แมว
แมว | |
---|---|
แมวสายพันธุ์ต่าง ๆ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
สัตว์เลี้ยงหรือปศุสัตว์
| |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Mammalia |
อันดับ: | สัตว์กินเนื้อ Carnivora |
อันดับย่อย: | เฟลิฟอเมีย Feliformia |
วงศ์: | เสือและแมว Felidae |
วงศ์ย่อย: | แมว Felinae |
สกุล: | สกุลแมว Felis ลินเนียส, 1758[2] |
สปีชีส์: | Felis catus[1] |
ชื่อทวินาม | |
Felis catus[1] ลินเนียส, 1758[2] | |
ชื่อพ้อง | |
แมว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Felis catus) เป็นสปีชีส์สัตว์เลี้ยงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินเนื้อขนาดเล็ก[1][2] โดยเป็นแมวสปีชีส์เดียวในวงศ์เสือและแมว ที่ถูกปรับเป็นสัตว์เลี้ยง และมักเรียกเป็น แมวบ้าน เพื่อแยกมันจากสมาชิกที่อยู่ในป่า[4] แมวเหล่านี้สามารถอาศัยเป็นแมวบ้าน, แมวฟาร์ม หรือแมวจรได้ แต่แมวประเภทหลังสุดมักอาศัยอยู่อย่างอิสระและหลีกเลี่ยงการติดต่อกับมนุษย์[5] มนุษย์ให้ค่ากับแมวบ้านในฐานะคู่หูและความสามารถในการฆ่าสัตว์ฟันแทะ สำนักจดทะเบียนแมว (cat registries) หลายแห่งยอมรับสายพันธุ์แมวประมาณ 60 สายพันธุ์[6]
แมวมีกายวิภาคคล้ายกับสปีชีส์วงศ์เสือและแมวอื่น ๆ มันมีร่างกายที่แข็งแรงยืดหยุ่น, ตอบสนองอย่างรวดเร็ว, ฟันและเล็บคมที่สามารถซ่อนได้เพื่อล่าเหยื่อขนาดเล็ก มุมมองกลางคืนกับการรับรู้กลิ่นที่ผ่านการพัฒนา และการสื่อสารของแมว เช่น การส่งเสียงอย่างเหมียว (meow), เพอร์ (purr), รัว (trill), ฟ่อ (hiss), คำราม (growl) และร้องคราง (grunt) เช่นเดียวกันกับภาษากายเฉพาะของแมว แมวเป็นนักล่าที่มักกระฉับกระเฉงที่สุดในตอนเช้าและค่ำ (crepuscular) ซึ่งแม้จะเป็นนักล่าผู้โดดเดี่ยวแต่ก็ยังเป็นสัตว์สังคม มันสามารถได้ยินเสียงความถี่ที่เบาหรือดังกว่าที่หูมนุษย์ได้ยิน เช่นเสียงที่หนูและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอื่น ๆ ทำ[7] แมวยังสามารถหลั่งและรับรู้ถึงฟีโรโมนด้วย[8]
แมวบ้านเพศเมียมักออกลูกประมาณ 2 - 5 ตัวในช่วงฤดูใบไม้ผลิถึงปลายฤดูใบไม้ร่วง[9] แมวบ้านสามารถเลี้ยงและจัดแสดงในงานต่าง ๆ ได้ การควบคุมประชากรแมวสามารถทำได้ผ่านการทำหมัน แต่การขยายพันธุ์และการทิ้งสัตว์เลี้ยงก่อให้เกิดแมวจรจำนวนมากทั่วโลก ซึ่งมีส่วนต่อการสูญพันธุ์ของสปีชีส์ของนก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมด[10]
แมวถูกปรับเป็นสัตว์เลี้ยงครั้งแรกในตะวันออกใกล้ช่วงประมาณ 7,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช[11] เป็นที่เชื่อกันมานานแล้วว่าการเลี้ยงแมวเริ่มขึ้นในอียิปต์โบราณตั้งแต่ประมาณ 3,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยแมวได้รับการเคารพนับถือ[12][13] ข้อมูลเมื่อ 2021[update] มีการประมาณการว่ามีแมวที่มีเจ้าของประมาณ 220 ล้านตัว และแมวจร 480 ล้านตัวทั่วโลก[14][15] ข้อมูลเมื่อ 2017[update] แมวบ้านเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมอันดับสองในสหรัฐ โดยมีแมวที่มีเจ้าของ 95.6 ล้านตัว[16][17][18] และประมาณ 42 ล้านครัวเรือนมีแมวอย่างน้อยหนึ่งตัว[19] และ ข้อมูลเมื่อ 2020[update] ผู้ใหญ่ในสหราชอาณาจักรร้อยละ 26 มีแมวเลี้ยง โดยมีประชากรแมวเลี้ยงประมาณ 10.9 ล้านตัว[20]
การจัดจำแนก
[แก้]โดยทั่วไปมีการแบ่งพันธุ์แมวออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ แมวขนยาว (longhaired cat) และ แมวขนสั้น (shorthaired cats) การแบ่งพันธุ์ด้วยวิธีนี้ทำให้จำแนกแมวออกได้ตามลักษณะพันธุ์ที่จำเพาะต่าง ๆ กัน การจัดจำแนกแมวในยุโรปและสหรัฐอเมริกามีการกำหนดมาตรฐานของพันธุ์แมวที่เป็นที่ยอมรับกัน ทั้งนี้ลักษณะมาตรฐานของพันธุ์ก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อย ๆ การใช้ชื่อเรียกพันธุ์แมวที่แสดงถึงลักษณะของพันธุ์ที่จำเพาะมีความแตกต่างกันระหว่างในยุโรปและสหรัฐอเมริกา และมีบางพันธุ์มีการจัดจำแนกเฉพาะต่างหากในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
แมวในโลกนี้มีมากมายหลายพันธุ์ โดยเฉพาะแมวที่เป็นสัตว์เลี้ยงไม่นับรวมสัตว์ตระกูลแมว พวกเสือ แมวดาว แมวป่า หรือสิงโต แมวเลี้ยงหรือที่เราเรียกว่า Domestic cat นั้นมีวิวัฒนาการมาจากแมวป่าในธรรมชาติจากหลายภูมิภาคของโลก ชื่อเรียกพันธุ์แมวที่แตกต่างกันที่เรียกกันทุกวันนี้ เช่น เปอร์เซีย แมววิเชียรมาศ แมวบาหลี แมวอะบิสซิเนีย และแมวโซมาลี นั้น แสดงถึงถิ่นกำเนิดที่แสดงถึงภูมิศาสตร์ที่เขาถือกำเนิดมา ในการจัดนิทรรศการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศอังกฤษเมื่อปีคริสศักราช 1871 ถือเป็นการเริ่มต้นในการนำเสนอพันธุ์แมวในระดับนานาชาติ ทำให้ผู้สนใจในแมวมีความตื่นตัว แต่การแสดงในครั้งนั้นส่วนใหญ่เป็นแมวเปอร์เซียและแมวขนสั้นเป็นหลัก
สรีรวิทยา
[แก้]แมวมีความคุ้นเคยและเลี้ยงได้ง่าย สรีรวิทยาของแมวได้รับการศึกษาโดยเฉพาะ โดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กินเนื้ออื่น ๆ แต่จากลักษณะที่ผิดแปลกออกไปหลายอย่าง อาจจะทำให้เชื่อว่าเชื้อสายแมว มาจากสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในทะเลทราย[21] เช่นแมวสามารถทนต่ออุณหภูมิสูงมาก มนุษย์โดยทั่วไปเริ่มที่จะรู้สึกอึดอัดผิวเมื่อมีอุณหภูมิประมาณ 38° ซ. (100° ฟ.) แต่แมวเริ่มแสดงความรู้สึกไม่สบายผิวของพวกมันเมื่ออุณหภูมิถึงราว 52° ซ. (126° ฟ.)[22] และสามารถทนต่ออุณหภูมิสูงถึง 56° ซ. (133° ฟ.) ถ้าแมวยังคงเข้าถึงน้ำได้[23]
แมวเก็บรักษาความร้อนโดยการลดการไหลเวียนของเลือดไปยังผิวและระบายความร้อนโดยการระเหยผ่านปากของพวกมัน แมวมีความสามารถที่จะขับเหงื่อที่ต่อมอยู่ในอุ้งเท้า[24] และจะหอบเพื่อบรรเทาความร้อนที่อุณหภูมิสูงมากเท่านั้น[25] (แต่อาจหอบเมื่อเครียด) อุณหภูมิร่างกายของแมวไม่ได้แตกต่างกันตลอดทั้งวัน อาจสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มที่จะมีความกระตือรือร้น ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน[26] มูลแมวจะแห้งและปัสสาวะจะมีความเข้มข้นสูงซึ่งทั้งสองอย่างแสดงถึงการปรับตัวที่ช่วยให้แมวเก็บน้ำได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้[21] ไตของแมวมีประสิทธิภาพเพื่อให้แมวสามารถอยู่รอดได้หากกินอาหารเฉพาะประเภทเนื้อสัตว์โดยที่ไม่ต้องกินน้ำเพิ่มเติม[27] และยังสามารถได้รับน้ำจากการดื่มน้ำทะเล[26][28]
แมวเป็นสัตว์กินเนื้อ สรีรวิทยาของพวกมันมีการพัฒนาในการย่อยเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพและในทางตรงกันข้ามแมวมีปัญหาในการย่อยพืช[21] ในขณะที่สัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์ เช่นหนูซึ่งต้องการโปรตีนในอาหารประมาณ 4% แต่แมวจะต้องการโปรตีนประมาณ 20% ในอาหาร[21] แมวจะผิดปกติถ้าขาดอาร์จินีนและการกินอาหารที่ขาดอาร์จินีนเป็นสาเหตุของอาการน้ำหนักลดและอาจถึงแก่ชีวิตได้อย่างรวดเร็ว[29] อีกคุณสมบัติที่ผิดปกติคือการที่แมวไม่สามารถผลิตทอรีน การขาดทอรีนก่อให้เกิดการเสื่อมสภาพในจอประสาทตาของแมวทำให้ตาบอดถาวร[21] แมวจะกินเหยื่อของพวกมันทั้งหมดเพราะจะได้รับแร่ธาตุโดยการย่อยกระดูกสัตว์ ดังนั้นอาหารที่มีเนื้อสัตว์อย่างเดียวอาจก่อให้เกิดการขาดแคลเซียม[21]
ระบบทางเดินอาหารของแมวถูกปรับให้เข้ากับการกินเนื้อสัตว์ ดังนั้นระบบทางเดินอาหารของแมวสั้นกว่าของสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์ และแมวมีระดับเอนไซม์ที่จำเป็นในการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรตอยู่ในระดับต่ำ[30] นี่จึงจำกัดความสามารถของแมวที่จะย่อยสารอาหารจากพืชอย่างมาก เช่นเดียวกับกรดไขมันบางอย่างที่แมวมีความสามารถในการย่อยจำกัด[30] แม้สรีรวิทยาของแมวจะมุ่งเน้นไปทางอาหารที่เป็นเนื้อ แต่ก็มีอาหารแมวมังสวิรัติทำการตลาดมีการเสริมสังเคราะห์สารเคมีทอรีนและสารอาหารอื่น ๆ ในความพยายามที่จะผลิตอาหารที่สมบูรณ์แบบ แต่บางส่วนของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยังคงล้มเหลวในการให้สารอาหารที่จำเป็นทั้งหมดต่อแมว[31] และผลิตภัณฑ์อาหารที่มีไม่มีส่วนประกอบจากสัตว์ก่อให้เกิดการขาดสารอาหารอย่างรุนแรง[32]
แมวจะกินหญ้าเป็นครั้งคราว สันนิษฐานว่าใช้หญ้าเป็นแหล่งของกรดโฟลิก หรือใช้ในการเป็นแหล่งใยอาหาร[33]
ในเชิงสิ่งแวดล้อม
[แก้]จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันสมิธโซเนียนพบว่า แมวเป็นสัตว์ที่เป็นภัยคุกคามต่อสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ อย่างยิ่ง โดยในสหรัฐอเมริกาแมวได้ฆ่านกไปถึงปีละ 2,000–4,000 ล้านตัวต่อปี ทั้งแมวที่มีเจ้าของ หรือแมวจร ส่วนในออสเตรเลียปีละ 70 ล้านตัวต่อปี และอังกฤษ 27 ล้านตัวต่อปี รวมแล้วทั่วโลกประมาณ 7,000–20,000 ล้านตัวต่อปี โดยในรอบ 500 ปีที่ผ่านมา แมวได้ทำให้สัตว์ชนิดต่าง ๆ ทั้ง นก, สัตว์ปีก, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก, สัตว์ฟันแทะ, สัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกสูญพันธุ์ไปแล้วถึง 430 ชนิด เนื่องจากแมวเป็นสัตว์ที่มีสัญชาตญาณนักล่า บางทีล่าหรือฆ่าเพราะความอยากรู้อยากเห็นไม่ได้นำมากินหรือเป็นอาหาร [34]
แมวนานาพันธุ์
[แก้]ปัจจุบันมีแมวพันธุ์ต่าง ๆ มากกว่า 30 พันธุ์ทั่วโลก แม้ว่ามนุษย์เพิ่งเริ่มผสมพันธุ์แมวเพื่อเลือกลักษณะเด่นเมื่อเพียงร้อยกว่าปีมานี้เท่านั้น แมวแต่ละพันธุ์มีลักษณะต่างกันมากทั้งสีและความยาวขน ในขณะที่แมวพันธุ์เม็กซิกันมีรูปร่างเปลือยเปล่าแทบไม่มีขน แมวเพอร์เซียกลับมีขนฟูฟ่อง
ต้นกำเนิด
[แก้]เชื่อว่าแมวบ้านสืบเชื้อสายมาจากแมวป่าอาฟริกา (African Wildcat-- Felis silvestris silvestris) ส่วนแมวป่า (Felis chaus) ที่มีอยู่ในเมืองไทย หรือแมวพอลลาส (Felis manul) พบว่าไม่มีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับแมวบ้านแต่อย่างใด อียิปต์คือชาติแรกที่นำแมวมาเป็นสัตว์เลี้ยงเมื่อ 4,000 ปีมาแล้ว แมวในยุคนั้นถือว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์เคียงคู่กับศาสนาเลยทีเดียว เช่นเดียวกับวัวที่ถือเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู
อุปนิสัย
[แก้]แมวบ้านเป็นสัตว์หากินกลางคืนเป็นส่วนใหญ่ แมวบ้านอาจดูเหมือนกับเป็นสัตว์ที่นอนตลอดทั้งวัน แต่ความเป็นจริงแมวจะหลับ ๆ ตื่น ๆ เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ สลับกัน มันตื่นขึ้นมาเพื่อจะสำรวจเสียงหรือสิ่งแปลกปลอมรอบตัว หากไม่มีอะไรน่าสนใจก็จะหลับต่อ แม้ในขณะที่หลับหูของแมวก็ไม่เคยหยุดนิ่ง แต่จะพลิกหันไปหันมาอยู่เสมอเพื่อดักฟังเสียงแปลกปลอมเช่นเสียงความถี่สูงซึ่งอาจจะเป็นเสียงของเหยื่อ หูของแมวสามารถฟังเสียงความถี่สูงกว่าที่มนุษย์ได้ยินมาก
ผู้ที่เลี้ยงแมวบ้านอาจเคยสังเกตว่าแมวชอบที่จะถูและกลิ้งเกลือกตัวกับสิ่งของหรือพื้นที่มีกลิ่นแรง แล้วกลิ่นนั้นก็จะติดกับตัวแมวบ้านไปด้วย พฤติกรรมเช่นนี้เชื่อว่าเป็นสัญชาติญาณที่ติดมาจากธรรมชาติ เพราะกลิ่นภายนอกจะกลบกลิ่นของตัวเอง ซึ่งทำให้เป็นประโยชน์ในการล่าเหยื่อ แม้ว่าแมวบ้านไม่จำเป็นต้องหาอาหารเองเพราะมีคนให้อาหาร แต่ไม่ได้หมายความว่าแมวจะล่าเหยื่อเองไม่ได้ แมวยังล่าสัตว์รอบ ๆ บ้านหลายชนิด เช่น หนู กระรอก ตุ่น หนูผี กระต่าย ค้างคาว รวมถึงนกอีกหลายชนิดเช่น นกกระจอก นกกิ้งโครง นกกางเขน นกพิราบ ไก่ นกกระทา หรืออาจจะกินแมลง และ ปลา ด้วยก็ได้ บางครั้งแมวอาจกินหญ้าหรือพืชใบเขียวบางชนิด พฤติกรรมที่แมวกินพืชเชื่อว่าอาจเป็นความต้องการแร่ธาตุหรือวิตามินบางชนิดที่ไม่มีอยู่ในอาหารปกติของมัน
แมวอาจกลืนขนจากลำตัวของมันเองเข้าไปในกระเพาะจนขนรวมกันเป็นก้อนอยู่ในกระเพาะ สิ่งนี้อาจเป็นเจตนาของมันเองเพื่อให้ก้อนขนเข้าไปบุหรือป้องกันกระเพาะจากเศษกระดูกอันแหลมคมจากสารพัดเหยื่อที่มันกินเข้าไป
แมวบ้านเป็นสัตว์ที่อยู่โดยลำพังเป็นส่วนใหญ่ แต่แมวก็มีสังคมในหมู่แมวที่อยู่ในท้องที่เดียวกัน แมวแต่ละตัวมีการจัดลำดับชนชั้นในสังคมแมว ในสถานที่ ๆ มีอาหารหรือเหยื่อให้กินมาก แมวอาจรวมตัวกันเป็นชุมชนแมวขนาดใหญ่และมีสัมพันธ์ที่ดีถ้อยทีถ้อยอาศัยต่อกัน แมวในสังคมหนึ่งจะรู้จักมักคุ้นกันโดยมักอาศัยการจำแนกกลิ่น เช่นกลิ่นของปัสสาวะ หรือกลิ่นจากต่อมกลิ่นที่แมวถูกเข้ากับสิ่งของต่าง ๆ
ชีววิทยา
[แก้]เมื่อตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์ มันจะปล่อยกลิ่นและส่งเสียงร้องบ่งบอกถึงภาวะเป็นสัดของมัน ในช่วงนี้มันจะยอมให้ตัวผู้เข้าใกล้เพื่อผสมพันธุ์ได้ แมวตัวผู้ที่คุ้นเคยจะเข้ามาผสมพันธุ์ได้ทันที แต่สำหรับแมวตัวผู้ต่างถิ่นตอนแรกจะถูกขับไล่ออกไม่ให้เข้าใกล้ได้ง่ายดายนัก มันจะต้องตาม "ตื๊อ" อยู่สักพักตัวเมียจึงยอมให้เข้าใกล้ได้
แมวตัวเมียจะเป็นสัดปีละประมาณ 3-4 ครั้ง แต่ละครั้งจะยาวนานประมาณ 3 วัน แต่ถ้าในช่วงวันแรก ๆ ที่ติดสัดไม่ได้ผสมพันธุ์ ระยะเวลาการติดสัดก็อาจจะยาวนานกว่านี้ ตัวเมียตั้งท้องนานประมาณ 63-66 วัน ออกลูกปีละประมาณ 2 ครอก มีลูกรวมกัน 1-8 ตัว แต่ส่วนใหญ่จะประมาณ 3-5 ตัว แม่แมวจะออกลูกตามโพรงไม้ โคนต้นไม้ กองหลืบหิน พุ่มทึบ ลัง หรือแม้แต่กล่องกระดาษ โดยแมวชอบออกลูกในสถานที่เงียบๆปลอดภัย และไม่ถูกรบกวน
ลูกแมวแรกเกิดหนักประมาณ 85-110 กรัม ตาจะเปิดได้ภายในเวลา 7-20 วัน และเริ่มเดินได้เมื่ออายุ 9 ถึง 15 วัน ลูกแมวเริ่มกินอาหารแข็งได้เมื่ออายุ 4 สัปดาห์และหย่านมเมื่ออายุ 8-10 สัปดาห์ พออายุได้ 6 เดือนก็สามารถแยกจากแม่และหากินเองได้แล้ว เมื่อแมวหนุ่มสาวมีอายุได้ 10-12 เดือน ก็จะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ พร้อมที่จะผสมพันธุ์และให้กำเนิดลูกรุ่นต่อไป
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Linnaeus, C. (1758). "Felis Catus". Systema naturae per regna tria naturae: secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis (ภาษาละติน). Vol. 1 (Tenth reformed ed.). Holmiae: Laurentii Salvii. p. 42.
- ↑ 2.0 2.1 Wozencraft, W. C. (2005). "Species Felis catus". ใน Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. pp. 534–535. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494.
- ↑ Erxleben, J. C. P. (1777). "Felis Catus domesticus". Systema regni animalis per classes, ordines, genera, species, varietates cvm synonymia et historia animalivm. Classis I. Mammalia. Lipsiae: Weygandt. pp. 520–521.
- ↑ Clutton-Brock, J. (1999) [1987]. "Cats". A Natural History of Domesticated Mammals (Second ed.). Cambridge, England: Cambridge University Press. pp. 133–140. ISBN 978-0-521-63495-3. OCLC 39786571. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2021. สืบค้นเมื่อ 25 October 2020.
- ↑ Liberg, O.; Sandell, M.; Pontier, D. & Natoli, E. (2000). "Density, spatial organisation and reproductive tactics in the domestic cat and other felids". ใน Turner, D. C. & Bateson, P. (บ.ก.). The domestic cat: the biology of its behaviour (Second ed.). Cambridge: Cambridge University Press. pp. 119–147. ISBN 9780521636483. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2021. สืบค้นเมื่อ 25 October 2020.
- ↑ Driscoll, C. A.; Clutton-Brock, J.; Kitchener, A. C. & O'Brien, S. J. (2009). "The taming of the cat". Scientific American. 300 (6): 68–75. Bibcode:2009SciAm.300f..68D. doi:10.1038/scientificamerican0609-68. ISSN 0036-8733. PMC 5790555. PMID 19485091.
- ↑ Moelk, M. (1944). "Vocalizing in the House-cat; A Phonetic and Functional Study". The American Journal of Psychology. 57 (2): 184–205. doi:10.2307/1416947. JSTOR 1416947.
- ↑ Bland, K. P. (1979). "Tom-cat odour and other pheromones in feline reproduction" (PDF). Veterinary Science Communications. 3 (1): 125–136. doi:10.1007/BF02268958. S2CID 22484090. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2019. สืบค้นเมื่อ 15 May 2019.
- ↑ Nutter, F. B.; Levine, J. F. & Stoskopf, M. K. (2004). "Reproductive capacity of free-roaming domestic cats and kitten survival rate". Journal of the American Veterinary Medical Association. 225 (9): 1399–1402. CiteSeerX 10.1.1.204.1281. doi:10.2460/javma.2004.225.1399. PMID 15552315. S2CID 1903272.
- ↑ Rochlitz, I. (2007). The Welfare of Cats. "Animal Welfare" series. Berlin: Springer Science+Business Media. pp. 141–175. ISBN 978-1-4020-6143-1. OCLC 262679891.
- ↑ Driscoll, C. A.; Menotti-Raymond, M.; Roca, A. L.; Hupe, K.; Johnson, W. E.; Geffen, E.; Harley, E. H.; Delibes, M.; Pontier, D.; Kitchener, A. C.; Yamaguchi, N.; O'Brien, S. J. & Macdonald, D. W. (2007). "The Near Eastern Origin of Cat Domestication". Science. 317 (5837): 519–523. Bibcode:2007Sci...317..519D. doi:10.1126/science.1139518. ISSN 0036-8075. PMC 5612713. PMID 17600185.
- ↑ Langton, N. & Langton, M. B. (1940). The Cat in ancient Egypt, illustrated from the collection of cat and other Egyptian figures formed. Cambridge University Press.
- ↑ Malek, J. (1997). The Cat in Ancient Egypt (Revised ed.). Philadelphia: University of Pennsylvania Press.
- ↑ "Statistics on cats". carocat.eu. 15 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2021. สืบค้นเมื่อ 15 February 2021.
- ↑ Rostami, Ali (2020). "30". ใน Bowman, Dwight D. (บ.ก.). Toxocara and Toxocariasis. Elsevier Science. p. 616. ISBN 9780128209585.
- ↑ "Pet Industry Market Size & Ownership Statistics". American Pet Products Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2019. สืบค้นเมื่อ 25 February 2019.
- ↑ "The 5 Most Expensive Cat Breeds in America". moneytalksnews.com. 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2019. สืบค้นเมื่อ 25 February 2019.
- ↑ "Number of cats in the United States from 2000 to 2017/2018". www.statista.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2019. สืบค้นเมื่อ 3 March 2019.
- ↑ "61 Fun Cat Statistics That Are the Cat's Meow! (2022 UPDATE)" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 12 December 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2022. สืบค้นเมื่อ 18 February 2022.
- ↑ "How many pets are there in the UK?". www.pdsa.org.uk (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2021. สืบค้นเมื่อ 29 March 2021.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 MacDonald, M. L.; Rogers, Q. R.; Morris, J. G. (1984). "Nutrition of the domestic cat, a mammalian carnivore". Annual Review of Nutrition. 4: 521–562. doi:10.1146/annurev.nu.04.070184.002513. PMID 6380542.
- ↑ Case, Linda P. (2003). The Cat: Its Behavior, Nutrition, and Health. Ames, IA: Iowa State University Press. ISBN 0-8138-0331-4.
- ↑ Subcommittee on Dog and Cat Nutrition (2006). Nutrient Requirements of Dogs and Cats. Washington, DC: National Academies Press. p. 292. ISBN 0-309-08628-0.
- ↑ "How do cats sweat?". Cat Health,com. สืบค้นเมื่อ 24 February 2014.
- ↑ Adams, T.; Morgan, M. L.; Hunter, W. S.; Holmes, K. R. (1970). "Temperature Regulation of the Unanesthetized Cat During Mild Cold and Severe Heat Stress". Journal of Applied Physiology. 29 (6): 852–858. PMID 5485356.
- ↑ 26.0 26.1 Committee on Animal Nutrition (1986). Nutrient Requirements of Cats (2nd ed.). National Academy Pr.
- ↑ Prentiss, Phoebe G. (1959). "Hydropenia in Cat and Dog: Ability of the Cat to Meet its Water Requirements Solely from a Diet of Fish or Meat". American Journal of Physiology. 196 (3): 625–632. PMID 13627237.
- ↑ Wolf, A. V. (1959). "Potability of Sea Water with Special Reference to the Cat". American Journal of Physiology. 196 (3): 633–641. PMID 13627238.
- ↑ Morris, J. G.; Rogers, Q. R. (1 December 1978). "Arginine: An Essential Amino Acid for the Cat". Journal of Nutrition. 108 (12): 1944–1953. PMID 722344.
- ↑ 30.0 30.1 Zoran, D. L. (2002). "The Carnivore Connection to Nutrition in Cats" (PDF). Journal of the American Veterinary Medical Association. 221 (11): 1559–1567. doi:10.2460/javma.2002.221.1559. PMID 12479324. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-05-26. สืบค้นเมื่อ 2015-06-07.
- ↑ Gray, C. M.; Sellon, R. K.; Freeman, L. M. (2004). "Nutritional Adequacy of Two Vegan Diets for Cats". Journal of the American Veterinary Medical Association. 225 (11): 1670–1675. doi:10.2460/javma.2004.225.1670. PMID 15626215.
- ↑ Zaghini, G.; Biagi, G. (2005). "Nutritional Peculiarities and Diet Palatability in the Cat". Vet. Res. Commun. 29 (Supplement 2): 39–44. doi:10.1007/s11259-005-0009-1. PMID 16244923.
- ↑ "Cat Health 101: Why Do Cats Eat Grass?". AnimalPlanet.com. 16 November 2011. สืบค้นเมื่อ 13 August 2012.
- ↑ จุดประกาย 4 กรีนไลฟ์, โลกสองด้านของน้องแมว. "กรุงเทพธุรกิจ โลกในมือคุณ" โดย วันชัย ตัน. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 31 ฉบับที่ 10654: วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน 2560
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ แมว ที่วิกิสปีชีส์
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แมว
- Animal Care ที่วิกิตำรา
- วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ แมว
- Encyclopedia Americana. 1920. .