แผ่นดินไหวนำ
แผ่นดินไหวนำ หรือทับศัพท์ว่า ฟอร์ช็อก (อังกฤษ: foreshock) เป็นแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (แผ่นดินไหวหลัก) ที่มีความเกี่ยวข้องกันทั้งในช่วงเวลาและพื้นที่ โดยชื่อเรียกของการเกิดแผ่นดินไหว ทั้งแผ่นดินไหวนำ, แผ่นดินไหวหลัก หรือแผ่นดินไหวตาม จะเกิดขึ้นตามลำดับของเหตุการณ์[1]
การเกิดขึ้น
[แก้]กรณีของแผ่นดินไหวนำที่ได้รับการตรวจประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์มาจากการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่[2] และประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์สำหรับความรุนแรงที่มากกว่า 7 แมกนิจูด[3] โดยอาจเกิดขึ้นก่อนเพียงไม่กี่นาทีหรืออาจเป็นวันก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหวหลัก ตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวในเกาะสุมาตรา พ.ศ. 2545 ที่ได้รับการจัดให้เป็นแผ่นดินไหวนำของแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ที่เกิดขึ้นในภายหลัง นานกว่าสองปี[4]
บางเหตุการณ์ของการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ (ที่ระดับมากกว่า 8 แมกนิจูด) จะไม่เกิดแผ่นดินไหวนำ เช่น แผ่นดินไหวในประเทศอินเดียและจีน พ.ศ. 2493 [3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Gates, A.; Ritchie, D. (2006). Encyclopedia of Earthquakes and Volcanoes. Infobase Publishing. p. 89. ISBN 978-0-8160-6302-4. สืบค้นเมื่อ 29 November 2010.
- ↑ National Research Council (U.S.). Committee on the Science of Earthquakes (2003). "5. Earthquake Physics and Fault-System Science". Living on an Active Earth: Perspectives on Earthquake Science. Washington D.C.: National Academies Press. p. 418. ISBN 978-0-309-06562-7. สืบค้นเมื่อ 29 November 2010.
- ↑ 3.0 3.1 Kayal, J.R. (2008). Microearthquake seismology and seismotectonics of South Asia. Springer. p. 15. ISBN 978-1-4020-8179-8. สืบค้นเมื่อ 29 November 2010.
- ↑ Vallée, M. (2007). "Rupture Properties of the Giant Sumatra Earthquake Imaged by Empirical Green's Function Analysis" (PDF). Bulletin of the Seismological Society of America. 97 (1A): S103–S114. Bibcode:2007BuSSA..97S.103V. doi:10.1785/0120050616. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-23. สืบค้นเมื่อ 29 November 2010.