว่ามีการให้คำสั่งแก่ชาวฮินดูนามว่า Tilak [20]
Mohammad Habib นักประวัติศาสตร์อินเดีย ระบุว่า ในรัชสมัยแมฮ์มูดแห่งแฆซนี ไม่มีการจัดเก็บภาษีญิซยะฮ์แก่ "ผู้มิใช่มุสลิม" หรือการกล่าวถึง "การบังคับเข้ารีต" ใด ๆ:
การส่งทหารไปนอกดินแดนของพระองค์ (แมฮ์มูด) ต่ออินเดียไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยศาสนา แต่ด้วยความรักในการปล้นชิง[21]
เอ. วี. วิลเลียมส์ แจ็กสัน ศาสตราจารย์กลุ่มภาษาอินโด-อิเรเนียนในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เขียนไว้ในหนังสือ History of India ของเขาเองว่า "แมฮ์มูดสาบานว่าพระองค์จะก่อสงครามศักดิ์สิทธิ์กับพวกนอกศาสนาในฮินดูสถานทุกปี"[22] ในช่วงปีที่ 7 ในรัชสมัยของพระองค์ เหรียญกษาปณ์ของแมฮ์มูดจากลาฮอร์ระบุตัวพระองค์เป็น "Mahmud but-shikan" (แมฮ์มูดผู้ทำลายรูปปั้น)[23]
พระบุคลิกภาพ
[แก้]สุลต่านแมฮ์มูดทรงคิดถึงพระองค์เองเป็น "เงาของพระผู้เป็นเจ้าบนโลก"[24] อำนาจเด็ดขาดซึ่งมีเจตจำนงเป็นกฎหมาย พระองค์ใส่ใจในรายละเอียดเกือบทุกอย่าง โดยส่วนพระองค์ดูแลงานของดีวาน (ฝ่ายบริหาร) ทุกแผนก[25]
แมฮ์มูดแต่งตั้งรัฐมนตรีด้วยตัวพระองค์เองทั้งหมดโดยไม่ปรึกษาวะซีร (หัวหน้าที่ปรึกษา) หรือดีวาน แม้ว่าบางครั้งพระองค์ต้องรับคำปรึกษา เนื่องจากศาสนาของพระองค์ระบุว่ามุสลิมควรปรึกษาหารือกันทุกประเด็น[26] ส่วนใหญ่พระองค์สงสัยต่อรัฐมนตรีหลายคน โดยเฉพาะวะซีร และเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่าพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า: "วะซีรเป็นศัตรูของกษัตริย์..."[26] สุลต่านแมฮ์มูดมีสายลับจำนวนมาก (เรียกว่า mushrifs) ทั่วจักรวรรดิที่อยู่ภายใต้การดูแลของดีวานแผนกพิเศษ[27]
แมฮ์มูดทรงเป็นผู้อุปถัมภ์วรรณกรรม โดยเฉพาะบทกวี และบางครั้งก็จัดตั้งกลุ่มนักกวีที่มีพรสวรรค์ทั้งในพระราชวังของพระองค์หรือในสวนหลวง พระองค์มักใจกว้างต่อพวกเขา โดยจ่ายเงินให้ผลงานตามความสามารถและคุณค่าของพวกเขาอย่างไม่หยุดยั้ง[26]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Maḥmūd | king of Ghazna". ArchNet (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Sharma, Ramesh Chandra (1994). The Splendour of Mathurā Art and Museum (ภาษาอังกฤษ). D.K. Printworld. p. 39. ISBN 978-81-246-0015-3.
- ↑ Grousset 1970, p. 146.
- ↑ 4.0 4.1 Meri 2005, p. 294.
- ↑ "Maḥmūd | king of Ghazni". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-17.
- ↑ Heathcote 1995, p. 6.
- ↑ Anjum 2007, p. 234.
- ↑ Bosworth 1991, p. 65.
- ↑ 9.0 9.1 Bosworth 2012.
- ↑ Nazim & Bosworth 1991, p. 915.
- ↑ I. H. Qureshi et al., A Short History of Pakistan (Karachi Division (Pakistan): University of Karachi, 2000), (p.246-247)
- ↑ Yagnik & Sheth 2005, pp. 39–40.
- ↑ Thapar 2005, pp. 36–37.
- ↑ Thapar 2005, p. 75.
- ↑ Thapar 2005, Chapter 3.
- ↑ Meenakshi Jain (21 March 2004). "Review of Romila Thapar's "Somanatha, The Many Voices of a History"". The Pioneer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2014. สืบค้นเมื่อ 2014-12-15.
- ↑ Qassem 2009, p. 19.
- ↑ Virani 2007, p. 100.
- ↑ Mehta, Jaswant Lal (1979). Advanced Study in the History of Medieval India (ภาษาอังกฤษ). Sterling Publishers Pvt. Ltd. ISBN 978-81-207-0617-0.
- ↑ Romila Thapar (2005). Somanatha: The Many Voices of a History. Verso. p. 40. ISBN 9781844670208.
- ↑ Habib 1965, p. 77.
- ↑ A. V. Williams Jackson. "Chapter 2 – The Idol-Breaker – Mahmud of Ghazni – 997–1030 A.D."
- ↑ Andre Wink (1991). Al-Hind the Making of the Indo-Islamic World: The Slave Kings and the Islamic Conquest : 11Th-13th Centuries (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 321. ISBN 9004102361.
- ↑ Ibn Qutaiba, Uyunu'l-Akhbar, p.3
- ↑ Nazim 1931, p. 127.
- ↑ 26.0 26.1 26.2 Nazim 1931, p. 128.
- ↑ Nazim 1931, p. 144.
ข้อมูล
[แก้]- Anjum, Tanvir (Summer 2007). "The Emergence of Muslim Rule in India: Some Historical Disconnects and Missing Links". Islamic Studies. 46 (2).
- Bosworth, C.E. (1991). "Mahmud bin Sebuktigin". Encyclopedia of Islam. E.J.Brill. VI.
- Bosworth, C. Edmund (2012). "Maḥmud b. Sebüktegin". Encyclopaedia Iranica.
- Bosworth, C. E. (2012b). "Āl-e Farīġūn". Encyclopaedia Iranica.
- Nazim, M.; Bosworth, C. Edmund (1991). "The Encyclopedia of Islam, Volume 6, Fascicules 107–108". The Encyclopaedia of Islam, Vol. VI. Brill. pp. 1–1044. ISBN 90-04-08112-7.
- Grousset, René (1970). The Empire of the Steppes: A History of Central Asia. Rutgers University Press. ISBN 9780813513041.
- Habib, Mohammad (1965). Sultan Mahmud of Ghaznin. S. Chand & Co.
- Heathcote, T.A. (1995). The Military in British India: The Development of British Forces in South Asia:1600-1947. Manchester University Press.
- Meri, Josef W. (2005). Medieval Islamic Civilization: An Encyclopedia. Routledge. pp. 1–1088. ISBN 9781135455965.
- Nazim, Muhammad (1931). The Life and Times of Sultan Mahmud of Ghazna. Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-45659-4.
- Qassem, Ahmad Shayeq (2009). Afghanistan's Political Stability: A Dream Unrealised. Ashgate Publishing.
- Thapar, Romila (2005). Somanatha:The Many Voices of a History. Penguin Books India. ISBN 9781844670208.
- Virani, Shafique N. (2007). The Ismailis in the Middle Ages: A History of Survival, A Search for Salvation. New York: Oxford University Press.
- Yagnik, Achyut; Sheth, Suchitra (2005), Shaping of Modern Gujarat, Penguin UK, ISBN 8184751850
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- UCLA website
- Mahmud of Ghazna Columbia Encyclopedia (Sixth Edition)
- Mahmud Encyclopædia Britannica (Online Edition)
- Ghaznavid Dynasty Encyclopædia Britannica (Online Edition)
- Ghaznavids and Ghurids Encyclopædia Britannica (Online Edition)
- Mahmud Ghazni
- History of Iran: Ghaznevid Dynasty
- Rewriting history and Mahmud of Ghazni
- [1] Online Copy:Last Accessed 11 October 2007 Elliot, Sir H. M., Edited by Dowson, John. The History of India, as Told by Its Own Historians. The Muhammadan Period
- Tarikh Yamini, or Kitabu-l Yami of Abu Nasr Muhammad ibn Muhammad al Jabbaru-l 'Utbi.