แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในเกาะซูลาเวซี พ.ศ. 2561
หมู่บ้านเปอโตโบหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว | |
เวลาสากลเชิงพิกัด | 2018-09-28 10:02:44 |
---|---|
รหัสเหตุการณ์ ISC | 616642238 |
USGS-ANSS | ComCat |
วันที่ท้องถิ่น | 28 กันยายน ค.ศ. 2018 |
เวลาท้องถิ่น | 18:02:44 WITA (เวลามาตรฐานอินโดนีเซียกลาง) |
ขนาด | 7.5 Mw |
ความลึก | 20.0 กิโลเมตร (12.4 ไมล์) |
ศูนย์กลาง | 0°10′41″S 119°50′24″E / 0.178°S 119.840°E |
รอยเลื่อน | รอยเลื่อนปาลู-โกโร |
ประเภท | ตามแนวระดับ |
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้ | X (อนุภาพรุนแรง) |
ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน | >1.54 g[1] |
สึนามิ | ใช่ (สูงสุด 10.7 เมตร (35 ฟุต) ในอำเภอดงกาลา)[2][3] |
แผ่นดินถล่ม | มี |
แผ่นดินไหวนำ | Mw 6.1, M5.4, M5.0 |
แผ่นดินไหวตาม | 32 ครั้ง (ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561)[4] |
ผู้ประสบภัย |
เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 เกิดเหตุแผ่นดินไหวระดับตื้นซึ่งวัดขนาดความรุนแรงได้ 7.5 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ โดยมีจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ในเขตอำเภอดงกาลาซึ่งเป็นพื้นที่ภูเขาแห่งหนึ่งของจังหวัดซูลาเวซีกลาง ประเทศอินโดนีเซีย ห่างจากเมืองปาลู (เมืองหลักของจังหวัด) ไปทางทิศเหนือประมาณ 77 กิโลเมตร (48 ไมล์) และสามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ไกลถึงเมืองซามารินดาในจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก และเมืองตาเวาในรัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซีย[8] แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดตามหลังแผ่นดินไหวนำหลายระลอก ระลอกที่ใหญ่ที่สุดมีขนาด 6.1 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ และเกิดขึ้นเมื่อ 3 ชั่วโมงก่อนหน้า[9]
หลังเกิดแผ่นดินไหวหลัก ทางการอินโดนีเซียได้ออกประกาศเตือนภัยสึนามีบริเวณช่องแคบมากัซซาร์[10] มีรายงานสึนามิท้องถิ่นเข้าซัดชายฝั่งเมืองปาลูและกวาดทำลายอาคารบ้านเรือนที่เรียงรายตามชายฝั่งจนเสียหาย แผ่นดินไหวและสึนามิยังส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 4,340 คน[5][11][12] ทำให้แผ่นดินไหวครั้งนี้กลายเป็นแผ่นดินไหวที่ร้ายแรงที่สุดของอินโดนีเซียนับตั้งแต่แผ่นดินไหวในยกยาการ์ตา พ.ศ. 2549 สำนักงานอุตุนิยมวิทยา ภูมิอากาศวิทยา และธรณีฟิสิกส์อินโดนีเซีย (เบเอ็มกาเก) ยืนยันว่าได้เกิดสึนามิขึ้นจริง[13] โดยมีความสูงระหว่าง 4–6 เมตร และเข้าซัดชุมชนต่าง ๆ ในเมืองปาลู อำเภอดงกาลา และเมืองมามูจู
หลังเหตุการณ์
[แก้]หนึ่งเดือนหลังเหตุแผ่นดินไหว มีผู้ขอลี้ภัยถึง 206,524 คน[7] จากนั้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 2020 ประชากรหลายพันคนยังคงไม่มีบ้านพักหรือสิ่งอำนวยความสะดวกของโรงพยาบาล ท่ามกลางการแพร่ระบาดทั่วของโควิด-19[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Athanasius Cipta; Ariska Rudyanto; Haunan Afif; Rahayu Robiana; Akhmad Solikhin; Amalfi Omang; Supartoyo; Sri Hidayati (2021). "Unearthing the buried Palu–Koro Fault and the pattern of damage caused by the 2018 Sulawesi Earthquake using HVSR inversion". Geological Society, London, Special Publications. 501 (1): 185–203. Bibcode:2021GSLSP.501..185C. doi:10.1144/sp501-2019-70. S2CID 214354800.
- ↑ "Tsunami Event: SULAWESI, INDONESIA". ngdc.noaa.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2022. สืบค้นเมื่อ 8 January 2022.
- ↑ "BNPB: Tsunami di Donggala Capai 7 Meter, Lampaui Tiang Listrik". Detik. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2018. สืบค้นเมื่อ 1 October 2018.
- ↑ "USGS earthquake Catalog". United States Geological Survey. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2021. สืบค้นเมื่อ 5 September 2021.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Sangadji, Ruslan (30 January 2019). "Central Sulawesi disasters killed 4,340 people, final count reveals". Jakarta Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2021. สืบค้นเมื่อ 18 March 2019.
- ↑ ASEAN Coordinating Centre for Humanitarian Assistance on disaster management (3 October 2018). "Situation Update No . 5 M 7.4 Earthquake & Tsunami Sulawesi, Indonesia" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2018. สืบค้นเมื่อ 3 October 2018.
- ↑ 7.0 7.1 "Bencana Sulteng, Total Sementara Korban Meninggal Capai 2.086 Jiwa". 28 October 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2018. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018.
- ↑ "Earthquake and tsunami in Sulawesi, Indonesia – at least 844 people killed". 28 September 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2018. สืบค้นเมื่อ 28 September 2018.
- ↑ ANSS. "2018 Sulawesi: M 7.5 - 70km N of Palu, Indonesia". Comprehensive Catalog. U.S. Geological Survey. สืบค้นเมื่อ 28 September 2018
- ↑ "Gempabumi Tektonik M=7.7 Kabupaten Donggala, Sulawesi Tengah pada hari Jumat, 28 September 2018, Berpotensi Tsunami". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2021. สืบค้นเมื่อ 30 September 2018.
- ↑ ASEAN Coordinating Centre for Humanitarian Assistance on disaster management (15 October 2018). "Situation Update No. 12 M 7.4 Earthquake & Tsunami Sulawesi, Indonesia" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2018. สืบค้นเมื่อ 15 October 2018.
- ↑ "Grim search for disaster dead nears its end". 12 October 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2018. สืบค้นเมื่อ 12 October 2018.
- ↑ "BMKG Pastikan Tsunami 1,5 Meter hingga 2 Meter Melanda Palu dan Donggala". KOMPAS (ภาษาอินโดนีเซีย). 28 September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2019. สืบค้นเมื่อ 28 September 2018.
- ↑ "Indonesia's Palu endured a triple disaster, now coronavirus looms". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). 21 April 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2020. สืบค้นเมื่อ 2 July 2020.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Lee, Shiann‐Jong; Wong, Tong‐Pong; Lin, Tzu‐Chi; Liu, Ting‐Yu (2019), "Complex Triggering Supershear Rupture of the 2018 Mw 7.5 Palu, Indonesia, Earthquake Determined from Teleseismic Source Inversion", Seismological Research Letters, 90 (6): 2111–2120, Bibcode:2019SeiRL..90.2111L, doi:10.1785/0220190111, S2CID 204268623
- Williamson, Amy L.; Melgar, Diego; Xu, Xiaohua; Milliner, Christopher (2020), "The 2018 Palu Tsunami: Coeval Landslide and Coseismic Sources", Seismological Research Letters, 91 (6): 3148–3160, Bibcode:2020SeiRL..91.3148W, doi:10.1785/0220200009, S2CID 225381481
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Seismic details at Incorporated Research Institutions for Seismology
- The International Seismological Centre has a bibliography and authoritative data for this event.
- ReliefWeb's หน้าหลัก สำหรับเหตุการณ์นี้
- EMSR317: Earthquake in Indonesia (damage grading maps) – Copernicus Emergency Management Service